การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. "ทุนมนุษย์"


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

          การบริหารทรัพยากรบุคคล  หมายถึง  เป็นกระบวนการวางนโยบาย  ระเบียบและกรรมวิธีในการดำเนินงาน  เกี่ยวกับบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์กร  ซึ่งเป็นภารกิจของผู้บังคับบัญชาทุกคน  และมุ่งปฏิบัติในกิจกรรมทั้งปวงที่เกี่ยวกับบุคลากร  เพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสม และบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดเวลา  ซึ่งจะส่งผลสำเร็จต่อเป้าหมายขององค์กร

          การให้ความสำคัญในการบริหารงานบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์นั้น  เริ่มมีการสนใจกันอย่างจริงจังในประเทศไทยไม่เกิน  50 ปีที่ผ่านมา   โดยในช่วงแรก เน้นการบริหารงานบุคคลโดยยึดหลัก  “ Put  the right  man  to  the  right  job    ต่อมานักบริหารงานบุคคลได้เริ่มให้ความสำคัญและยกระดับความสำคัญของ คนทำงาน ขึ้นไปเป็น  ทรัพยากรที่มีค่าและหายาก  โดยเน้นในเรื่องของการพัฒนา เพื่อให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสม ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  และในปัจจุบัน มองว่า คนทำงานคือ ทุนมนุษย์ และมุ่งเน้นที่  การบริหารทุนมนุษย์ที่ดี  มีผลต่อความเจริญและความมั่นคงขององค์กร  องค์กรที่จะประสบความสำเร็จและมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ต้องบริหาร ทุนมนุษย์ ให้ดี และเหนือกว่าคู่แข่ง  แต่ทุนมนุษย์ไม่ใช่จะหาซื้อกันได้ง่าย  ๆ ต้องใช้เวลาในการสร้าง  พัฒนา  และรักษา  ให้ก้าวหน้าเติบใหญ่ไปพร้อมกับองค์กร  ดังนั้น  คน จึงเป็นตัวสร้างความแตกต่างระหว่างองค์กรที่สำเร็จกับองค์กรที่ล้มเหลว การบริหาร ทุนมนุษย์ ที่ดี  จึง หมายถึง  การสร้างคนในองค์กรให้สามารถใช้ขีดความสามารถของตน  ได้อย่างดีที่สุด  ให้มีแรงจูงใจในการทำงานสูงสุดตลอดเวลา         

 

3. แง่คิดที่ได้จากเนื้อหา

            1.   ความหมายของการบริหารทรัพยากรบุคคล คือกระบวนการวางนโยบาย  ระเบียบและกรรมวิธีในการดำเนินงาน  เพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสม และบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดเวลา 

         2. ความสำคัญในกาบริหารงานบุคคลในไทยแบ่งเป็น  3  ช่วงคือ

                   -  ยุคแรก  คือ ยุคของการให้ความสำคัญเกี่ยวกับ การใช้คนให้เหมาะสมกับงานดังคำกล่าวที่ว่า Put  the  right  man  to  the  right  job 

                   -  ยุคที่ 2 คือ ยุคที่ให้ความสำคัญกับคนทำงานโดยยกให้ คน เป็น ทรัพยากรที่มีค่าและหายาก ต้องให้มีการพัฒนาให้ความรู้ ความสามารถที่เหมาะสม ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

                   -  ยุคที่ 3  คือยุคปัจจุบัน  มองว่า  คนทำงานคือ ทุนมนุษย์ การบริหารทุนมนุษย์ที่ดี มีผลต่อความเจริญและความมั่นคงขององค์กร 

ลงชื่อ วัชรพงษ์   โฮมแพน    ผู้บันทึก

หมายเลขบันทึก: 194645เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2008 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีผู้เสนอความคิดเห็นว่า "put the right man on the right job" ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายค่ะ ลองอ่านดูที่ http://www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=772&mode=disp

งั้นเอามาให้อ่านกัน นะ จะได้วิพากษ์กัได้

เมื่อ “Put the right man on the right job” ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

เขียนโดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

[email protected]

ขณะบรรยายหลักสูตร การประยุกต์ใช้ 7QC Tools อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อสัปดาห์ก่อนผมได้ไปบรรยาย หลักสูตร “การประยุกต์ใช้ 7 QC Tools อย่างมีประสิทธิภาพ” ในระหว่างที่บรรยายนั้น ผมก็เกิดปิ๊ง ไอเดีย ว่า

“การเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน” หรือ “Put the right man on the right job” นั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ซึ่งผมคิดว่าถ้าเพิ่ม “การเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงาน” หรือ “Choose the right tools on the right job” น่าจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มการทำงาน มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากสภาพการทำงานที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงในปัจจุบัน ส่งผลทำให้ทุกหน่วยงานต้องคำนึงถึง สามสิ่งคือ “Faster Better Cheaper” หรือ “เร็วกว่า ดีกว่า และถูกกว่า” ดังนั้นจึงไม่ควรเสียเวลากับการใช้เครื่องมือบริหารงานแบบ ลองผิด ลองถูก

ผมขอเสนอแนวคิด 4 ข้อ ในการตัดสินใจเลือกเครื่องมือในการบริหารงานได้อย่าเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงที่สุด ดังนี้ครับ

รูปแสดง สิ่งที่ควรคำนึงในการเลือกใช้เครื่องมือบริหารงาน

จากรูป สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้

รู้จักตนเอง และงานที่ทำ โดยควรทำการวิเคราะห์ความรู้ความสามารถของตนเอง และลักษณะงานที่ตนทำอย่างละเอียด เช่น จุดอ่อน จุดแข็ง ปัญหา อุปสรรค์ และอื่นๆ เพื่อทำให้เห็นภาพรวมที่แท้จริงของงานที่ปฏิบัติในปัจจุบัน และเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จำเริ่มใช้เครื่องมือในการบริหารงาน

รู้ และเข้าใจในเครื่องมือ โดยควรศึกษา เพื่อทำความเข้าใจในเครื่องมือที่จะนำมาใช้งาน เช่น วัตถุประสงค์ ลักษณะการใช้งาน ระยะเวลาการดำเนินงาน การประเมิน หรือติดตามผลงาน รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการนำมาใช้กับการปฏิบัติงานจริง เพื่อประเมินความเหมาะสมก่อนที่จะนำมาใช้งาน

รู้วิธีการประยุกต์ใช้ โดยควรนำเครื่องมือมาประยุกต์ก่อนที่จะนำไปใช้จริง เพื่อทำให้เกิดความสอดคล้อง และเหมาะสมต่อการทำงานมากที่สุด (เครื่องมือไม่สำเร็จรูปเหมือนบะหมี่นะครับ)

ความคุ้มค่า และประโยชน์ที่จะได้รับ โดยพิจารณาเพื่อเปรียบเทียบระหว่าง ผลที่จะได้จากการทุน ลงแรงไป กับสิ่งที่จะได้รับ ว่ามีความคุ้มค่า มากน้อยเพียงใด หรือ (ROI:Return On Investment) เพราะในบางครั้งเครืองมือบริหารงานบางอย่างมีราคาสูงมาก แต่เมื่อนำมาใช้จริง กับได้ผลไม่คุ้มค่าครับ

ตัวอย่างการเลือก 7QC Tools และ New 7QC Tools เพื่อแก้ไขปัญหาของเสียจากกระบวนการผลิต ดังนี้ครับ

“เริ่มต้นด้วยการใช้ แผ่นตรวจสอบคุณภาพ (Check Sheet) เพื่อเก็บข้อมูลปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นแต่ละชั่วโมงระหว่างการผลิต แล้วนำไปแสดงด้วย กราฟ(Graph) โดยใช้ ฮีสโตแกรม (Histogram) ผังการการะจาย (Scatter Diagram) แผนภูมิควบคุม (Control Chart) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากนั้น ใช้ ผังพาเรโต้ (Pareto) หรือ แผนผังเมทริกซ์ (Matrix Diagram) เพื่อเลือกหัวข้อของปัญญาที่จะนำไปแก้ไขตามลำดับความสำคัญ และเร่งด่วน จากนั้นใช้ ผังก้างปลา (Cause and Effect Diagram) ผังต้นไม้ (Tree Diagram) หรือ แผนภูมิขั้นตอนการตัดสินใจ (Process Decision Program Charts) เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ และวิธีการป้องกัน หรือแก้ไขต่อไป”

สรุปได้ว่า ในการเลือกเครื่องมือเพื่อใช้ในการบริหารงานนั้น ควรคำนึง คือหนึ่ง รู้จัก

ตนเองและงานที่ทำ สอง รู้ และเข้าใจเครื่องมือที่จะใช้ สาม รู้จักวิธีการประยุกต์ใช้ และสุดท้าย คือ สี่ คำนึงถึงความคุ้มค่า และประโยชน์ที่จะได้รับ หรือ (ROI:Return On Investment) นอกจากนี้ควรเตรียมความพร้อมก่อนที่จะนำเครื่องมือไปใช้จริง ทำได้อย่างนี้ รับรองได้ว่า หน่วยงานของท่านจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแน่นอนครับ เพราะนอกจากท่านจะ “Put the right man on the right job” แล้วยัง “Choose the right tools on the right job” อีกด้วยครับ

ท่านมานะ โพสต์รูปหน่อยไม่เห็นรูป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท