การเรียนรู้แบบร่วมมือ


การเรียนที่มีการจัดกลุ่มการทำงาน

การเรียนรู้แบบร่วมมือ

               การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning) เป็นวิธีการเรียนที่มีการจัดกลุ่มการทำงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และเพิ่มพูนแรงจูงใจทางการเรียน โดยการจัดสถานการณ์ และบรรยากาศให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่มมีสมาชิกที่มีลักษณะแตกต่างกันในด้านสติปัญญาหรือความถนัด และสมาชิกแต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของคนเอง และของสมาชิกในกลุ่ม  รับผิดชอบความสำเร็จของกลุ่มร่วมกัน ความสำเร็จของกลุ่มพิจารณาจากความสำเร็จในการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ที่จะพัฒนาผู้เรียนด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม ทำให้นักเรียนที่เรียนเก่งได้รักการปลูกฝังให้มีความเสียสละในการดูแลรับผิดชอบสมาชิกในกลุ่ม ไม่เห็นแก่ตัว นักเรียนที่เรียนอ่อนก็จะได้รับการดูแลจากสมาชิกในกลุ่ม จนทำให้เกิดความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้ง ซึ่งเป็นลักษณะที่สอดคล้องกับสภาพที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกันในสังคม

หมายเลขบันทึก: 195391เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2008 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นเรื่องที่ดี หากอาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกัน ศึกษาจุดอ่อนของทุกฝ่าย เพื่อพัฒนา

ให้เกิดผล ต่อตัวอาจารย์และนักศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไปในภายภาคหน้า เมื่อนำไปใช้ ในสถานที่ทำงานหรือเป็นแนวทางสอนบุตรหลานต่อไป หากได้นักจิตวิทยาช่วย

กระตุ้นให้สภาวะจิต ให้มีการพัฒนาตนเอง ลดจุดอ่อน เสริมความเชื่อมั่นอีกทางหนึ่ง ไม่ทราบว่าจะทำได้หรือไม่ และควรทำอย่างไร หานักจิตวิทยาที่ต้องการได้เมื่อไหร่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท