สุนทรียภาพทางดนตรี - นาฏศิลป์


การเรียนดนตรีนาฏศิลป์

สุนทรียภาพทางดนตรี - นาฏศิลป์

สุนทรียภาพทางความงามของนาฏศิลป์นั้นประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดี 5 ประการคือ ตัวละครสวยงาม ท่ารำสวยงาม ขับร้องเพราะ ดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการแสดงเพราะ บทกลอนเพราะ และรูปแบบสื่อความหมายโดยเฉพาะท่าทางที่เลียนแบบธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ต้องการสื่อความหมายให้เข้าใจ ที่เรียกว่า"ภาษาท่า" เช่น กวักมือเข้า หมายถึง เรียกให้มาหา โบกมือออก เรียกว่า ให้ออกไป เป็นต้น ท่าทางที่เลียนแบบธรรมชาตินี้อาจ จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
     1. ท่าทางที่ใช้แทนคำพูด เช่น ปฏิเสธ เรียก ไป มา ฯลฯ
     2. ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบถ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ฯลฯ
     3. ท่าที่แสดงอารมณ์ภายใน เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ ฯลฯ
           ในการร่ายรำท่าต่างๆดังที่กล่าวมานี้ ได้นำมาประกอบบทร้อง เพลงและดนตรี  เพื่อต้องการให้เกิดความสวยงามและสง่างามของ ลีลา ท่ารำ โดยอาศัยความงาม ทางศิลปะเข้าช่วย วิธีการใช้ท่าทางประกอบบทร้อง บทพาทย์ และเพลงประกอบดนตรีนี้ทางนาฏศิลป์ เรียกว่า การตีบทหรือการรำบท หรือจะเรียกว่า "ภาษานาฏศิลป์" ก็ได้

วัตถุประสงค์ในการเรียนดนตรี - นาฏศิลป์

ผู้เรียนจะมีจิตใจงดงาม มีสุนทรียภาพ รักความสวยงาม ความเป็นระเบียบ รับรู้อย่างพินิจพิเคราะห์ เห็นคุณค่าความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมอันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของคนในชาติ สามารถค้นพบศักยภาพความสนใจของตนเองอันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพทางศิลปะ มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นพัฒนาตนเองได้และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ มีสมาธิในการทำงาน มีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

แนวทางการประยุกต์ใช้ความรู้ทางดนตรี - นาฏศิลป์

ดนตรี - นาฏศิลป์กับชีวิตประจำวัน
               พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในบทละครพูดสลับลำ เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ศิลปะนั้นไม่ว่าแขนงใด ย่อมมีความสำคัญทั้งนั้น ผู้ที่ขาดการศึกษาจะไม่ทราบว่าศิลปะ สำคัญฯต่อมนุษย์เพียงใด กวีและปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกหลายคน เห็นคุณค่าของศิลปะอย่างยิ่ง และเกิดความบันดาลใจจนต้องแสดงออกมาทางดนตรีและการแสดงท่าทาง              " เช็คสเปียร์" กวีเอกชาวอังกฤษ ได้กล่าวถึงศิลปะการดนตรีและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลเป็นไทยว่าดังนี้

"ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดาลเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดกกบฏอัปลักษณ์
หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
และดวงใจย่อมดำสกปรก ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี่"

ศิลปะกับชีวิต ทำให้นำศิลปะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความสามารถในการปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวินัยในตนเอง เห็นคุณค่าความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถสร้างสรรค์ผลงานตามความถนัด นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสังคม

ดนตรี - นาฏศิลป์ กับการบูรณาการ (กับวิชาอื่น ๆ)

การสอนในปัจจุบันมีวิธีการที่แตกต่างกับสมัยก่อน กล่าวคือ ในสมัยก่อนครูผู้สอนแต่ละวิชามักจะให้เด็กเรียนเนื้อหาวิชาที่ตนสอนตามที่มีในบทเรียนเท่านั้น ครูไม่ค่อยคำนึงถึงวิชาอื่นๆ  ว่าจะมีวิชาอะไรที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่ตนสอนอยู่บ้าง แต่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าครูมีวิธีการสอน แบบสหสัมพันธ์ (Correlation) คือการสอนโดยรวมวิชาที่คล้ายๆกันเข้าด้วยกัน แล้วดำเนินการสอนให้วิชาต่างๆสัมพันธ์กัน วิชานาฏศิลป์มีส่วนเข้าไปมีบทบาทกับวิชาอื่นๆได้มากและมีความสัมพันธ์ที่กลมกลืนและมีคุณค่าอย่างยิ่ง

                เนื่องจากนาฏศิลป์เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในหลายๆด้าน เช่น วิชานาฏศิลป์บูรณาการกับวิชาภาษาไทย โดยการนำบทเพลง บทละครมาโยงใช้เพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง เช่น นำการแสดงละครเรื่องอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทร มาใช้บูรณาการในบทเรียนที่เกี่ยวกับสุนทรภู่ เป็นต้น

                วิชานาฏศิลป์กับวิชาสังคมศึกษา ให้ประโยชน์ในทางอบรมจิตใจเกี่ยวกับจริยศึกษา การแสดงละครช่วยให้เด็กเข้าใจความหมายของขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ที่ปรากฎอยู่ในการแสดงละครไทยหรือต่างชาติ เป็นต้น

                การนำวิชาดนตรี - นาฏศิลป์ มาบูรณาการกับวิชาอื่นๆ ทำให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงละครจากบทบาทสมมติตามที่ครูกำหนด จากเนื้อหาของบทเรียน การแสดงทำให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดการจดจำ และสมมตินั้นมาแก้ไข ทำให้เด็กเกิดการพัฒนาการ เกิดทักษะอย่างกว้างขวาง เด็กจะสามารถร่วมกับครู วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์และหาข้อสรุป ในวิชานั้นๆ ได้ดี การสอนให้นาฏศิลป์มีความสัมพันธ์กับการศึกษาวิชาอื่น ๆ สามารถทำได้ทุกวิชา

คำสำคัญ (Tags): #ดนตรีนาฏศิลป์
หมายเลขบันทึก: 195403เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2008 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สุนทรียภาพของ ดนตรีกับ นาฏศิลป์ เกิดขึ้นได้อย่างไร

สุนทรียภาพของ ดนตรีกับ นาฏศิลป์ เกิดขึ้นได้อย่างไร

jfogkb ;flbk kfkign gsdvv jjgybc mxixhudh kvy

shdsb

bfhs orirrrrrrrrrrrrrrrrrrrrrrrr ge

สุนทรียศาสตร์เหมือนจะห่างหายไปนาน

สุนทรียภาพคืออะไรคับ

และแล้วทำไมต้องสร้างมาด้วยคับ

^^

 

สุนทรียทางดนตรี หมายถึง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท