กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) กลุ่ม 2 (5 For Share) สัปดาห์ที่ 2 (21-25 ก.ค. 51)


การส่งเสริมการอ่านของนักเรียน

ผู้บันทึก  นายจรัญ  ไชยศักดิ์

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) กลุ่ม 2 (5 For Share)  สัปดาห์ที่ 2 (21-25 ก.ค. 51)

เรื่อง  การส่งเสริมการอ่านของนักเรียน

 

หลังจากที่ผ่านไปแล้ว 1  สัปดาห์ ทางกลุ่มได้ปรับเวลาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใหม่โดยใช้ช่วงเวลา 21.00น. – 22.00 น. ของวันจันทร์ –  วันศุกร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาโดยเฉลี่ยแล้วเหมาะสมที่สุด(สมาชิกในกลุ่มพึงพอใจมาก  โดยเฉพาะคนที่บ้าน...)   ส่วนการพบผู้เชี่ยวชาญยังใช้เวลาเดิมตามที่สถาบันฯกำหนดไว้ในตาราง (หรือปรับบ้างตามที่สถาบันแจ้งผ่านมาทางเวบไซต์) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1.    เพิ่มเติมประเด็นกิจกรรมและความสำคัญของ “การส่งเสริมการอ่าน” จากสัปดาห์ที่ 1 เจาะลึกลงไปถึงรายกลุ่มต่างๆ(ระดับปฐมวัย , ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา)

2.    วิพากษ์เพิ่มในส่วนของกรณีศึกษาต่างๆที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสภาพความพร้อมของนักเรียนในท้องถิ่นต่างๆที่ค่อนข้างแตกต่างกันมาก  ความพร้อมของครูและการบริหารจัดการของโรงเรียน

3.       ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่จะทำให้การส่งเสริมการอ่านของนักเรียนประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

4.       วันพุธที่ 23 ก.ค. 2551 พบผู้เชี่ยวชาญ (ดร.อรพิน และอ.วีระชัย) เวลา 12.15น.- 13.00น.

5.       วันพฤหัสที่ 24 ก.ค. 2551 พบผู้เชี่ยวชาญ (ดร.สนธิรัก และอ.วีระชัย) เวลา 19.00 น.-20.00น.

ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ

                -ได้ประเด็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  ต้องหาสาเหตุให้ได้และใช้วิธีการแก้ปัญหาให้เหมาะสมถูกกับกลุ่มและวัยของเด็กด้วยหลักจิตวิทยา  ควรทำเป็นช่วงชั้นเพราะจะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกันให้เน้นการทำวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่เพื่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม

                -ประเด็นที่ได้เพิ่มจากหัวเรื่องของกลุ่มคือเรื่อง “การประเมินสมรรถนะ”ของกลุ่มที่ 1 , เรื่องการประกันคุณภาพ และ TMQA

-คราวต่อไป ผชช.  ดร.สนธิรัก  นัดวิธีการสร้างกรอบความคิด

 

สรุปสาระสำคัญที่กลุ่มได้เรียนรู้

-นอกจากประเด็จกิจกรรมต่างที่จะช่วยแก้ปัญหาการอ่านให้กับนักเรียนแล้ว การทำวิจัยเชิง

คุณภาพเพื่อช่วยแก้ปัญหาเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่กันไป

                                -เพิ่มเติมทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประชาสัมพันธ์การจัด เทศกาลรักการอ่านและการเรียนรู้สู่ 4 ภูมิภาค  ของบริษัทนานมีบุคส์ จำกัดได้จัดงาน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เป็นผู้สนับสนุนงานดังกล่าว เพื่อรณรงค์ให้เยาวชนไทยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง โดยขยายโอกาสให้เด็ก เยาวชนและครู ตลอดจนผู้ปกครอง ในส่วนภูมิภาค โดยจะมีการจัดงาน เทศกาลรักการอ่านและการเรียนรู้สู่ 4 ภูมิภาค ขึ้นใน 4 จังหวัดซึ่งภาคเหนือ    จังหวัดเชียงใหม่    ที่โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ระหว่างวันที่    24 - 27 กรกฎาคม  2551

ข้อสังเกตจากผู้บันทึก(ถ้ามี)

-การได้พบผู้เชี่ยวชาญพร้อมกับกลุ่มอื่น(กลุ่มใหญ่)  ทำให้ได้ประเด็นความรู้เพิ่มเติมขึ้นมา

และเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกที่จะได้นำไปปรับใช้  เป็นบรรยากาศที่ดีในการประชุมทางไกลช่วยให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น 

-ควรตรวจสอบคุณภาพของไมค์และลำโพงให้ใช้งานได้ก่อน และเตรียมสภาพแวดล้อมให้

พร้อมก่อนเข้าวงประชุมสนทนา  กรณีที่มีเสียงรบกวนอาจต่อสายแลนแยกไปอีกห้องจะดีมาก และบางท่านที่สัญญาณค่อนข้างอ่อนเนื่องจากความเร็วของอินเตอร์เน็ตยังไม่พอ  ถ้าจะเพิ่มบริการเสริมอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจะดีมากครับ

 

ขอเชิญร่วมกันแสดงความคิดเห็นมากๆ นะครับ

คำสำคัญ (Tags): #การอ่าน
หมายเลขบันทึก: 196856เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2008 05:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
เรื่อง การส่งเสริมการอ่านของนักเรียน

เรื่องเด็กอ่านหนังสือไม่ออกกลายมาเป็นปัญหาระดับชาติไปแล้ว น่าจะกำหนดเป็นวาระแห่งชาติได้เลย ผมอยู่ภาคกลาง เด็กพูดภาษาไทยแท้ๆ พูดมาก พูดเก่ง แต่อ่านและเขียนคำที่พูดไม่ได้แม้แต่คำพื้นๆ

สิ่งหนึ่งในฐานะที่เป็นคนสนใจเรื่องนี้ เราคงต้องหันกลับไปดูห้องสมุดโรงเรียนโดยเฉพาะห้องสมุดโรงเรียนประถม ว่าห้องสมุดได้ทำหน้าที่ของตนได้หรือไม่ เพราะหน้าที่ของห้องสมุดด้านหนึ่งคือ การส่งเสริมนิสันรักการอ่าน ซึ่งต้องมีกิจกรรมอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง คือต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็กอนุบาลกันเลยทีเดียว ยังไม่สายที่พวกเราคิดจะแก้ไข ขอให้ทำจริงจังและต่อเนื่องรับรองว่าได้ผลแน่ หรืออย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ทำอะไรกันเลย จริงไหมครับท่าน

ผู้เฒ่า

เป็นโอกาสและเวลาที่ลงตัวจริง ๆ ค่ะ เพราะช่วงเวลาที่มีการจัดงาน “เทศกาลรักการอ่านฯ” เป็นช่วงที่กรอบแนวคิดของสมาชิกค่อนข้างจะลงตัวแล้ว แถมยังมี อ. จรัญ กับ ดร. วิชากร เป็นตัวแทนสมาชิกของกลุ่มที่สามารถไปร่วมกิจกรรมพร้อมเก็บเกี่ยวข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้เต็มที่ และเชื่อมั่นว่าเทคนิคการจับประเด็นและ share ของทั้งสองท่านอยู่ในระดับ "ขั้นเทพ" สมาชิกคนอื่น ๆ (รวมทั้งผชช และ ผู้บริหารโครงการ) น่าจะได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติมด้วย

เห็นด้วยกับผู้เฒ่าค่ะ ในกรณีของห้องสมุดโรงเรียน ตอนเด็ก ๆ ที่โรงเรียนมีห้องสมุดเล็ก ๆ ครูบรรณารักษ์ชื่อ "ครูตุ้ม" ครูตุ้มเป็นครูนักกิจกรรมและชอบจัดกิจกรรมขึ้นที่ห้องสมุดเสมอ กิจกรรมหนึ่งที่ครูทำให้แก่เด็ก ๆ คือ กิจกรรม "วันเล่านิทาน" ซึ่งจัดขึ้นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่จำไม่ได้ว่าเป็นวันไหน เด็ก ๆ (ที่อยากฟัง) จะมารวมตัวกันที่ห้องสมุด ครูตุ้มจะมีหุ่นมือที่ทำขึ้นเอง แล้วครูตุ้มกับครูคนอื่น ๆ 1-2 คนก็จะเล่านิทานพร้อมเชิดหุ่นไปด้วย เด็ก ๆ ที่ไม่อยากวิ่งเล่นก็เข้ามานั่งฟังนิทาน พอเล่านิทานจบ (ใช้เวลาประมาณ 20 นาที) ครูตุ้มจะบอกว่าเรื่องที่นำมาเล่าอยู่ในหนังสือเล่มไหน ชั้นไหน (ไม่แน่ใจว่าตอนนั้นมีการจัดหมวดหมู่หนังสือยังไง เพราะตอนนั้นเรียนอยู่ชั้น ป. 2)ถ้าเราชอบนิทาน เราก็กลับมาหยิบอ่านอีกที ตอนเด็ก ๆ เลยชอบเข้าห้องสมุดค่ะ พอได้อ่านความคิดเห็นของผู้เฒ่าแล้วก็เลยนึกถึงตัวเอง...

จริง ๆ "เจ้าขุนทอง" ที่อยู่ใน TV ยังมาทีหลังหุ่นมือของ "ครูตุ้ม" อีกนะคะ ... คิดถึงคุณครูจัง...

อ.จรัญคงได้ไปงานเทศกาลรักการอ่าน ส่วนผมขยับไปไหนก็ติดซ้ายขวา อย่างไรก็ตามคิดว่าอ.จรัญคงจะได้นำ วิธีการปฏิบัติที่ดี ที่ได้เรียนรู้ในงานมาฝากกันคราวหน้า

เรื่องปัญหาของการอ่าน ถ้าได้สาเหตุที่แท้จริง เราจะสามารถเลือกทางเลือกที่หลายท่านนำมาเล่าให้ฟังถึง how to และคงจะมีมาเรื่อยๆเช่นท่านผู้เฒ่าเสนอเรื่องต้องปลูกฝังกันแต่อนุบาล และห้องสมุดนั้นทำหน้าที่ของตนได้ดีเพียงใด ทำให้นึกถึงห้องสมุดมีชีวิตของโรงเรียนบ้านดอยคำ สพท.ลำพูน เขต 1 กิจกรรมที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ เวลาเลิกเรียนเด็กจำนวนหนึ่งจะนำหนังสือของห้องสมุดใส่ตระกร้ารถจักรยานกลับบ้านไปให้น้องๆ หรือแม้แต่พ่อแม่อ่าน

ทำให้หนังสือที่แช่หรือถูกขังอยู่ตู้ได้มีโอกาสหายใจ พร้อมกับให้ความรู้แก่คนเหมือนมันมีชีวิตจริงๆ

สาเหตุที่ทำให้เด็กไทยไม่เป็นผู้ที่ชอบอ่านหนังสือ จากความเห็นของหลายๆท่านที่อ่านเจอ คงไม่แตกต่างกันมาก ที่ผู้เฒ่ากล่าวไว้ก็เป้นส่วนหนึ่งเห็นด้วย แต่มีผู้ให้ข้อคิดไว้มากมาย หลากหลายด้าน เช่น ไม่เห็นความสำคัญของการอ่าน มีปัญหาด้านการอ่าน ขาดวัสดุสื่อที่ใช้ประกอบการอ่าน ขาดการกระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรัการอ่าน มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย ความสามารถทางสมอง ความพร้อมที่จะเรียนอ่าน สภาพอารมณ์ สภาพเศรษฐกิจ อิทธิพลจากสื่ออื่นๆ และอีกมากมาย แต่การแก้ปัญหาต้อง เลือกแก้ตามสาเหตุที่ค้นพบ เด็กนัเรียนบางคนพบเพียงสาเหตุเดียว บางคนก็หลายสาเหตุ คนที่จะแก้ปัญหาได้การอ่านได้ดีที่สุดคือ พ่อแม่และผู้ปกครองต้องร่วมมือกับครูที่สอน จึงจะสำเร็จ

จาก ครูบ้านนอก

หัวอกพ่อแม่ผู้ปกครอง

อีกประเด็นที่ทำให้ทักษะการอ่านของเด็กไทย...ไปไม่ถึงไหน เนื่องจากขาดหนังสือและสื่อส่งเสริมการอ่านที่ดีๆ ถ้ามีบ้างก็ราคาค่อนข้างแพง ทางรัฐและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรหันมาส่งเสริมเรื่องนี้ให้มากๆ เพื่อจะให้เด็กได้อ่านหนังสือดีๆ ซึ่งจะเป็นผลพวงที่ทำให้เกิดทักษะการอ่านในที่สุด

การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กต้องเริ่มตั้งแต่ที่บ้านค่ะจึงจะได้ผล เพราะคำว่านิสัยเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝัง หากเรามาปลูกเอาตอนอยู่ในโรงเรียนเนี้ยคงจะลำบาก หากจะเริ่มที่โรงเรียนโดยส่วนตัวคิดว่าต้องเอาแบบเข้มข้นที่ระดับปฐมวัย และช่วงชั้นที่ 1 - 2ค่ะ เพราะเป็นวัยนี้เป็นวัยทองแห่งการเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง การฝึกต้องฝึกต้งแต่แรกเกิดถึง 12 ปีให้ติดเป็นกิจนิสัย ซึ่งเด็กยังเล็กมากโรงเรียนต้องอาศัยความร่วมมือกับผู้ปกครอง ครู และชุมชนและโรงเรียนจำเป็นต้องพัฒนาให้เอื้อต่อลักาณะนิสัยรักการอ่านให้เด็กสามารถอ่านได้ทุกทีทุกเวลา ตัวผู้บริหารเองจะต้องมีการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ต่าง ๆ อย่างมีระบบ มีการติดตาม ดูแล ตรวจสอบ อย่างต่อเนื่อง จึงจะได้ผลค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท