Piyamanas
นายปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล

ปรับปรุงรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์


เน้นที่การมีปฏิสัมพันธ์แบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) มากขึ้น

การเรียนทางไกลโดยส่วนใหญ่เน้นการเรียนรูปแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สำหรับกิจกรรมที่จัดไว้ปัจจุบันเน้นที่การมีปฏิสัมพันธ์แบบประสานเวลา (Synchronous) ในช่วงเวลา 17.00 - 21.00 น. ซึ่งผู้เรียนบางส่วนที่เพิ่งเลิกงานอาจจะเดินทางกลับบ้านไม่ทัน หรือไม่ต้องการที่จะอยู่ที่ที่ทำงานจนถึง 21.00 น. หรือติดภาระกิจเข้าเวรต่างๆ  ในมุมมองของผู้สอนจึงทำให้ดูเหมือน ประหนึ่ง ราวกับ ว่าผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรมแชทรูมในเวลาที่กำหนดไว้... นี้เป็นจุดหนึ่งที่ค่อนข้างขัดกับหลักการของ e-Learning ที่ว่า Anyone Anywhere Anytime เพื่อให้การดำเนินการศึกษาในรูปแบบ e-Learning นี้ดำเนินไปด้วยความลุล่วงเรียบร้อย จึงเห็นสมควรให้ผู้สอน เน้นที่การมีปฏิสัมพันธ์แบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) มากขึ้น เช่น ในรูปแบบของ  webboard อาจเป็นการตั้งหัวข้อให้ผู้เรียนได้ร่วมอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็น และอาจส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เพื่อกระตุ้นเตือนผู้เรียนบางส่วนที่ละเลยในการร่วมกิจกรรม หรือส่งงาน assignment ต่างๆ... มิใช่เพียง การเข้าห้องสนทนาและถามผู้เรียนว่า มีใครจะถามอะไรครูหรือเปล่า?

อาจเนื่องจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติผู้สอนจะใช้การสอนแบบบรรยายเสียส่วนใหญ่ ซึ่งในรูปแบบ e-L นี้ เนื้อหาบทเรียนต่างๆ ได้จัดเป็นสื่อการสอนให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเองแล้ว กิจกรรมในชั้นเรียน e-L อาจใช้ในการช่วยเสริม อธิบาย หรือยกตัวอย่าง และใช้ในการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น หรืออาจใช้สำหรับในการทบทวนความเข้าใจของผู้เรียนก็ได้

ซึ่งสื่อการสอนในรูปแบบ e-L นี้ผู้สอนสามารถนำไปใช้กับการสอนในชั้นเรียนปกติเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ เสริมประสิทธิภาพการเรียนได้อีกด้วย

คำสำคัญ (Tags): #e-learning
หมายเลขบันทึก: 196007เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท