การประเมินทบทวน


การตรวจสอบ ทบทวนคุณภาพการศึกษา

1.       เรื่องที่อ่าน/จากหนังสื่อ/ผู้เขียน/ปีที่พิมพ์

การประเมินทบทวน  จากหนังสือ เรียนรู้สู่คุณภาพสถานศึกษา  สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้  2547    

2.       เหตุที่ทำให้สนใจ จากที่ได้แลกเปลี่ยนกับ ผอ.วิชัย เรื่องการประกันคุณภาพโรงเรียน ว่าทาง

โรงเรียนยังไม่เข้าใจการประเมิน  การจัดทำรายงาน การประเมินตนเอง   จึงสนใจและอ่านหนังสือซี่งกล่าวถึงปัจจัยความสำเร็จในการประกันคุณภาพว่า   ขึ้นอยู่กับ  คน  และระบบ  

 สำหรับ การประเมินทบทวนเป็นการประเมินภายในของสถานศึกษา   เป็นขั้นตอนการ

ตรวจสอบ (Check ) ในกระบวนการบริหารคุณภาพ ( PDCA)   มุ่งเน้นประเมิน ระบบคุณภาพ และ ผลลัพธ์ของระบบ ในโรงเรียน   เป็นกระบวนการตรวจสอบการทำงานของตนเอง (Self  - Evaluation )  ของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ ตามยุทธศาสตร์และจุดเน้นที่กำหนดไว้ เช่น  ประเมินทุกๆ ภาคเรียนและนำผลไปใช้ปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานในภาคเรียนต่อไป

                การประเมินภายในที่โรงเรียนคุ้นเคยหรือเป็นกระบวนทัศน์เดิมนั้น คือ การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้มากำหนดเป็นเกณฑ์ของโรงเรียนแล้วสร้างเครื่องมือวัดเพื่อวัดว่าโรงเรียนได้ดำเนินการตามเกณฑ์หรือ ซึ่งการประเมินภายในที่มีการพัฒนาระบบขึ้นมาตามกระบวนทัศน์ใหม่ ก็ควรประเมินตามระบบ หรือเอาระบบเป็นตัวตั้ง โดยกำหนดเกณฑ์โรงเรียนมาจากการเลือกตัวชี้วัดที่สำคัญของระบบ กล่าวคือเป็นตัวชี้วัดที่สัมพันธ์กับมาตรฐาน

                สำหรับแนวทางในการประเมินทบทวน   ผู้ประเมินอาจเป็นฝ่ายบริหาร หรือทีมคุณภาพ ที่มีความเข้าใจในกระบวนการการพัฒนาคุณภาพ และได้รับการฝึกอบรมให้มีทักษะการประเมิน ซี่งโดยบทบาทหลักของผู้ประเมินภายใน ประกอบด้วย การให้ความรู้ การเป็นที่ปรึกษา และการเป็นเพื่อนที่มาช่วยดูผลการปฏิบัติงาน การประเมินต้องมีการวางแผน และเตรียมการเพื่อให้การประเมินมีประสิทธิภาพสูงสุด และทำให้ผู้ประเมินมั่นใจ  ทำการประเมินได้ครอบคลุม เข้าใจในข้อกำหนดของมาตรฐานและกิจกรรม  หลังจากนั้นก็ดำเนินการประเมินตามแผนที่วางไว้   แล้วเขียนสรุปรายงาน สภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน ความไม่สอดคล้อง รวมทั้งข้อสังเกตที่พบ ข้อเสนอแนะ 

                การนำไปใช้  นั้นจะเห็นว่าสามารถนำไปใช้ในการพัฒนางานขององค์กร ในเรื่อง ตรวจสอบทบทวน รู้จุดเด่น จุดด้อย  สามารถหาแนวทางในการพัฒนา   และยังเป็นการเตรียมรับการประเมินภายนอก เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตรงกับเป้าหมายที่กำหนด

                               

                                                                                                                นายประสิทธิ์  กะตะศิลา  ผู้บันทึก

หมายเลขบันทึก: 195966เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สรุปแล้ว การประเมินเป็นเรื่องที่สถานศึกษา หรือหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารคุณภาพ ใครไม่คุ้นชินก็ต้องทำใจ และพยายามปรับกระบวนทัศน์ให้เข้ากับยุคสมัยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท