"สิทธิมนุษยชน" V.2


Team = รวมกันเป็นหนึ่ง [จริงดิ!!!]

                        เสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็นในสังคมไทยในปัจจุบัน

 

 

                        เสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็น ฟังเผลินๆ อาจจะเหมือนการใช้สิทธิในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในการออกเสียงขึ้นมา เพื่อปรับปรุง เสนอ และแก้ไข  แต่สมัยนี้มันจะใช่หรือ  มาดูกัน

     ก่อนอื่นมารู้จักกันก่อนว่า เสรีภาพในการพูด  และ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น คืออะไรเสรีภาพในการพูด และ "เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น"  เป็นองค์ประกอบที่เป็นรากฐานของสังคมประชาธิปไตย

กล่าวคือ เป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ที่ประชาชนทุกคนสามารถทำได้  และไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในบ้าน หรือในสิ่งพิมพ์ แต่หมายถึงการแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะด้วย  ใครมีความคิดเห็นอย่างไร จะตรงหรือไม่ตรงกับคนอื่น ก็สามารถไปยืนตระโกนในที่สาธารณะแสดงความคิดเห็นเพื่อให้คนทั่วไปได้รับฟัง เผื่อจะมีคนเห็นด้วย ได้เสมอ ตราบเท่าที่การแสดงความคิดเห็นนั้นไม่ไปกระทบถึงสิทธิของบุคคลอื่น  สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนนั้น อันที่จริงก็ไม่ใช่เป็นเสรีภาพโดยเด็ดขาดที่ไม่มีข้อจำกัด  ถ้าเมื่อไรการแสดงความคิดเห็นนั้นไปกระทบสิทธิของคนอื่น เช่นไปดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาท คนอื่นเข้า ก็อาจเป็นความผิดได้ แต่เมื่อเป็นความผิดก็ต้องดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรม

 

                  ปัจจุบัน การพูดและแสดงความคิดเห็นนั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบ เนื่องจากมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา

ขอยกตัวอย่างเป็นข้อๆนะครับ

1.  การชุมนุม ปราศรัย หารือ 

มีมาตั้งแต่สมัยโลกยังไม่มีรถยนต์ใช้ครับ  เช่นการคัดเลือกตัวแทนหมู่บ้าน  การพัฒนาชุมชน   และในปัจจุบัน  การถอดถอนรัฐมนตรี  ซึ่งเห็นได้ตามหนังสือพิมพ์

2. การเดินขบวน ประท้วง ก่อม็อบ  ปิดเส้นทางจราจร 

 เป็นการกระทำที่ไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นไปด้วย แต่มันก็เป็นเรื่องปกติไปแล้ว สำหรับสมัยนี้

3.การ Comment ใน กระทู้ บล็อก Hi-5 Dairy  ฟอรั่ม 

อันนี้จะมาในรูปแบบเทคโนโลยี  ซึ่ง สมัยนี้เข้าถึงเด็ก และกลุ่มวันทำงานได้ เร็วมาก  ทำให้เกิดความเสียหายต่างๆ 

เช่นการไป Comment แบบเสียๆหายๆ ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง

4. จากสื่อต่างๆ เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุ

เป็นการ  แสดงความคิดเห็นส่วนบุคคล ของเจ้าของ  คอลัมนิสต์ พิธีกร และนักจัดรายการ  ยกตัวอย่างก็ เช่น

นิตยาสาร Gossip ที่ชอบแสดงความคิดเห็นโดยการสร้างข่าวของดารานักแสดง ซึ่งมีทั้งจริงและเท็จ 

ทางช่อง 3     รายการจับเข่าคุย 

ทาง NBT       สนทนาประสาสมัคร

ทางช่อง 7  คอข่าว

ทางช่อง 9       วู๊ดดี้ เกิดมาคุย   [สมัยก่อนจะมีรายการ ถึงลูกถึงคน ด้วย]

 

 

กรณีศึกษา

เรื่องการพูดและแสดงความคิดเห็นนี้ คงไม่ต้องไปหยิบการเมืองมาเสนอ เพราะเห็นกันจนเบื่อแล้ว เอาสิ่งที่ใหม่ๆและทันเหตุการณ์โดยที่ อาจารย์+นักศึกษารู้กันดี  ก็คือ

การที่นักศึกษามา Comment เกี่ยวกับการจัดกลุ่มในการสอน+ทำรายงานและกิจกรรมของอาจารย์

 

ที่มา

1.จากการพูดกันต่อๆกันหลังเลิกเรียน  และระหว่างทำกิจกรรม

2. http://gotoknow.org/blog/itsdu/194621

 

ขอขอบคุณ

อาจารย์ มีชัย ฤชุพันธุ์  สำหรับคำนิยามที่กินใจ

อาจารย์   อ. ศัชชญาส์ ดวงจันทร์  ทำให้มีกรณีศึกษาใกล้ตัว  และแสดงให้เห็นถึง การมีเสรีภาพในการแสดงความคิด   และการรับฟังความคิดเห็น

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 195352เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2008 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

กฎหมายเกี่ยวกับ

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน

ร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ฉบับรับฟังความคิดเห็น » หมวด3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยส่วนที่7

มาตรา ๔๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน

การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำมิได้

การห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง

การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง

เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย

การให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นเพื่ออุดหนุนกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทำมิได้

มาตรา ๔๖ พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่ง

การกระทำใด ๆ ไม่ว่าในทางตรงหรือทางอ้อมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าของกิจการ อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะของบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบและไม่มีผลใช้บังคับ เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหรือจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ

มาตรา ๔๗ คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่นรวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ

การกำกับการประกอบกิจการตามวรรคสองต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันการควบรวมหรือการครอบงำระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย

ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน หรือจะดำเนินการโดยวิธีการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ในทำนองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าวมิได้

http://www.thprc.org/node/17

ดีใจด้วยที่ วันนี้มีคนกลุ่มหนึ่งมีความสุขใจในการบุกบ้านประธานองคมนตรี ครบรอบหนึ่งปี ที่นัดแสดงออกบริเวณหน้า ปปช

เพราะมันแสดงถึงภาวะของคนกลุ่มนั้นที่เรียกร้องประชาธิปไตย โดยไม่สนใจความรู้สึกของผู้ใหญ่ และความดีงามของท่านที่ได้ทำงานให้ประเทศชาติ

เราเป็นคนไทย ควรมีสำนึกเรื่องการเคารพผู้ใหญ่ เห็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก ไม่ใช่เห็นประโยชน์ต่อพวกพ้องตนเอง แล้วทำให้ประเทศชาติเสียหาย !

เขียนได้ดีแล้ว ใส่อ้างอิงที่มาด้วยค่ะ

 

 

http://nunoygirl-itsdu.blogspot.com/

เห็นด้วยกับเสรีภาพในการพูดคะ

สั้นๆ = =""

อ้างอิงที่มานะครับ

ส่วนแรก

http://www.meechaithailand.com/ver1/?module=4&cateid=01&action=view&id=018290

ส่วนที่2

มาจากประสบการณ์เองทั้งหมดครับ

ส่วนที่3

1.จากการพูดกันต่อๆกันหลังเลิกเรียน และระหว่างทำกิจกรรม

2. http://gotoknow.org/blog/itsdu/194621

ส่วนที่4

กฏหมาย เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวล

http://www.thprc.org/node/17

ตามนี้ครับ ผิดพลาดประการใดบอกกล่าวกันด้วยนะครับ

ขอให้งานนี้ประสบความสำเร็จ

สาธุ สาธุ

ขอบคุณ

อ. ศัชชญาส์ ดวงจันทร์

ที่ติชม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท