หลักการนิเทศการศึกษายุคใหม่


การศึกษานิเทศยุคใหม่

   

 

          หลักการนิเทศการศึกษายุคใหม่                                                                                                    ชัด  บุญญา *

 

ความหมาย

ในอดีตที่ผ่านมามีผู้ให้ความหมายของการนิเทศไว้มากมาย  เช่น

        1.การนิเทศการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารโรงเรียน  ซึ่งผู้บริหารจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการให้บริการทางการศึกษา เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามความคาดหมาย (Eye and Netzer; 1965)

       2.การนิเทศการศึกษา คือ ความพยายามทุกอย่างของเจ้าหน้าที่ผู้จัดการศึกษา ในการแนะนำครูหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา  ให้รู้จักปรับปรุงวิธีสอน     ช่วยให้เกิดความงอกงามทางวิชาชีพทางการศึกษา ช่วยในการพัฒนาครู ช่วยในการเลือก   และปรับปรุง  วัตถุประสงค์ ของการศึกษา   ช่วยในการปรับปรุงวัสดุ และเนื้อหาการสอน ปรับปรุงวิธีสอนและช่วยปรับปรุงการประเมินผลการสอน  (Good, 1959)

       3.การนิเทศการศึกษา  หมายถึงการประสานงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการศึกษาเพื่อเร่งรัดให้กำลังใจ ชี้ทางให้ได้เจริญงอกงามในอาชีพ (Briggs and Justman, 1952)

      4.การนิเทศการศึกษาคือความพยายามอย่างหนึ่ง  หรือ หลาย ๆ อย่าง  ที่จะช่วยส่งเสริมให้การศึกษา มีคุณภาพทั้งด้านการเรียนการสอน (สายภาณุรัตน์, 2511)

      5.การนิเทศการศึกษา  หมายถึง การประสาน  การกระตุ้น  และการนำไปสู่ความงอกงามของครู  (วินัย เกษมเศรษฐ, ...)

หลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาในปี 2542 ที่กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโดยการกำหนดให้โรงเรียนมีมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่  มาตรฐานการศึกษาแล้วมีการประเมินและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือปรับปรุง

มาตรฐานให้สูงขึ้น  พร้อมที่จะรับการประเมินภายใน และภายนอก ความหมายของการนิเทศการศึกษาจึงควรปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

 

นี่คือความหมายของการนิเทศการศึกษาที่ควรจะเป็น  ในยุคใหม่หลัง

 

 

ประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษา

 

              การนิเทศการศึกษา ที่รวมถึงการนิเทศภายในโรงเรียน หมายถึง การดำเนินการใดๆ ที่ทำให้ครูมีความพึงพอใจ และมีกำลังใจ ที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาการดำเนินงานใดๆ ของโรงเรียน ให้เป็นไปตามมาตรฐานใดๆ ของโรงเรียนและของบุคลากรให้สูงขึ้นและรักษาไว้ จนส่งผลให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของผู้รับประโยชน์จากโรงเรียนทุกฝ่าย อีกทั้งผ่านการประเมินทั้งภายในและภายนอก   

 

 

หลักการนิเทศ

 

                หากนำความหมายของการนิเทศ หลักการนิเทศดั้งเดิมมาผสมผสานกับแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา,แนวคิดที่เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน,แนวคิดว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู และระดับคุณภาพครู/ผู้บริหาร (NTQ/EMQ) หลักการนิเทศใน ยุคใหม่ที่ควรจะเป็นก็คือ

        1.การนิเทศการศึกษา   จะต้องเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นความร่วมมือ  ร่วมใจ ในการดำเนินงาน   ใช้ความรู้  ความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานนั้นไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ  (Burton and Brueckner,  1955)

       2. การนิเทศการศึกษา   มุ่งให้ครูรู้จักวิธี     คิดค้นการทำงานด้วยตนเอง  มีความ    สามารถ ในการนำตนเอง  และสามารถ    ตัดสินปัญหาของตนเองได้  (Adams and   Dickey, 1953)    

       3.การนิเทศการศึกษา   ควรเป็นการแสวงหาความสามารถพิเศษ  ของแต่ละบุคคล แล้ว  เปิดโอกาสให้ ได้แสดงออกและพัฒนาความสามารถเหล่านั้นอย่าง เต็มที่ (Burton and  Brueckner,  1955)

   4. การนิเทศที่ดี   จะต้องสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง   ยั่วยุและสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันและต้องทำให้ครูรู้สึกว่า   จะช่วยให้ เขาพบวิธีที่ดีกว่า ในการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์  (Franseth 1961 : 23 - 28)

    5.  การนิเทศการศึกษาควรเป็นไปอย่างง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตอง (Briggs and Justman, 1952)

.

การนิเทศการศึกษา รวมทั้งการนิเทศภายใน

·       เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้รับการนิเทศ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มีขวัญกำลังใจและมีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุผลตาม       มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนและมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด  รักษาไว้ และยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นอยู่เสมอ

·       เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไปอย่างเป็นระบบและรองรับด้วยข้อมูล

                 สารสนเทศ

·       เป็นกิจกรรมที่อยู่ในบรรยากาศของความร่วมมือร่วมใจเข้าใจอันดี         ต่อกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ  

·       เป็นกิจกรรมที่เคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้รับการนิเทศ

·       เป็นกิจกรรมที่ดึงศักยภาพของผู้รับการนิเทศมาใช้ และให้การยกย่อง

·       เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาตนเองให้อยู่ในระดับ  

      มาตรฐานวิชาชีพหรือระดับคุณภาพครูของคุรุสภาให้สูงขึ้น และรักษาไว้ได้

 

 

จุดมุ่งหมาย

 

ดร. สาย ภาณุรัตน์  (สาย ภาณุรัตน์, 2521) หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์คนแรกของประเทศไทย ได้เสนอจุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาไว้หลายข้อดังนี้

             1.ช่วยสร้างคุณลักษณะแห่งความเป็นผู้นำ

    ให้แก่ครู

                        2. ช่วยส่งเสริมขวัญของครูให้อยู่ในสภาพที่ดี    และเข้มแข็ง  รวมหมู่คณะได้

                        3 ช่วยให้ครูพัฒนาการสอนของตน  โดยมี    คำแนะนำ  2  ประการ คือ

                                     - อย่าได้พยายามยัดเยียดความคิดเห็น    ที่คนนิยมให้ครูจำต้องรับ และพยายาม                            .                                

หมายเลขบันทึก: 196868เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2008 08:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
กิ่งแก้ว ศรีสาลีกุลรัตน์

ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากมาย ขอขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท