ความรู้ภูมิปัญญากับความรู้สากลก็บรรจบกันได้ โดยครูนงเมืองคอน


ความรู้เล็กๆน้อยๆของชาวบ้านก็จะมีพื้นที่อยู่ในสังคม ถูกบันทึกไว้ไม่ให้สูญหายไปไหน

P สร้าง: พ. 21 มิ.ย. 2549 @ 07:49

  • ไม่น่าเชื่อว่าความรู้เล็กๆที่ชาวบ้านเรียนรู้ได้แล้ว ค้นพบแล้ว จะมีอิทธิพลมากมายขนาดนี้
  • เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับ เช้าวันที่ 16 มิย.49 ก่อนที่ผมจะไปเป็นวิทยากร ในโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ให้กับอำเภอปากพนัง ผมได้รับโทรศัพท์จาก คุณสมวิศว์ จู้พันธ์ หรือน้องติ่ง ประธานกลุ่มเกษตรชุมชนบ้านมะขามเรียง หมู่ที่ 1 ตำบลบางจาก ว่าจะมีชาวต่างประธานมาดูงานที่กลุ่ม ส่งกำหนดการมาเป็นภาษาอังกฤษ จะมาถึงที่ทำการกลุ่ม เวลา 07.30 น น้องติ่งไม่เข้าใจว่าจะต้องทำอย่างไร ให้ผมช่วยสร้างความเข้าใจให้หน่อย ผมรีบไปตามที่แจ้งครับ ข้อเท็จจริงก็คือว่า อาจารย์ปิยะ วันเพ็ญ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งทำงานให้กับสำนักงานประสานงานและติดตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ชื่อชื่อว่า กปร.(ลุ่มนำปากพนัง)พาคณะนักวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ลุ่มนำโขง ซึ่งทำงานแถบประเทศ ไทย ลาว จีน พม่า กัมพูชา และเวียตนาม มาดูงาน ซึ่งอาจารย์ปิยะ วันเพ็ญ มีข้อมูลตรงพื้นที่นี้อยู่เพราะได้แอบมาดูกิจกรรมของกลุ่มเกษตรชุมชนมะขามเรียงหลายครั้งแล้ว ครั้งสุดท้าย มาดู เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.49 เห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมมาก อยากจะนำองค์ความรู้ เทคโนโยยี ที่ชาวบ้านค้นพบ ไปขยายผลที่อำเภอปากพนัง โดยให้เกษตรกลุ่มนี้ไปทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมๆกัน อาจารย์ก็ประสานงานไปยังชาวต่างประเทศ หรืออาจจะได้รับการติดต่อจากชาวต่างประเทศ ผมไม่ค่อยแน่ใจนัก จะอย่างไรก็แล้วแต่ในที่สุดตัวแทนของนักวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นตัวแทนจากประเทศญี่ปุ่น และฟิลิบปินส์ มาดูงาน
  • คณะที่มาดูงานเขาบอกว่าความรู้ที่กลุ่มเกษตรชุมชนมะขามเรียง แถบลุ่มนำปากพนัง ค้นพบ จะเป็นความรู้ เป็นข้อมูลที่จะนำไปปรับใช้กับแถบลุ่มนำโขงได้ ช่วงของการซักถามและแลกเปลี่ยนความรู้กัน คุณสมวิศว์ จู้พันธ์ หรือน้องติ่ง ประธานกลุ่มฯ ได้อธิบายรายละเอียดในทุกคำถาม เช่น การหมักปุ๋ยระบบกองเติมอากาศ (Aerated Static Pile System) เพื่อให้ได้ปุ๋ยหมักในเวลาหนึ่งเดือน จำเป็นต้องมีการควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมของกองปุ๋ยให้เหมาะสมต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจนอยู่เสมอ จนกว่าการย่อยสลายจะสิ้นสุด (อุณหภูมิในกองปุ๋ยค่อยๆลดลงจนใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอก ซึ่งแสดงว่าการหมักได้เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ ปัจจัยที่สำคัญมีดังนี้....มีความชื้นพอดี....มีจุลินทรีย์มากพอ....มีออกซิเจนภายในกองปุ๋ยเพียงพอ....ขนาดของวัตถุดิบ....ค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนของวัตถุดิบจากเศษพืช (ซังข้าง ซังข้าวโพด ผักตบ ผักกะเฉด ในแม่นำลำคลอง)มูลสัตว์ต่างๆ........น้องติ่งอธิบายยาวไปเลยครับ ผมเข้าใจมั่งไม่เข้าใจมั่ง แต่คนทำก็พูดได้อย่างมีความเข้าใจและมีความสุข การแลกเปลี่ยนความรู้กันเป็นไปได้ดีมาก อาจารย์ปิยะกับผมเป็นล่ามแปลให้
  • ผมทึ่งในความรู้ที่กลุ่มฯได้เรียนรู้และค้นพบว่ามันส่งผลในวงกว้างจริงๆ ความรู้ภูมิปัญญา ความรู้ท้องถิ่น ไม่น่าเชื่อว่ามันกำลังจะเป็นความรู้สากล น้องติ่งมีพื้นฐานความรู้ ปวช.มีทักษะการเขียนดี (เขียนเอกสารให้ผมอ่านหลายชิ้นแล้วครับ แต่ผมก็ไม่ค่อยได้อ่านเท่าไหร่) น้องติ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอินเติอร์เน็ต ผมคิดว่าผมจะนำเอาความรู้งูๆปลาๆ เรื่องการทำ Blog ของผม ไปแนะนำน้องติ่ง แล้วให้น้องติ่งเล่าเรื่องที่กลุ่มของน้องติ่งทำ หรือเรื่องที่กลุ่มของน้องติ่งฝันอยากจะทำ ผ่าน blog
  • ผมคิดว่าน่าจะแนะนำน้องติ่งเกี่ยวการทำ Blog ขั้นพื้นฐานได้ และจะแนะนำให้น้องติ่งเก็บกิจกรรมความเคลื่อนไหวของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเราจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทุกวันที่ 28 ของเดือน เล่าผ่านช่องทางสื่อสารนี้ด้วย
  • ความรู้เล็กๆน้อยๆของชาวบ้านจะได้มีพื้นที่อยู่ ถูกบันทึกไว้ไม่สูญหายไปครับ
หมายเลขบันทึก: 195926เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 10:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท