หลักสูตรท้องถื่น


ครูเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น

               หลักสูตรท้องถิ่น  หมายถึง มวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานและบุคคลในท้องถิ่นจัดให้แก่   ผู้เรียน(ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์,2539 หน้า 107-108)

                หลักสูตรท้องถิ่นเป็นหลักสูตรที่สร้างจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนหรือสร้างจากหลักสูตรแกนกลางที่ปรับให้เข้ากับชีวิตจริงของผู้เรียน หลักสูตรท้องถิ่นสร้างจาก หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัญหาและวิถีชีวิตของผู้เรียน    การสำรวจสภาพปัญหาชุมชน สภาพวิกฤตทางสังคมในปัจจุบัน และจากภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดการศึกษาในอนาคตจำเป็นต้องใช้รูปแบบการบริหารโดยกลุ่มสถานศึกษา  และชุมชน หรือองค์กรชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผน กำหนดจุดหมาย จัดทำหลักสูตร  ตลอดจนตรวจสอบคุณภาพและสนับสนุนทรัพยากรที่ใช้ในการเรียนรู้และการเงินเพื่อให้การศึกษาของเยาวชนเป็นการศึกษาท่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น(เมตตา       นพประดิษฐ์ , 2542, หน้า 58)

                  สงัด อุทรานันท์ ( 2532, หน้า 307) ความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น จุดอ่อนของการจัดการศึกษาไม่สามารถตอบสนองความต้องการ ความจำเป็นของท้องถิ่น และหลักสูตรแม่บทมีลักษณะกว้าง ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้หมด

                 ดังนั้นลักษณะเฉพาะของหลักสูตรท้องถิ่นควรมีลักษณะดังนี้คือ ตอบสนองความต้องการความหลากหลายของปัญหา ส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วม สอดคล้องกับชีวิตจริง สามารถพัฒนาขึ้นได้ทุกเวลาและส่งเสริมความเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม คุณครูควรที่จะต้องมุ่งมั่นสร้างและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่ดีเพื่อ       นักเรียน ชุมชนและสังคม

หมายเลขบันทึก: 197686เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2008 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 13:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท