วิสาหกิจชุมชนรูปแบบกิจกรรมแก้จน โดยครูนงเมืองคอน


KM ทุกคนจะต้องเป็นผู้เรียน ใครฝึกก็ใครได้ ว่างจากการดูแลการประชุมแล้ว ก็มาเข้ากลุ่มฝึกลิขิตได้ ดูแลการประชุม ประสานางานหรือทำงานอยู่ในกองเลขาฯ ก็ทำ KM ทั้งนั้น KM มันอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้ มันต้องเนียนอยู่ในเนื้องาน แบบ KM INSIDE นะครับ ทำตรงส่วนไหนก็ได้ฝึกทักษะและสมรรถนะตรงนั้น

P สร้าง: จ. 21 ส.ค. 2549 @ 13:21

  • กลุ่มเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียง หมู่ที่ 1 ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นกลุ่มที่สนใจเรียนรู้ตลอดเวลา

    จำได้ว่าเมื่อปีที่แล้วทดลองทำปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ โดยทำเป็นโครงงานอาชีพโครงงานเล็กๆ รวมกลุ่มกันทำภายใต้การแนะด้านความรู้จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และด้านการบวนการเรียนรู้จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนครศรีธรรมราช ทำให้ได้ข้อค้นพบมากมาย กลุ่มเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียงแห่งนี้จึงเป็นที่ศึกษาดูงานจากผู้สนใจมากมาย ตัวแทนกลุ่มได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรให้ความรู้ในที่ต่างๆ
  • กลุ่มเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียงกลุ่มนี้สนใจที่จะเรียนรู้ประเด็นใหม่ ได้ตั้งคำถามใหม่ ตั้งโจทย์เพื่อการเรียนรู้ใหม่ว่าจะรวมกลุ่มพัฒนาอาชีพเป็นกลุ่มวิสหกิจชุมชนได้อย่างไร เพราะคิดว่ากิจกรรมวิสหกิจชุมชนจะเป็นรูปแบบการเรียนที่จะตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น          
  • คุณสมวิศว์ จู้พันธ์ หรือน้องติ่ง ที่ปรึกษาโครงการ และคุณธีรพล ระฆังทอง หรือน้องกุ่ย ประธานวิสาหกิจวิสาหกิจชุมชนเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียง หมู่ที่ 1 ต.บางจาก จึงได้มาปรึกษาผมพร้อมนำโครงการผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศซึ่งเขียนตามแบบฟอร์มโครงการที่ขอมาจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช บอกว่าสมาชิกกลุ่มเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียง 27 สนใจอยากทำกิจกรรมวิสาหกิจชุมชน
  • ผมดูรายละเอียดของโครงการแล้ว เห็นว่าเขียนได้ดี คงมีประสบการณ์เชิงการเขียนมาจากการทำโครงงานอาชีพซึ่งจะต้องเขียนหัวข้อต่างๆทำนองนี้ ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อหลักการเหตุผลที่ยกผลงานวิจัยของ ผศ.ธีระพงศ์ สว่างปัญญางกูร และคณะจากภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาสนับสนุนอ้างอิง นำเอาข้อค้นพบจากการทำโครงงานอาชีพของกลุ่มอาชีพตนเองมากล่าว ไว้ 9 ประการ ว่าความรู้เมื่อได้ผ่านการทดลองและปฏิบัติจริงแล้วผลดีเป็นประการใด ผมจะไม่ว่าในรายละเอียดนะครับ
  • ส่วนวัตถุประสงค์ เขียนมา 3 ข้อ คือ 1.เพื่อให้มีเครือข่ายชุมชนนำร่องผู้ผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศเพิ่มขึ้น ในการผลิตปุ๋ยหมักคุณภาพดีในเชิงพาณิชย์ โดยอาศัยเศษพืชและวัชพืชจากเขตพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังตามแนวพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง 2.เพื่อให้สถานที่ผลิตของเครือข่ายที่เกิดขึ้นเป็นฐานการเรียนรู้สำหรับเกษตรกรทั่วไปเข้ามาศึกษาแล้วนำกลับไปประยุกต์ใช้ในชุมชนของตนต่อไป และ 3 .เพื่อเป็นการร่วมแก้ไขปัญหาความยากจนตามโครงการแก้จนเมืองนคร
  • สำหรับตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ เขียนว่า 1.ชุมชนนำร่องสามารถผลิตปุ๋ยหมักคุณภาพดีได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของกำลังการผลิตทั้งระบบ คิดเป็นปุ๋ยหมักที่ผลิตได้ในชุมชน 10.5 ตันต่อเดือน ซึ่งเมื่อสิ้นปีชุมชนนำร่องจะผลิตปุ๋ยหมักได้รวมไม่ต่ำกว่า 120 ตัน หรือคิดเป็นรายได้เสริมไม่ต่ำกว่า 250,000 บาทต่อปี และผลิตต่อเนื่องทุกปี 2.ชุมชนนำร่องสามารถปรับเป็นฐานการเรียนรู้ที่มีเกษตรกรเข้าชมและศึกษารวมปีละไม่ต่ำกว่า 50 ชุมชน หรือ 750 คน และมีเกษตรกรอื่นนำระบบปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศไปทำมากขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 20 แห่ง และมีกลุ่มจังหวัดอื่นอย่างน้อย 2 แห่ง ที่มีการนำรูปแบบนี้ไปใช้ 3.สมาชิกของชุมชนนำร่องมีรายได้เพิ่มขึ้นครัวเรือนละไม่ต่ำกว่า 9,000 บาทต่อปี ซึ่งได้จากการลดค่าใช้จ่าย ต้นทุนการผลิตและอื่นๆที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยแล้ว และจากการจำหน่ายปุ๋ยหมักที่ผลิตได้ และ 4.มีผู้เข้าใช้เว็บไซต์ของกลุ่มเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียงเพื่อเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ไม่ต่ำกว่าปีละ 5,000 คน
  • ผมอ่านแล้ว เห็นว่ากลุ่มนี้นำเสนอกรอบความคิดตามรูปแบบการเขียนเอกสารโครงการได้ดีมีเหตุผลค่อนข้างสมบูรณ์ และมีความเชื่อมั่นว่าเป็นไปได้สูงที่จะทำกิจกรรมตัวใหม่ได้ ไม่วิตกอะไร เพราะชาวบ้านกลุ่มนี้มีทักษะและความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย ออกแบบกิจกรรมการทำงานและกิจกรรมการเรียนรู้ ดี แต่ที่เขียนว่ามีจะผู้เข้าใช้เว็บไซต์ของกลุ่มเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียงเพื่อเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ไม่ต่ำกว่าปีละ 5,000 คน นั้น ข้อนี้ยังไม่มั่นใจเพราะระบบสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์ละแวกนี้ไม่ค่อยดี สังเกตจากตอนที่ไปสาธิตการทำ Blog แล้ว คงให้กลุ่มไปคิดต่อว่าจะทำอย่างไร
  • แต่ที่สำคัญขณะนี้คือกลุ่มต้องไปยื่นข้อเสนอเค้าโครงโครงการที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเสียก่อน
คำสำคัญ (Tags): #วิสาหกิจชุมชน
หมายเลขบันทึก: 195983เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท