เล่าสู่กันฟัง "เรื่องของสุกใส"


เล่าสู่กันฟัง "เรื่องของสุกใส"

       เรามีเรื่องที่อยากจะเล่าสู่พี่น้องธัญญารักษ์ฟัง  คิดว่าคงมีประโยชน์บ้าง แต่พี่น้องเราคงทราบกันดีอยู่แล้ว เอาเถอะน่าคิดว่าเป็นการทบทวนองค์ความรู้ก็แล้วกันนะ...เรื่องที่จะมาเล่าในว้นนี้     ก็เป็นเรื่องของสุกใส... แต่เดิมทีเขาเรียกกันว่า โรคอีสุกอีใส ไปไปมามา ฟังดูไม่ค่อยไพเราะหู   สักเท่าไหร่ ก็เลยตัดคำว่า"อี"ออกไป กลายเป็น..โรคสุกใส..อย่างทุกวันนี้ ก็ดีเหมือนกันนะ สั้นดี

      ที่เราได้นำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังก็เพราะว่า เป็นเรื่องที่พวกเราตึกมุกได้มีโอกาสดูแลผู้ป่วย    สุกใสอย่างใกล้ชิด เพราะทางตึกเราได้จัดห้องแยกไว้สำหรับที่จะดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ  หลังเราจัดห้องแยกเสร็จทันทีทันใด เราก็ได้มีโอกาสรับผู้ป่วยฝากนอนจากตึกที่มีผู้ป่วยเป็นโรคสุกใส  3-4 ราย  และห้องแยกที่เราจัดไว้แต่เดิมที อยู่บริเวณ ตึกมุก 2  จัดไว้ 2 เตียง แต่การระบาดของโรคนี้ยังคงระบาด ทำให้มีผู้ป่วยเป็นโรคนี้มากขึ้น เราจึงต้องขยายการให้การพยาบาลตามสถานการณ์  ก็เลยจัดให้ตึกมุก 2 ทั้งหมดเป็นห้องแยกผู้ป่วยเพื่อรองรับกับการระบาดของโรค และปริมาณผู้ที่ติดเชื่อมากขึ้น...ความเป็นมาเป็นไปก็ประมาณนี้ล่ะค่ะ

โรคสุกใส
สาเหตุ
        สาเหตุเกิดจากเชื่อไวรัส (Varicella Virus)
อาการและอาการแสดง
                อาการเริ่มด้วยไข้ต่ำ ๆ ต่อมามีผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ หน้า ตามตัว โดยเริ่มเป็นผื่นแดง ตุ่มนูน แล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใสในวันที่ 2 – 3 นับตั้งแต่เริ่มมีไข้ หลังจากนั้นตุ่มจะเป็นหนอง แล้วเริ่มแห้งตกสะเก็ด และร่วงในเวลา 5 – 20 วัน ผื่นอาจขึ้นใน คอ ตา และในปากด้วย โดยทั่วไปโรคนี้มักมีโรคแทรกซ้อน แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการทางสมองและปอดบวมได้
               
การติดต่อ
                เชื้อไวรัสที่กระจายออกมาจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยหรือตุ่มหนองที่เริ่มตกสะเก็ด และปลิวมาถูกผู้สัมผัสโรคได้ ผู้ป่วย โรคสุกใสมีระยะฟักตัว 2 สัปดาห์ผู้ป่วยแพร่เชื้อได้ในระยะ 1 วันก่อนผื่นขึ้น มักเกิดในเด็ก ผู้ที่เป็นโรคนี้แล้ว จะมีภูมิต้านทานไปตลอดชีวิต


เมื่อใดควรพบแพทย์
        ปกติอาการต่างๆ จะไม่รุนแรง บางรายอาจมีเพียงไข้ต่ำและรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย แต่หากมีอาการที่รุนแรงจากอาการแทรกซ้อนจึงค่อยไปพบแพทย์ สำหรับอาการคันอาจใช้ยาแก้คันเพื่อบรรเทาอาการได้
การดูแลรักษา
                การักษาเฉพาะโรคยังไม่มี มีแต่เพียงการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ
1.       ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ ให้ดื่มน้ำมาก ๆ และใช้ผ้าเช็ดตัวเวลาไข้สูง  ถ้ามีไข้สูงมากอาจพิจารณาให้ยาลดไข้
2.       อย่าให้ผู้ป่วยแกะหรือเกาตุ่มคัน เพราะอาจติดเชื้อกลายเป็นตุ่มหนองควรตัดเล็บให้สั้น ให้ยาแก้ผื่นคัน Calamine Lotion ทาบริเวณผื่นคัน วันละ 2-3 ครั้ง ถ้าคันมากอาจให้ยาแก้แพ้ Chlorpheiramine
3.       ถ้าเป็นตุ่มหนอง ให้รีบส่งแพทย์
การป้องกัน
1. การป้องกันโดยทั่วไปเหมือนกับ โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคหัด
2 จัดแยกผู้ป่วยไม่ควรให้ไปคลุกคลีกับผู้ป่วยอื่น แยกของใช้
3. อธิบายการปฏิบัติตัวให้ผู้ป่วยรับทราบถึงเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19808เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2006 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท