โปรแกรมและภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ


โปรแกรมและภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ

 

 

โปรแกรมและภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ

 

เว็บเพจคืออะไร

                เว็บเพจเป็นสิ่งที่ใช้แสดงข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเว็บเพจแต่ละหน้าจะมีหน้าตาไม่เหมือนกัน มีการวางรูปและข้อความต่าง ๆ ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับความต้องการว่าจะให้เว็บออกมาเป็นอย่างไร

ศัพท์ที่ควรรู้ในการสร้างเว็บ

                ก่อนที่จะเริ่งสร้างเว็บเพ็จแบบง่าย ๆ ต้องเรียนรู้ศัพท์ที่น่าจะได้เจอในเรื่องการใช้งานและการสร้างเว็บดังนี้

1.                    เว็บเพจ (Webpage) คือ หน้าเว็บที่เราเห็นเมื่อใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์เปิดเว็บไซต์ขึ้นมา อาจกล่าวได้ว่าเว็บเพจก็คือ ไฟล์ 1 ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น *.htm หรือ * .html

2.                    เว็บไซต์ (WebSite) ประกอบด้วยเว็บเพจหลายหน้า โดยเว็บเพจแต่ละหน้าจะอยู่ภายใต้ชื่อหนึ่งชื่อที่เหมือนกัน เช่น เว็บไซต์ www.infopress.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์อินโฟเพรส และ DEV Book

3.                    โฮมเพจ (Homepage) คือเว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์ใด ๆ แต่คนไทยมัดจะพูดกันจนติดปากในความหมายว่าโฮมเพจก็คือ เว็บไซต์ส่วนตัวของคน ๆ หนึ่ง

4.                    Static Web Page  เป็นหน้าเว็บเพจที่มีความสามารถเพียงแสดงข้อความ hypertext เท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลให้สอดคล้องกับผู้ใช้แต่ละคนได้

5.                    Dynamic Web Page เป็นเว็บเพจที่มีชุดคำสั่ง (Instruction) ที่เรียกว่า โปรแกรม Script” สามารถตอบสนองการกระทำต่างๆ ที่เกิดขึ้นของผู้ใช้  สามารถควบคุมหรือกำหนดการทำงานในรูปแบบต่างๆ ดึงข้อมูลมาจากฐานข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการ, รับข้อมูลจากผู้ใช้แล้วเก็บบันทึกในฐานข้อมูล, นับจำนวนผู้ใช้, แสดงวัน/เวลาที่ปรับเปลี่ยน เมื่อผู้ใช้เลื่อนเมาส์ไปอยู่เหนือบางข้อความ ก็จะมีเอฟเฟ็คบางอย่างเกิดขึ้น

6.                    เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ทำหน้าที่เก็บเว็บไซต์ และให้บริการเกี่ยวกับเว็บตามที่เว็บราวเซอร์ร้องขอข้อมูลมา

7.                    เว็บบราวน์เซอร์ (Web Browser) คือ โปรแกรมที่ใช้เปิดเว็บเพจเรียกสั้น ๆ ว่า บราวเซอร์มีหน้าที่ติดต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อขอข้อมูลที่ต้องการมาแสดงที่หน้าจอของโปรแกรม ตัวอย่างของโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ Microsoft Internet Explorer โปรแกรม Netscape Navigator และโปรแกรม Opera

8.                    ชื่อโดเมน (Domain Name) ชื่อที่ใช้แทนการเรียกหมายเลข IP เนื่องจาก หมายเลข IP จดจำยาก ไม่สามารถสื่อความหมายถึงชื่อขององค์กรที่เป็นเจ้าของ Web site ได้  202.12.97.2 จำยาก www.kku.ac.th จำได้ง่ายกว่า

9.                    ลิงค์ (Link) คือ ส่วนของเว็บเพจที่เราสามารถคลิกเพื่อเปิดเว็บเพจหรือเว็บไซต์ใหม่ขึ้นมาแทนที่เว็บไซต์หน้าปัจจุบันได้ โดยสามารถเป็นได้ทั้งตัวอักษร ข้อความ หรือแม้แต่รูปภาพ

10.                 HTML เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจ โดยไฟล์ซึ่งภายในเป็นตัวอักษรที่ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML นั้นเราจะเรียกว่าไฟล์ HTML และเราอาจจะเรียกไฟล์ HTML ว่าเป็นเว็บเพจได้

11.                 HTTP ชื่อโปรโตคอลซึ่งเป็นข้อกำหนดในการส่งข้อมูลของเวิลด์ไวด็เว็บ โดยเราจะเห็นว่าต้องพิมพ์คำว่า http://นำหน้าชื่อ URL เมื่อจะเปิดเว็บเสมอ เพื่อบอกให้บราวเซอร์ร้องขอบริการเว็บจากเว็บเซิร์ฟเวอร์นั่นเอง (แต่ปัจจุบันบราวเซอร์จะแทรกให้โดยอัตโนมัติถึงแม้จะพิมพ์แต่ URL อย่างเดียว)

12.           เว็บมาสเตอร์ (Webmaster) เป็นชื่อเรียกผู้ดูแลเว็บไซต์

13.                 ดาวน์โหลด (Download) เป็นการคัดลอกข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

14.                 อัพโหลด (Upload)ป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับการดาน์โหลด นั่นคือ เป็นการคัดลอกข้อมูลจากเครื่องของเราไปยังเซิร์ฟเวอร์

15.            แบนเนอร์ (Banner) เป็นรูปภาพที่ปรากฏบนเว็บเพจเพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของเว็บไซต์หรือเพื่อโฆษณาสินค้าหรือบริการปกติจะเป็นรูปภาพเคลื่อนไหวเพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเว็บ

16.                 ลงทะเบียน (Register) หมายถึง การที่เรากรอกข้อมูลส่วนตัวของเราลงไปในแบบฟอร์มบนเว็บเพื่อจะได้มาซึ่งบริการ หรือสิทธิพิเศษที่ทางเว็บไซต์นั้นมีให้

องค์ประกอบของเว็บเพจ

1.  Microcomputer ที่ใช้งานโดยทั่วไป

2.  Microcomputer for Server ผลิตขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นเซอร์เวอร์โดยเฉพาะ มีประสิทธิภาพการทำงานดีกว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์  

·       CPU ที่มีความเร็วตั้งแต่  Pentium 120 MHz ขึ้นไป

·       RAM >128 MB 

·       Harddisk >10 GB หรือตามขนาดของปริมาณข้อมูลที่ต้องการจะบันทึก

        คอมพิวเตอร์รุ่นล่าสุดในปัจจุบันมีความเร็วของ CPU ถึงระดับ GHz ดังนั้น การการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับจัดทำเป็น Web Server จึงสามารถนำคอมพิวเตอร์เครื่องเก่า ที่ตกรุ่นไปแล้วมาใช้ได้

3.       Software for Webdevelop

·       Text Editor : Notepad, Homesite, Coolpad

·       Web builder : FrontPage, Dreamweaver

4.       Software for Server

·       SW for OS : Windows2000 Server, Windows2003 Server, UNIX

·       SW for Web Service : Personal Web Server (PWS), Internet Information Server (IIS)  

5.       ซอฟต์แวร์อื่นๆ

·       DBMS :  MySQL,  MS Access,

 ภาษาและโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโฮมเพจ

                การสร้างเว็บเพจเมื่อเรามีพื้นฐานด้านภาษา HTML ดีแล้วการจะใช้เครื่องมือสำเร็จรูปมาช่วยสร้างก็จะเป็นการประหยัดเวลาได้มาก โปรแกรมสร้างเว็บเพจจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ

 

                1.  โปรแกรมในกลุ่ม Text Editor หมายถึงโปรแกรมที่เน้นในการใช้ภาษา HTML เป็นหลัก ผู้ใช้จะต้องมีความเข้าใจในการใช้งาน จดจำคำสั่ง รูปแบบของคำสั่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่ Notepad, Homesite, CoffeeCup, EditPlus, HotDog Pro, 1st Page 2000 เป็นต้น คุณสมบัติที่ดีของโปรแกรมกลุ่มนี้คือขนาดไฟล์ที่ได้จะเล็ก และตรงกับความต้องการของผู้ออกแบบมากที่สุด

                2.  โปรแกรมในกลุ่ม WYSIWYG (What You See It What You Get) หมายถึงโปรแกรมที่คุณมองเห็นอย่างไรในขณะกำลังสร้างก็จะได้ผลของเว็บเพจอย่างนั้น ผู้ใช้งานไม่ต้องรู้ภาษา HTML มากนักก็ได้ ขอให้ออกแบบ/วางแผนได้ดีก็สามารถสร้างเว็บสวยๆ ได้ง่ายๆ โปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่ MS FrontPage, DreamWeaver, Namo WebEditor ผลที่ได้จากโปรแกรมเหล่านี้มักจะได้ไฟล์ขนาดใหญ่ ทำให้การแสดงผลจริงช้า ถ้าผู้ออกแบบมีความเข้าใจภาษา HTML ก็จะสามารถนำโปรแกรมในกลุ่มแรกมาช่วยในการแก้ไขไฟล์ในส่วนที่ซ้ำซ้อน ไม่จำเป็นออกไป ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลงได้

ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ

Java

                ภาษา Java เป็นภาษาในการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายกับภาษา C++ โดยเป็นการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming : OOP) คิดค้นโดยบริษัท Sun Microsystems ในปี 1991 โดยทางบริษัทมีเป้าหมายที่จะสร้างผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคที่ง่ายต่อการใช้ง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่มีข้อผิดพลาด และสามารถใช้กับเครื่องใด ๆ ก็ได้

ภาษา Java มีลักษณะของ Applets เป็นระบบ Client/Sever ระหว่างตัว Web Browsers ที่ฝั่ง Client และ Web Sever ที่ฝั่ง Server เหมาะสำหรับเขียนขึ้นใช้งานบน Internet (World Wide Web) ในลักษณะ Close Platform โดยไม่ขึ้นกับ Platform ของระบบปฏิบัติการ(Operation System : OS)ใดๆ เช่น Windows 95/98, Windows NT, Macintosh หรือ Unix

 

ลักษณะและโครงสร้างของภาษาจาวา

 

การที่โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษาจาวาสามารถนำไปใช้กับเครื่องใดๆ ก็ได้ เนื่องจากการแปลภาษาจาวาไม่ได้แปลเป็นรหัสคำสั่งภาษาเครื่องของซีพียู แต่จะแปลเป็นรหัสพิเศษคือ Java Object Code ซึ่งการนำโปรแกรมไปทำงานจะต้องมีจาวาแมชชีนที่ทำงานในเครื่องและซีพียูแต่ละรุ่น เป็นตัวนำคำสั่งจาวาโค๊ดมาแปลงให้เป็นภาษาเครื่องที่เหมาะสม

ปัจจุบันจาวาแมชชีนมีอยู่ในโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ทุกโปรแกรม ทำให้โปรแกรมภาษาจาวาถูกเรียกขึ้นมาทำงานบนเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape Commander หรือ Opera บนคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในปัจจุบันที่ใช้อินเตอร์เน็ตได้ต่างก็มีโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่ใช้ภาษาจาวาได้ทั้งสิ้น และภาษาจาวายังถูกนำไปเรียกใช้จากโปรแกรมในภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สร้างเว็บเพจได้ด้วย ซึ่งทำให้ภาษาจาวาเป็นภาษาที่ใช้เพิ่มความสามารถให้แก่เว็บเพจ เนื่องจากจาวาเป็นภาษาที่ทำงานได้เต็มความสามารถของภาษาโปรแกรม รวมถึงการสร้างโปรแกรมระบบ

โครงสร้างของภาษาจาวานำโครงสร้างมาจากภาษา C++ ผนวกกับความสามารถในการใช้กราฟฟิกและสื่อมัลติมีเดีย ลักษณะของการใช้งานภาษาจาวาแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่

(1) เขียน Source Code ภาษาจาวาร่วมกับภาษา HTML โดยไม่ต้องแปลโปรแกรมเป็น Object Code ก็สามารถทำงานได้ เรียกตัวโปรแกรม Source Code ภาษาจาวาว่า จาวาสคริปต์” (Java Script)

(2) เขียน Source Code แล้วแปลเป็น Object Code เรียกใช้โดยการใช้คำสั่งเพื่อเรียกใช้ Object Code เรียกว่า จาวาแอปเพล็ต” (Java Applet)

ลักษณะการทำงานของภาษา Java

                ภาษาจาวา (Java Language) คือภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่มีหลักการเขียนแบบเชิงวัตถุ ถูกใช้เพื่อสร้างโปรแกรมให้ทำงานในระบบคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆ และภาษาจาวายังมีความสามารถในการสร้างโปรแกรมขนาดเล็กที่เรียกว่า Applets สำหรับใช้งานในระบบอินเทอร์เน็ตโดยทำงานร่วมกับโปรแกรมบราวเซอร์ ภาษาจาวาจะถูกนำไปสร้างโปรแกรมตามหลักการและไวยากรณ์ของการเขียน มี Java Compiler เป็นตัวแปรภาษาซอร์ซโค้ด(Source Code) ให้กลายเป็นภาษากลางที่เรียกว่า ไบต์โค้ด (Byte Code)และส่งต่อให้กับผู้ใช้ต่อไป

                โปรแกรมต่าง ๆ ถูกสร้างภายใน class โปรแกรมเหล่านั้นถูกเรียกว่า method หรือ behavior โดยปกติจะเรียกแต่ละ class ว่า object โดยแต่ละ object มีพฤติกรรมมากมาย โปรแกรมที่สมบูรณ์จะเกิดจากหลาย object หรือหลาย class มารวมกัน โดยแต่ละ class จะมี method หรือ behavior แตกต่างกันไป

เนื่องจาก Java มีลักษณะเป็นระบบ Client/Server ดังนั้นเมื่อมีการเรียกใช้งานจากเว็บบราวเซอร์ เซิร์ฟเวอร์ก็จะทำการส่งข้อมูลและโปรแกรมที่ต้องการให้กับเว็บบราวเซอร์เพื่อทำการแสดงผลลัพธ์แก่ผู้ใช้

ลักษณะการนำไปใช้งานของภาษา Java

Java เป็นการปฏิวัติรูปแบบการเขียนโปรแกรมของการปฏิบัติการสำหรับ World Wide Web และการทำงานร่วมกันกับอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต จาวามีความสัมพันธ์กับการทำงานของ C++ และ ภาษาโปรแกรม Objective C แต่มีการใช้งานที่ง่ายและปลอดภัย และเป็นรูปแบบของการประมวลผลที่เป็นอิสระ จาวายังเป็นการออกแบบเฉพาะสำหรับการแสดงผลจริง การสื่อสารระหว่างกัน การปฏิบัติการบนเครือข่ายเว็บไซต์ ดังนั้นการปฏิบัติการจาวาเป็นการประกอบขึ้นจากโปรแกรมเล็ก ๆ หลายโปรแกรมที่เรียกว่า Applets ซึ่งสามารถที่จะดำเนินงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องและระบบปฏิบัติการในทุก ๆ ที่บนเครือข่าย

ความง่ายในการสร้าง Java Applets และการประกาศใช้ Applets ทั้งหมดจากเซิร์ฟเวอร์เครือข่ายไปยังเครื่องลูกข่ายที่เป็นคอมพิวเตอร์ธรรมดาและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้จาวานั้นได้รับความนิยม Applets สามารถเป็นโปรแกรมปฏิบัติการในวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเป็นโมดูลเล็ก ๆ ของโปรแกรมปฏิบัติการขนาดใหญ่ Applets ยังสามารถปรับขนาดของเว็บไซต์ในเซิร์ฟเวอร์จนกว่าความต้องการของระบบเครื่องลูกข่ายและเป็นการทำงานอย่างง่าย ๆ ในการกระจายการทำงานบนอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต Applets เป็นรูปแบบการทำงานที่เป็นอิสระ ซึ่งจะสามารถทำงานบน Windows, OS/2, UNIX และระบบ Macintosh โดยที่ไม่ต้องมีการปรับให้เข้ากับระบบก่อน ดังนั้นจาวาจึงกลายเป็นภาษาโปรแกรมที่เป็นทางเลือกใหม่ที่เป็นภาษา Microsoft's Active X สำหรับการจัดการที่เป็นความตั้งใจในความสามารถของธุรกิจที่สำคัญของอินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถทำงานได้ดีเท่ากับการทำงานของอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต

แม้ว่าการใช้งานจาวาในช่วงแรกจะจำกัดอยู่กับ World Wide Web (WWW) และ Internet แต่ในปัจจุบันได้มีการนำจาวาไปประยุกต์ใช้กับงานด้านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างมากมาย ตั้งแต่ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility) ไปจนกระทั่งซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น โปรแกรมชุดจากบริษัท Corel ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมหลัก ๆ คือ โปรแกรม Word Processing, Spreadsheet และ  Presentation ที่เขียนขึ้นด้วยจาวาทั้งหมด

จาวายังสามารถนำไปใช้เป็นภาษาสำหรับอุปกรณ์แบบฝังต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ และอุปกรณ์ขนาดมือถือแบบต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งยังได้รับความนิยมนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้แล้ว จาวายังเป็นภาษาที่ถูกใช้งานในคอมพิวเตอร์แบบเอ็นซี (NC) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ล่าสุด ที่เน้นการทำงานเป็นเครือข่าย

ข้อดีและข้อเสียของภาษา Java

โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษาจาวา สามารถทำงานได้โดยไม่ยึดติดกับ Platform ใดๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติดังกล่าวทำให้มีความสะดวกเป็นอย่างมากในการใช้งาน นอกจากนั้นโปรแกรมที่เขียนขึ้นยังมีขนาดเล็กทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ส่วนข้อเสียของภาษาจาวาก็คือถึงแม้ว่าการทำงานของโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวานั้นจะสามารถใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการ แต่เนื่องจากมีการทำงานแบบ Client/Server ดังนั้นการเรียกใช้งานจากคนละระบบปฏิบัติการจะค่อนข้างช้ากว่าการเรียกใช้งานจากระบบปฏิบัติการแบบเดียวกัน

HTML หรือ HyperText Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นภาษาในเชิง การบรรยายเอกสารไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia Document Description Language) เพื่อนำเสนอเอกสารนั้น เผยแพร่ในระบบเครือข่ายใยแมงมุม WWW (World Wide Web) มีโครงสร้างการเขียน ที่อาศัยตัวกำกับ เรียกว่า แท็ก (Tag) ควบคุมการแสดงผลของข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ (Browser)

เผยแพร่ในระบบเครือข่ายใยแมงมุม WWW (World Wide Web) มีโครงสร้างการเขียน ที่อาศัยตัวกำกับ เรียกว่า แท็ก (Tag) ควบคุมการแสดงผลของข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ (Browser)

 

 

Tag

             Tag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < ) และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ

·         Tagเดี่ยว
เป็น Tag ที่ไม่ต้องมีการปิดรหัส เช่น <P>, <HR> เป็นต้น

·         Tagเปิด/ปิด
เป็น Tag ที่ประกอบด้วย Tag เปิด และ Tag ปิด โดย Tag ปิด จะมีเครื่องหมาย slash (/) นำหน้าคำสั่งใน Tag นั้นๆ เช่น <B>…</B>, <P>…</P> เป็นต้น

Attributes

             Attributes เป็นส่วนขยายความสามารถของ Tag จะต้องใส่ภายในเครื่องหมาย < > ในส่วน Tag เปิดเท่านั้น Tag คำสั่ง HTML แต่ละคำสั่ง จะมี Attribute แตกต่างกันไป และมีจำนวนไม่เท่ากัน การระบุ Attribute มากกว่า 1 Attribute ให้ใช้ช่องว่างเป็นตัวคั่น เช่น Tag ควบคุมเกี่ยวกับรูปภาพ <IMG> มี Attributes ดังนี้

<IMG SRC=”filename” WIDTH=”n” HEIGHT=”n” ALT=”text” BORDER=”n”>

โดย SRC เป็น Attribute ควบคุมชื่อไฟล์ภาพที่จะนำมาแสดงผล

WIDTH เป็น Attribute ควบคุมความกว้างของภาพ

ไฟล์เอกสาร HTML เป็นไฟล์ข้อความรูปแบบหนึ่ง (Text File) ที่เก็บชุดคำสั่ง HTML ดังนั้นการสร้างเอกสาร HTML จึงสามารถใช้ Text Editor ตัวใดก็ได้ เช่น NotePad หรือ WordPadThai

 

โครงสร้างเอกสาร HTML

ไฟล์เอกสาร HTML ประกอบด้วยส่วนประกอบสองส่วนคือ Head กับ Body โดยสามารถเปรียบเทียบได้ง่ายๆ ก็คือ ส่วน Head จะคล้ายกับส่วนที่เป็น Header ของหน้าเอกสารทั่วไป หรือบรรทัด Title ของหน้าต่างการทำงานในระบบ Windows สำหรับส่วน Body จะเป็นส่วนเนื้อหาของเอกสารนั้นๆ โดยทั้งสองส่วนจะอยู่ภายใน Tag <HTML>…</HTML>

 

โครงสร้างไฟล์ HTML

PHP
                  PHP  ย่อมาจาก '' Hypertext Preprocessor '' เป็นภาษา Server-Side Script อีกภาษาหนึ่งเช่นเดียวกันกับ ASP  ที่มีการทำงานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ฝั่ง Server ซึ่งรูปแบบในการเขียนคำสั่งการทำงานนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับภาษา Perl หรือภาษา C และสามารถใช้ร่วมงานกันกับ ภาษา HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หมายเหตุ ในการสร้างเว็บจะใช้ Script อยู่ 2 รูปแบบคือ
Server-Side Script เป็นลักษณะการทำงานบนเครื่อง Server และแปลออกมาเป็นภาษา HTML เช่น ASP, CGI
Client-Side Script เป็นลักษณะการทำงานบนเครื่อง Client (เครื่องผู้ใช้)  เช่น JavaScript, VBScript

 

PHP สามารถทำอะไรได้บ้าง
                ความสามารถของ PHP นั้นสามารถที่จะทำงานเกี่ยวกับ Dynamic Web ได้ทุกรูปแบบ เหมือนกับ CGI หรือ ASP ไม่ว่าจะเป็นการจัดการดูแลระบบฐานข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัย การรับ ส่ง Cookies โดยที่ PHP นั้นสามารถที่จะติดต่อกับโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลที่มีอยู่มากมาย ดังนี้

          Adabas D            InterBase Solid                 Microsoft Access
          DBase                 mSQL                               Sybase
          Empress              MySQL                             Velocis
          FilePro                 Oracle      &

หมายเลขบันทึก: 196046เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท