DM Corner : การตรวจจอประสาทตา เบาหวาน งานที่ยังต้องเดินต่อ


หลังจากได้ ร่วมงานจัดระบบบริการ คัดกรองจอประสาทตาของจังหวัดอุบลราธานี  แบบตกกระไดพลอยโจน  เมื่อ ปีก่อน  ( อ่านได้ที่นี่ ครับ   DM Corner : ศักยภาพ เครือข่าย กับการตรวจ จอประสาทตา ผู้ป่วยเบาหวาน ใน รพ.ชุมชน )   ผ่านไป ปีกว่า ๆ ก็เริ่มมองเห็นลู่ทางครับ มีเรื่องหลายเรื่องต้องค่อย ๆ ปรับกันไป


        เนื่องจากเป็นโครงการที่ดำเนินการทั้งจังหวัด ( อันนี้ต้องขอบคุณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่หางบมาซื้อเครื่อง ตรวจจอประสาทตา )   ไม่ได้ทำเฉพาะในโรงพยาบาลใด โรงพยาบาลหนึ่ง การจัดการบริการเลยต้องคิดมากขึ้นอีกหน่อย ประกอบกับเจ้าภาพ ตัวจริงไม่ชัดแจ้ง  มีแต่พวกเห็นเครื่องตรวจจอประสาทตา วางอยู่ตรงหน้า แล้วเสียดาย   อยากให้เดินหน้าต่อ ( ไปเรื่อย ๆ )  เลยลุยกันต่อ ทั้ง ๆ ที่ปีนี้ งบประมาณดำเนินการไม่มีแล้ว ( ต้อง ของบจาก สปสช.เขต มาได้อีก 500,000 บาท เพื่อดำเนินงานต่อ ในปีนี้ )

        ประมาณปีกว่า ที่ผ่านมาการคัดกรอง ได้จำนวนมากเลยครับ  เรามี เด็กหน่วยถ่ายจอประสาทตา 3 คน คุณหมอ สุดารัตน์ หมอตาเพื่อนผม  รับมา ฝึก เอง ให้สามารถถ่ายรูปจอประสาทตาได้ วัด VA วัดความดันลูกตาได้   ผมก็เลยใช้ รพ.วารินชำราบเป็น หน่วยประสานงานกลาง จัดคิวถ่ายภาพจอประสาทตา ตระเวณไปทุกอำเภอ  อำเภอละ 2-5 วัน ให้คลินิกเบาหวานแต่ละ รพ. เป็นคนดูแล การถ่ายภาพจอประสาทตา    และเก็บภาพไว้ให้ หมอที่ รพ. หรือพยาบาล ที่ผ่านการอบรม อ่าน แล้วค่อยส่ง case ที่ผิดปกติให้  คุณหมอสุดารัตน์   อ่านและ วางแผนว่าจะทำอย่างไรต่อไป     

       ผ่านไป ปีกว่า ๆ มีผู้ป่วยเบาหวาน ได้รับการถ่ายรูปจอประสาทตา ประมาณ  20,000 ราย  ผมมาดูตัวเลขแล้ว โอ้โห  มากกว่าที่คิดจริง ๆ    แต่ยังมีเรื่องท้าทายอีกมากครับ 

       1. หมอที่อบรมไว้ ย้าย หรือไปเรียนต่อกันเกือบหมดครับ  ที่มีอยู่ก็อ่านไม่ทันเลยครับ ทำให้ภาพจอประสาทตาที่ถ่ายไว้  ค้างการอ่านพอสมควร

       2. หมอตาก็ตรวจ + อ่านไม่ทันครับ เพราะมีน้อยมาก แค่ 1 คนเอง คือคุณหมอสุดารัตน์ เพื่อนผมนั่นเอง 

        3. อ่านมาแล้ว  ยังไม่ได้เตรียมการรักษา หรือการดูแลต่อ  โดยจักษุแพทย์เลยครับ


ประเมินว่าการถ่ายภาพจอประสาทตาด้วยกล้องดิจิตอล นี่ มีอำนาจการทำงานสูงมากเลยครับ จัดระบบดี ๆ เพียงแค่ ปีกว่า ๆ  สามารถถ่ายภาพไว้อ่านได้ ตั้ง 20,000 กว่าราย ถือว่าเป็นอันคุ้มค่ามาก จิง ๆ ครับ  แต่อย่าเพิ่งดีใจ  เพราะมันมีความสามารถสูงเฉพาะในเรื่องการถ่ายภาพนะครับ   ต้องมีระบบการอ่านแปลผล และการดูแลต่อ  ที่สามารถรองรับได้ด้วย อันนี้ซิ น่าเป็นห่วง

        ช่วงหนึ่ง กำลังมึนเรื่อง จอประสาทตาอยู่พอดี      ผม นั่ง ๆ ดูเด็กที่ตรวจ เวลาถ่ายภาพ ภาพจะมาปรากฎที่ จอคอมพิวเตอร์   บางรูปโผล่มา เจ้าพวกนี้ก็ จะชี้ว่า นี่ยิงเลเซอร์มานี่หว่า   อันนี้มี exudate อันนี้ NPDR  ผมนึกในใจ ทำไมมันเก่งจังวะ  สงสัย สุดารัตน์ train มาดี    ฉับพลันทันใด ปิ๊งแวบ หมิงป๋าย   ได้การละวะ   ปรึกษากับคุณหมอสุดารัตน์ ให้เด็ก 3 คน สอบการอ่านภาพจอประสาทตาทาง internet กับอาจารย์ .ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข อาจารย์อยู่ รพ.ราชวิถีครับ  แล้วอาจารย์ ไพศาล ก็มาทดสอบเองด้วย  ชมว่าพวกนี้อ่านเก่ง จริง ๆ  ( ไม่เก่งได้ยังไงครับ ก็เห็นภาพจอประสาทตามาตั้ง 40,000 กว่าภาพ แยกว่าอันไหนปกติ อันไหนผิดปกติไม่ได้ก็ให้มันรู้ไป )  ผมลองทดสอบดู ก็อ่านเก่งจริง ๆ 

        เริ่มตั้งแต่ เดือน มีนาคม 2551 เป็นต้นมา คุณหมอสุดารัตน์  ก็จะมาตรวจ case ที่คัดไว้จากทุกอำเภอ  ทุกวันอังคาร   ที่ รพ.วาริน ฯ     เป็นอันว่า สามารถต่อจนถึงมือจักษุแพทย์ได้

จาก ผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด ในอุบล ฯ  ประมาณ 34,000 คน    ถ่ายภาพจอประสาทตาไปแล้ว 20,000 คน ( 63 % )   ตั้งแต่เดือน มีนาคม  จักษุแพทย์ตรวจไปแล้ว 793 ราย นัด เลเซอร์ 73 ราย ผ่าตัด 7 ราย ผ่าตัดต้อกระจก  219 ราย

เดือน มิถุนายน เริ่มให้เด็กที่ไปตรวจ อ่านภ่าพจอประสาทตา ได้ผลทันทีเลย ครับ ผป.ไม่ต้องรอผลหลายเดือนกว่าจะได้รู้  เจ้าหน้าที่ก็นำชื่อและรูปภาพ ที่ผิดปกติ ส่งจักษุแพทย์ได้เลย  รอให้จักษุแพทย์นัดมาตรวจ  วันอังคาร ที่ รพ.วาริน  เริ่มคล่องตัวมากเลยครับ  ผมเขียน software บันทึกผลการตรวจจอประสาทตาและสรุปผลไว้ให้เจ้าหน้าที่กรอกทันทีที่อ่านได้  ทำให้ข้อมูลสามารถ update ได้เป็นปัจจุบัน และสรุปผลได้ตลอดเวลา

มิย.  ถึง กค 51 ตรวจไป  642  ราย  แยกแยะตามรูปที่แสดงไว้ครับ  

เป็นอันว่า  ปีนี้น่าจะคัดกรอง   อ่านผลได้เร็ว สรุปผลได้ทันเป็นปัจจุบัน  และ ดูแลต่อเนื่อง จนถึงมือจักษุแพทย์ได้นะครับ   ( เฮ้อ ค่อยยังชั่ว เกือบไม่รอดเสียแล้ว      ) ลำพังถ้ากล้องใช้เฉพาะที่ รพ.ผม คงไม่ลำบากอย่างนี้  แต่นี่มันทั้งจังหวัด    ผมเลย เสนอให้  สสจ. ขอเงิน สปสช มาได้  500,000 บาท ไว้เป็นค่าตอบแทน หมอตา ค่ารักษา  ค่าตอบแทนเด็กเจ้าหน้าที่  ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เอาตัวรอดเป็น ปี ๆ ไป ครับ สำหรับค่าใช้จ่าย     แต่เพื่อความไม่ประมาท  ปีหน้าต้องวางแผนต่อว่าถ้าเงินหมดแล้วจะทำอย่างไร   ครั้นจะเก็บกล้องไว้ใช้ที่ รพ.วารินฯเสียเอง  ก็ดูจะประโยชน์น้อย      อยากให้ดำเนินการต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าทุกโรงพยาบาลจะมีกล้องเป็นของตัวเอง      คิดเอาไว้ว่า  รพ.ต่างๆ ที่ใช้บริการ คงต้องช่วยกันจ่ายค่าตอบแทนเด็ก ๆ และหาวิธี จ่ายค่ารักษากับจักษุแพทย์    ( 2 ปีที่ผ่านมา ตรวจให้ โดยไม่ใช้งบของโรงพยาบาลทุกโรงพยาบาลเลยครับ คงถึงเวลาที่ต้องมีส่วนร่วมในการรับบริการบ้าง )    เรื่องนี้ยังต้องค่อยๆ แก้ไขกันไป   ถ้ามันต่อได้ดี จะเขียนเล่าต่อครับ


ต้องขอบพระคุณ อาจารย์วัลลา ตันตโยทัย จริงๆ เลยครับ ทำให้ได้มาเขียนบันทึกอีกเรื่อง  ช่วงนี้งานกระหน่ำ บางวันยังงง เลยครับว่าวันนี้วันอะไร อิอิ แต่ยังสู้ ๆ ครับ 

หมายเลขบันทึก: 198173เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2008 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท