การสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ


เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

 

     วิธีการหรือนวัตกรรม หมายถึง กิจกรรม กระบวนการ เครื่องมือ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ  ทั้งที่มีรูปแบบใหม่ ๆ  หรือของเก่าที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งผู้สอนยังไม่เคยนำมาให้ผู้เรียนใช้ประกอบการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตามวัสถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด

            ตัวอย่างวิธีการหรือนวัตกรรมการเรียนรู้

1.      บทเรียนสำเร็จรูป

บทเรียนสำเร็จรูปเป็นสื่อสำหรับนักเรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง อาจใช้ให้ศึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม เสริมการเรียนในชั้นเรียน สนองเด็กเรียนเร็ว ใช้ซ่อมเสริมเด็กเรียนช้า หรือใช้เสริมเฉพาะผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่เด็กยังไม่เข้าใจหรือขาดความรู้

ความเข้าใจ

      ลักษณะของบทเรียนสำเร็จรูป อาจจะมีการทบทวน / นิยามศัพท์ จุดประสงค์ ศึกษาสถานการณ์แต่ละสถานการณ์ให้เด็กได้ศึกษา    ได้ตอบคำถามให้เกิดความคิดรวบยอด เข้าใจกฏเกณฑ์ หลักการ นำกฏเกณฑ์หลักการไปใช้แก้ปัญหา บทสรุป และแบบทดสอบท้ายบท

2.      แบบฝึก

แบบฝึกเป็นสื่อใช้ฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการปฏิบัติของ

นักเรียน นิยมใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพ ฯ

            ลักษณะของแบบฝึก อาจประกอบด้วยจุดประสงค์ ทบทวนกฎเกณฑ์ เสนอ

ตัวอย่างแบบฝึก และเฉลย /อธิบายเพิ่มเติม

3.      แผนการเรียนรู้

ใช้เป็นคู่มือการจัดการเรียนการสอน ปกติจัดทำ 1 สาระ ตลอดภาคเรียน

หรือตลอดปี ศึกษาหลักสูตร แล้วกำหนดสาระสำคัญ กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน และการวัดผลและประเมินผล

            ตัวอย่าง แผนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบบร่วมมือกันเรียนรู้

            ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (การแก้ปัญหา โจทย์ปัญหาการคูณ)

ตัวอย่างการจัดกิจกรรม

1.      ขั้นนำ

2.      ขั้นสอน

3.      ขั้นสรุป

4.      ขั้นศึกษากลุ่มย่อย

5.      ขั้นฝึกทักษะย่อย

6.      สื่อการเรียนการสอน

7.      การวัดผลและประเมินผล

(นวัตกรรมที่มีในแผนการเรียนรู้คือ วิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ และแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาโจทย์ปัญหาการคูณ)

            จากตัวอย่างบทเรียนสำเร็จรูป แบบฝึก และแผนการเรียนรู้ที่กล่าวมา เป็นเพียงวิธีการหรือนวัตกรรมบางชนิดเท่านั้น ยังมีวิธีการหรือนวัตกรรมมากมายและหลายชนิดที่      ผู้สอนสามารถพิจารณานำมาใช้ประกอบการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี สื่อในปัจจุบันที่นิยมนำมาพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยม และโรงเรียนประถมศึกษาที่มีความพร้อมทางด้าน ICT  เช่น  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อ CAI , E – book , E – Learning และ การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ เป็นต้น

 

การหาประสิทธิภาพวิธีการหรือนวัตกรรม

            วิธีการหรือนวัตกรรมที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ เช่น ชุดการสอน                  แบบฝึก แผนการเรียนรู้ บทเรียนสำเร็จรูป หรือกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ผู้สอนพัฒนาขึ้น การหาประสิทธิภาพวิธีการหรือนวัตกรรม ดำเนินการได้ ดังนี้

            1)  ตรวจสอบด้านเนื้อหา และรูปแบบของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ เช่น ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์และสร้างองค์ความรู้เองได้ ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  จึงสร้างแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขึ้น ผู้สอนควรนำแบบฝึกทักษะ ให้ผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 คน ตรวจสอบ ถ้ามีความเห็นสอดคล้องกัน 2 หรือ 3 คน แสดงว่า เนื้อหา และรูปแบบมีความถูกต้องเที่ยงตรงและครอบคลุม

            2) หาเกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อหรือนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์ คะแนนใช้สูตรคำนวณ  ดังนี้

 

                E1     =                                  หรือ              E1     =  

 

    E1            คือ     ประสิทธิภาพของกระบวนการ

    åX  คือ     ผลรวมของคะแนนนักเรียนที่ได้จากการวัดระหว่างเรียน

    A     คือ     คะแนนเต็มของแบบวัด

    N     คือ     จำนวนผู้เรียน

 


E2    =                                        หรือ     E2     =

 

              E2  คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้จากคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนทั้งหมด

             åY  คือ คะแนนรวมของผลลัพธ์หลังเรียน

             B    คือ  คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียน

             N           คือ   จำนวนผู้เรียน

หลักเกณฑ์ที่ยอมรับว่าสื่อหรือนวัตกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ คือ  ด้านความ

รู้ความจำ E1 / E2    มีค่า  80 / 80  ขึ้นไป ด้านทักษะปฏิบัติ E1 / E2  มีค่า  70 / 70 ขึ้นไป

โดยมีค่า E1 / E2  ต้องไม่แตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 5

3)      การหาค่าดัชนีประสิทธิผล ของสื่อหรือนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์

คะแนนใช้สูตรคำนวณ

ค่าดัชนีประสิทธิผล  =   ผลรวมของคะแนนทดสอบหลังเรียน - ผลรวมของคะแนนทดสอบก่อนเรียน

                                       (จำนวนนักเรียน) (จำนวนคะแนนเต็ม) – ผลรวมของคะแนนทดสอบก่อนเรียน

สำหรับเกณฑ์ที่ยอมรับได้ว่า สื่อหรือนวัตกรรมมีประสิทธิผล ช่วยให้ผู้เรียน     เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้จริง คือ มีค่าตั้งแต่ .50 ขึ้นไป 

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.  การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ :  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2545.

ทิศนา  แขมณี.  ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ :  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.

บุญชม  ศรีสะอาด.  การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ :  สุวีรยาสาส์น,  2543.

 

หมายเลขบันทึก: 198015เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2008 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท