การสั่งซื้อหนังสือตามอัตราส่วนของสภาการพยาบาล


การจัดเตรียมตำรา/หนังสือทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามเกณฑ์ของสภาการพยาบาล คือ จำนวนนักศึกษาพยาบาลต่อจำนวนหนังสือ = 1:50

การเปิดคณะพยาบาลศาสตร์ ในสถาบันการศึกษาที่เปิดใหม่ มีข้อกำหนดจากสภาการพยาบาลด้านปัจจัยเกื้อหนุนเกี่ยวกับ
การจัดเตรียมตำรา/หนังสือทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามเกณฑ์ของสภาการพยาบาล คือ จำนวนนักศึกษาพยาบาลต่อจำนวนหนังสือ = 1:50
และโดยที่ในปีการศึกษาแต่ละปี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จะรับนักศึกษารุ่นละ 50 คน ในปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินการจัดซื้อและสรรหาหนังสือมาแล้ว 2,700 กว่าเล่ม
ละหากครบ 4 ปี อย่างน้อยต้องมีตำราฯ ถึง 10,000 เล่ม ซึ่งกว่าจะหาได้นั้นต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เนื่องจากว่า ติดประเด็นด้านจำนวน copy หนังสือแต่ละรายการ หากซื้อหลาย copy เกินไปก็ไม่เกิดความหลากหลายในการเรียนรู้ ในขณะนี้ก็ใช้วิธี สั่งซื้อ อย่างน้อย 1 ชื่อเรื่อง จะซื้อ 5 – 10 copy แต่หากเป็นตำราหลักก็จะสั่งซื้อมากหน่อย 15 - 20 copy
ส่วนที่เป็น Textbook นั้นก็ใช้ 2-5 copy ต่อชื่อเรื่อง ซึ่งอาจารย์แต่ละท่านที่จบระดับปริญญาโทมานั้นก็ต้องสั่งซื้อตำราหลักจากที่ตนเองเคยเรียนเคยใช้มาเป็นอันดับแรก ส่วน Textbook ที่มีรายชื่อมาให้เลือกเยอะแยะ นั้น จะซื้อหมดทุกเล่มก็คงไม่ได้เพราะก็เหมือน pocketbook บ้านเรานี่เอง และความจำเป็นในการใช้ยังน้อยกว่าสถาบันที่เปิดระดับบัณฑิตศึกษาแล้ว นอกจากนี้ ก็เป็นข้อที่ไม่แน่ชัดกรณี Pocket book ด้านสุขภาพที่มีการเขียนสำหรับประชาชนทั่วไปจะนับให้หรือไม่อย่างไร เพราะบางส่วนก็นับ บางส่วนก็ไม่นับ
อีกทั้งหนังสือด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สถิติ ที่เป็นรายวิชาพื้นฐานของการศึกษาพยาบาลก็ไม่นับให้อีก
หนังสือของ มสธ. ที่เป็นหน่วยย่อย (หน่วย 1 – 7, 8 – 15 แบ่งเป็น 2 เล่ม/วิชา) ประมาณ 2 – 3 เล่ม จะนับให้ครบวิชาคือรวม 2 เล่มแล้วจึงนับให้ 1 ชื่อเรื่องและ 1 เล่ม อันนี้ก็ไม่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติก็ได้แต่คลำทางไป ตรวจสอบซ้ำๆ  เพราะต้องดูไปถึงปีที่พิมพ์ด้วย
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในประเทศไทย มีการเขียนตำราทางการพยาบาลน้อยมาก หากจะนับตามจำนวนอาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆ แล้ว และให้อาจารย์ทุกท่านเขียนตำราคนละ 1 -2 เล่ม ก็ยังไม่เพียงพอในการสั่งซื้อหนังสือ ที่จะต้องมีถึง 10,000 เล่มในอนาคต
บางเล่มเขียนมาครั้งเดียวและไม่มีอีก หรือพิมพ์เพิ่มแต่ไม่ใช่ฉบับปรับปรุง  เช่นหนังสือด้านจรรยาบรรณสำหรับพยาบาล ทฤษฎีการพยาบาล มโนมติพื้นฐานทางการพยาบาล เป็นต้น
ไม่ทราบว่า สถาบันใหม่ๆ อื่นๆ ที่เปิดคณะพยาบาลศาสตร์ทำอย่างไร หรือท่านใดจะให้ข้อเสนอแนะก็จะยินดีมากค่ะ

หมายเลขบันทึก: 196900เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2008 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท