รูปแบบการบริหารโรงเรียน... ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง


จะจัดวาง IDPs, BwD, CAR, KM, LO, “Organization Scorecard” และ “Individual Scorecard” ตรงไหน อย่างไร

            ก่อนเปลี่ยนเส้นทางชีวิตสู่ถนนสายผู้บริหารสถานศึกษาไม่นานนักได้ยินได้ฟังว่า สพฐ. กำลังจะมีโครงการนำร่องโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง จึงคาดเดาว่าน่าจะมีโรงเรียนใดในสำนักงานเขตพื้นที่ที่โรงเรียนสังกัดอยู่เข้าโครงการบ้าง  และเมื่อถึงเวลาก็ปรากฏชื่อโรงเรียนชั้นดีที่น่าจะเข้าโครงการเป็นรุ่นแรกมาให้เลือก  ด้วยเหตุผลบางประการเลือกแล้วต้องเปลี่ยนใจ  เมื่อสนใจจึงศึกษาเอาเท่าที่จะค้นหาข้อมูลได้  ว่าเขาทำอะไรกันอย่างไร  มาปีนี้มีการขยายกลุ่มเป้าหมาย  ข้อมูลทั้งหลายจึงหาง่ายขึ้น  เมื่อเป้าหมายคือ ห้องเรียนและโรงเรียนคุณภาพ   จึงถามตัวเองว่า เราจะพาโรงเรียนของเราไปได้อย่างไร

             เมื่อเปิดเอกสารอบรมครูโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง พบ “IDP (แผนการพัฒนาตนเองในการจัดห้องเรียนที่มีคุณภาพของครู...) อยู่ในส่วนท้ายเอกสารแผนการจัดการอบรมวิชา CAR เพื่อนำการเปลี่ยนแปลงพลิกแผ่นปลิวโฆษณาประชาสัมพันธ์หลายค่ายหลายสำนัก  ต่างใช้หัวข้อจากครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง...สู่ห้องเรียนคุณภาพเชิญชวนคุณครูเข้ารับการอบรมพัฒนาสู่ห้องเรียนคุณภาพทั้งสิ้น

ด้วยเหตุคับขันทั้งที่ยังไม่รู้ชัดถึงเส้นทาง รู้แต่ว่าฝันจะเห็นอะไรในโรงเรียน จึงเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาชุดใหม่ไปว่าโรงเรียนจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร แล้วขยาย concept ที่ดูเยอะแยะ ยุ่งเหยิงให้คณะนิเทศ ติดตาม ตรวจเยี่ยมโรงเรียนฟัง โชคดีที่เขาเข้าใจ แล้วอธิบายพร้อมทั้งให้ดูตัวอย่าง รูปแบบการบริหาร...”  จึงบอกตัวเองว่า "เรามาถูกทางแล้ว"

 

ก่อนหน้านั้น ดร. ธีระพงษ์  ศรีโพธิ์  หัวหน้ากลุ่มนิเทศฯ มอบเอกสาร การประยุกต์รูปแบบการบริหารจัดการองค์กรนิเทศกึ่งอิสระในการพัฒนาคุณภาพวิชาการเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา”  ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา  โดยมีการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา 3 ปี ของท่านมาให้ศึกษา พบ  key word  ที่น่าจะนำมาใช้เป็นทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารของโรงเรียน จาก 2 ส่วน  ส่วนแรกเป็น ชื่อเรื่อง  คือ รูปแบบการบริหาร  ซึ่งประกอบด้วย  การเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานด้านวิชาการ  การใช้ระบบเกียรติยศในการทำงาน  การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ  การเสริมสร้างองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้  การประเมินตนเองเพื่อพัฒนา  การประกันคุณภาพการพัฒนางานด้านวิชาการ  โดยมีการผสมผสานการจัดการความรู้เข้าไปในรูปแบบการเสริมองค์กรที่เป็นองค์กรเอื้อต่อการเรียนรู้

ส่วนที่ 2 เป็นคุณภาพวิชาการ คือ มิติการพัฒนา  มี key word  ในหลักการและเหตุผล มี 2 คำ คู่กัน คือ “Organization Scorecard”   และ  “Individual   Scorecard " แบ่งออกเป็น 4 มิติ  มิติที่ 1 คงเป็น “Individual   Scorecard " มิติด้านการพัฒนาคุณภาพองค์กร  เป็นการพัฒนาศึกษานิเทศก์ให้มีศักยภาพในการทำงานด้านวิชาการตามมาตรฐานวิชาชีพ  เสนอผลการดำเนินงานโดยการจำแนกศึกษานิเทศก์เป็นกลุ่มตามระดับคุณภาพ  มิติที่ 2 มิติด้านประสิทธิภาพ เป็นผลการปฏิบัติงานในการนิเทศเพื่อการประกันคุณภาพโรงเรียน มิตินี้นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน และร้อยละของโรงเรียนตามเกณฑ์คุณภาพ  มิติที่ 3 เป็นมิติด้านประสิทธิผล  พิจารณาจากคุณภาพของผู้เรียน ทั้งโดยมาตรฐานของ สพฐ. สมศ. และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  มิติที่ 4 มิติความพึงพอใจของผู้รับบริการ  ใช้วิธีการสอบถามความพึงพอใจจากครู  และผู้บริหารในการบริการด้านวิชาการของศึกษานิเทศก์

เราในฐานะคณะผู้บริหารโรงเรียนจะทำอย่างไรให้ครูสามารถใช้ผลพัฒนาตอบสนองต่อการประเมินทุกระบบโดยที่ยังมีภาระงานไม่แตกต่างไปจากปกติ  รูปแบบการบริหารของโรงเรียน... จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร  IDPs,  BwD, CAR, KM,  LO,  “Organization Scorecard”   และ  “Individual   Scorecard”  จะจัดวางอะไรตรงไหน แล้วยังมี Key word อะไรอีกหนอ  รอคราวหน้าคงได้ (ร่าง) กรอบการพัฒนา

 

ลงชื่อ  จารุวรรณ  พูพะเนียด  ผู้บันทึก

 

 

หมายเลขบันทึก: 197357เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2008 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์คะ ชอบคำนี้จังค่ะ "...ด้วยเหตุคับขันทั้งที่ยังไม่รู้ชัดถึงเส้นทาง รู้แต่ว่าฝันจะเห็นอะไรในโรงเรียน ..." อันนี้แหละค่ะ ที่เค้าเรียกว่า begin with the end inmind คือดูที่ผลก่อนว่าอยากได้อะไร... แล้วย้อนกลับมาคิดว่า ถ้าต้องการผลเช่นนั้น ต้องทำอย่างไร ... เทคนิคแบบนี้น่าจะเป็นที่มาของแนวคิด backword design (อันนี้ปัดคิดเองนะคะ ยังไม่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ค่ะ) พอดีสัปดาห์ที่ผ่านมาปัดยุ่ง ๆ เลยลืมบอกอาจารย์เหมี่ยวว่า เรื่อง KM ที่ อ. เคยเปรย ๆ ไว้ (ถ้าจำไม่ผิดนะคะ) ว่าอยากให้สถาบันฯ จัดให้ช่วงเดือน ตค. ปัดติดต่อ อ. บูรชัย ศิริมหาสาคร ที่เค้าเป็นวิทยากรด้านนี้อยู่ให้แล้วนะคะ เค้าให้เบอร์โทรมา 0893306234 ปัดเกริ่นนำไปนิ๊ด...ด.. นึงละ อาจารย์ลองคุยกันดูนะคะ

รอดูผลงานของอาจารย์เรื่อง "การบริหารโรงเรียน...ในสภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลง" อยู่นะคะ ผู้บริหารรุ่นใหม่ ... มักจะนำมาซึ่งแนวคิด วิธีการแบบใหม่ ๆ ค่ะ ที่น่าสนใจเสมอ ต้องการข้อมูลสนับสนุนอะไรบอกได้นะคะ ถ้าสามารถ... ก็จะจัดให้ทันที ไม่ต้องเกรงใจค่ะ เอาใจช่วย

ขอบคุณค่ะคุณปัด ทั้งกำลังใจและความช่วยเหลือ การที่เลือกจารุวรรณ เข้าโครงการก็เท่ากับว่า ยินดีให้จารุวรรณเป็นเครือข่ายการพัฒนา ซึ่งสถาบันถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะช่วยเหลือโรงเรียนได้ค่ะ ขอคุณมากค่ะ

อ่านแล้ว ได้ข้อคิดดี มีการนำเอาหลายเรื่องมารวมกัน นับว่าเป็นผู้บริหารที่มีอนาคตไกลที่เดียว... มีความฝันในการพัฒนาองค์กร ... ขอให้ประสบความสำเร็จ

ดีมากครับ...ลุยก่อน(ปฏิบัติ) ตำรา (ทฤษฎี)จะตามมาเอง

เห็นความตั้งใจความพยายามแล้ว ชื่นใจ คงได้เห็นอนาคตผู้บริหารที่มีคุณภาพคนหนึ่งครับ อีกหลายๆคนคงได้เอาแบอย่าง มีอะไรที่ดีๆแชร์บ้างนะครับเป็นกำลังใจใหครับ...อยากได้ตัวอย่างที่เป็นแนวปฏิบ้างครับ จากKey wordเหล่านี้ เช่นIDPs,BwD,CAR, KM, LO,ส่งทางเมล์ก็ได้ครับ..ขอบคุณล่วงหน้าครับ

กำลังศึกษาและทำวิจัยในระดับปริญญาเอกในเรื่อง "การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียน...."อยู่นะครับ ฟังแนวคิดคุณสั้น ๆ ก็น่าจะดีไม่น้อย ทำไงน้อ..อยากสนทนาแลกเปลี่ยนมากกว่านี้ครับ ฝากเมล์หน่อยนะครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท