การเรียนโดยร่วมมือกัน (Co-operative Learning)


การเรียนโดยร่วมมือกัน (Co-operative Learning)

การเรียนโดยร่วมมือกัน (Co-operative Learning)

 
    
    


   แนวคิดและหลักการ
       การเรียนโดยร่วมมือกัน เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมและทักษะในด้านเนื้อหาวิชาการต่าง ๆ เป็นการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยจัดให้นักเรียนที่มีความสามารถต่างกันได้เรียนนและทำงานด้วยกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-4 คน แต่ละคนต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเรียนรู้และในความสำเร็จของกลุ่ม ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันทรัพยากร การเรียนรู้ รวมทั้งการเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน คนที่เรียนเก่งช่วยเหลือคนที่เรียนอ่อนกว่า สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองเท่านั้น แต่ต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ความสำเร็จของกลุ่มขึ้นอยู่กับสมาชิกทุกคนในกลุ่ม
 

      Johnson and Johnson (1975) เสนอว่า การเรียนโดยร่วมมือกันควรมีลักษณะดังนี้
      1. แบ่งนักเรียนในห้องเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ แต่ละกลุ่มย่อยประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถคละกันประมาณ 2 ถึง 6 คน
      2. สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มต่างมีเป้าหมายที่จะทำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยของกลุ่มสูงขึ้น
      3. สมาชิกแบ่งงานหรือหน้าที่รับผิดชอบ ความสำเร็จของสมาชิกทุกคนถือเป็นความสำเร็จของกลุ่ม
      4. สมาชิกของกลุ่มต่างยอมรับและไว้ใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในบทบาทและผลงานของสมาชิกในกลุ่มเสมือนหนึ่งเป็นผลงานของตนเอง และพร้อมที่จะยอมรับในความสามารถจุดเด่นและจุดด้อยของเพื่อนสมาชิก
      5. สมาชิกของกลุ่มต่างช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนและร่วมมือกัน คนที่เรียนเก่งจะให้กำลังใจและกระตุ้นให้เพื่อนที่เรียนอ่อนขยันมากขึ้น เพื่อจะได้ประสบความสำเร็จทางการเรียน

 

 

      สาเหตุของการนำเทคนิคการเรียนโดยร่วมมือกันมาใช้ในวงการศึกษา
      คำถามที่น่าสนใจสำหรับวงการศึกษาในขณะนี้คือ "ทำอย่างไรจึงจะช่วยให้นักเรียนเป็นคนดี เก่ง และมีความสุข" และ "โรงเรียนสามารถผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นมีทักษะในการแก้ปัญหา และทักษะในการแสวงหาความรู้ใหม่ หรือ" โรงเรียนควรทำอย่างไรเพื่อพัฒนานักเรียนในทิศทางดังกล่าว แนวทางหนึ่งซึ่งโรงเรียนอาจนำไปใช้ในการแก้ปัญหาข้างต้นคือ การใช้เทคนิคการเรียนโดยร่วมมือกัน เพื่อบรรลุสื่อความเป็นโรง เรียนในฝัน
      การเรียนโดยร่วมมือกันจะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การแสวงหาความรู้ใหม่ และการยอมรับซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ควบคู่กับการพัฒนาความดีงามและความรู้ความสามารถ
      นอกจากนี้งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนโดยร่วมมือกันต่างกล่าวตรงกันว่า
            1. การเรียนโดยร่วมมือกันช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี
            2. เทคนิคการเรียนโดยร่วมมือกันจะทำให้เกิดการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย
            3. เทคนิคการเรียนโดยร่วมมือกันช่วยลดปัญหาวินัยในชั้นเรียน
            4. เมื่อต้องการพัฒนาทักษะการปฏิบัติภารกิจที่ซับซ้อน
            5. เมื่อต้องการเน้นคุณภาพของงาน
            6. เมื่อต้องการเสริมสร้างประชาธิปไตยในชั้นเรียน
            7. พัฒนาทักษะทางสังคม
            8. สร้างนิสัยความรับผิดชอบร่วมกัน
            9. เมื่อเราประสงค์จะเสริมสร้างความร่วมมือภายในกลุ่ม

ที่มา : http://www.nrru.ac.th/web/Special_Edu/4-4.html

หมายเลขบันทึก: 197748เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2008 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การเรียนแบบร่วมมือ เป็นการเรียนกลุ่มเล็กที่ใช้ได้ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียนที่เกิดจากแรงผลักดันที่มาบรรจบกัน 2 อย่างคือ

1) ชีวิตภายนอกห้องเรียนจำเป็นต้องมีกิจกรรม และ

2) การรู้ในคุณค่าทางสังคมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้

ผมว่า การเรียนแบบร่วมมือไม่เพียงจะช่วยให้ผู้เรียนมีความทรงจำที่ดีขึ้นในสิ่งที่เรียน แต่ยังช่วยส่งเสริมทักษะการคิดและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้ดีขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท