การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


เทคโนโลยีด้านการเกษตร

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

..........
.............ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านการเกษตรได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก เป็นที่รู้จักกันมากในขณะนี้คือ การตัดต่อยีนส์เพื่อให้สายพันธุ์พืชสายใหม่ที่ทนต่อโรค แมลง และให้ผลผลิตสูง หรือรู้จักกันในนามพืช GMO ที่กำลังเป็นปัญหาถกเถียงกันในขณะนี้ว่าพืชบางอย่างได้ตัดต่อยีนส์แล้วบางตัวมีผลทำให้แมลงต่าง ๆ ตาย ซึ่งแมลงบางตัวเป็นแมลงทีมีประโยชน์ อาจส่งผลให้สภาพความสมดุลทางธรรมชาติสูญเสียไปด้วย การเพาะพันธุ์ต้นไม้ในสภาพที่ปลอดเชื้อหรือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Tissue Culture) เป็นอีกวิธีหนึ่งของเทคโนโลยีด้านการเกษตรชนิดอื่นที่นอกเหนือจากพืชสวน พืชไร่ ไม้ดอก เช่นการเพาะเลี้ยงเยื่อสมุนไพร เพราะวิธีการนี้สามารถขยายพันธุ์ได้เร็วและจำนวนมาก แต่มีข้อเสียอยู่คือต้นทุนในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการค่อนข้างสูง และขั้นตอนในการปฏิบัติการขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก ถ้าเทียบกับการขยายพันธุ์ไม้ดอก กล้วยไม้ หรือไม้ประดับ เพราะว่าสมุนไพรในแต่ละชนิดจะมียาง ซึ่งในยางนั้นจะมีตัวยาแตกต่างกันไป และตัวยาในยางของสมุนไพรนี่เองที่มักจะทำปฏิกริยากับธาตุอาหารสังเคราะห์ที่ใช้เลี้ยงต้นพืชสมุนไพร บางครั้งอาจทำให้พืชนั้นไม่เจริญเติบโต ไม่แตกกอ ไม่ดูดสารอาหาร และจะทำให้พืชนั้นตายในที่สุด แต่ถ้าหากทดลองสูตรอาหารได้สูตรที่เหมาะสมกับพืชนั้นๆ ก็จะเจริญเติบโตได้ดี

...........การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คือ การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชไม่ว่าจะเป็นส่วนเนื้อเยื่อ อวัยวะต่าง ๆ ของพืช หรือเซลล์ มาเลี้ยงในสภาพที่ปลอดเชื่อจุลินทรีย์ โดยมีการควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ แสง ความชื้น ส่วนต่างๆ ของพืชเหล่านี้จะสามารถเจริญเติบโตพัฒนาเป็นต้นใหม่ โดยที่พืชทุกต้นจะมีลักษณะเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจึงมีประโยชน์อย่างกว้างขวางในหลายสาขา เช่น ทางด้านการเกษตรทำให้สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว หรือสามารถผลิตต้นพันธุ์ที่ปลอดเชื้อได้จำนวนมาก และยังสามารถสร้างพันธุ์ใหม่ ๆ ได้โดยการเพาะเลี้ยงคัพภะ (Embryo) อับละอองเกสร (Anther Culture) นอกจากนี้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังมีความสำคัญ สำหรับการเก็บรักษาพันธุ์พืชในสภาพปลอดเชื้อได้ดี

 

 

หมายเลขบันทึก: 196108เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ พี่เพ็ญ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนี่อยู่ในการนิเทศหรือป่าวครับ แต่ไม่แปลก ได้ความรู้ดีด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท