ไอทีกับการพัฒนาการสอนของครู


ครูควรเรียนรู้ไอทีเพื่อใช้พัฒนาการเรียนการสอน

 

อีเลิร์นนิ่งระบบการศึกษาไร้พรหมแดน
ถึงยุคที่การสื่อสารไร้สายและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต แทรกซึมเข้าไปแทบทุกอนูของชีวิตประจำวัน และแล้วก็ถึงเวลาที่ฝันของคนเบื่อโรงเรียนแต่ยังอยากได้ปริญญาจะเป็นจริง เมื่อมหาวิทยาลัยชื่อดังในเมืองไทย เริ่มเปิดให้มีหลักสูตรเรียนหนังสือที่บ้านผ่านอินเทอร์เน็ตกันแล้ว

  สภาพแวดล้อมทางการศึกษา

                ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก อาจกล่าวได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้คนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ (Chat) การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) การสืบค้นข้อมูลตามเว็บไซต์ต่างๆ สำหรับวงการธุรกิจก็เกิดระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ในวงการศึกษาเกิดระบบมหาวิทยาลัยเสมือน (Virtual University) มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ (e-University) ซึ่งจะมีการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ซึ่งอาจเป็นการสอนแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ได้ การสอนแบบออนไลน์ จะสอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือ อินทราเน็ต ผู้เรียนกับผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ การสอนแบบออฟไลน์ เป็นการสื่อช่วยสอนประเภทวีดีโอ หรือ ซีดีรอม ที่รู้จักกันในชื่อ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer As Instruction : CAI) หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยในการฝึกอบรม (Computer Based Training : CBT)

                สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนการสอนก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Life Long Learning) ผู้ที่สนใจสามารถเลือกที่จะศึกษาได้ตามความต้องการของตนเอง เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ใช้เวลาไหนก็ได้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา หรืออยู่ที่ไหนก็สามารถเรียนรู้ได้

         ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไอที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นที่ยอมรับว่าการเติบโตของเทคโนโลยีนี้ ยังเป็นไปตามกฎของมัวร์ (Moore's Law) กล่าวคือ มีอัตราการพัฒนาเป็นสองเท่าทุก ๆ 12-18 เดือน เช่น ความเร็วของซีพียูทำงานได้จาก 10 MHz เป็น 20 MHz ในปี ค.ศ. 1990 ความเร็วของพีซีใช้ซีพียูทำงานที่ความเร็ว 33 MHz จนในปัจจุบันสามารถทำงานได้ถึง 1000 MHz ความจุของฮาร์ดดิสค์ก็เพิ่มจาก 10 MB และเพิ่มมาเป็น 40 MB ในปี ค.ศ. 1990 จนเพิ่มเป็น GB และหลายสิบ GB ในปัจจุบัน

ไอทีจึงมีผลต่อระบบการศึกษาโดยตรง ไอทีเกี่ยวข้องโดยตรงกับการรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรอบรู้

จัดระบบ ประมวลผล ส่งผ่านและสื่อสารด้วยความเร็วสูง และปริมาณมาก นำเสนอและแสดงผลด้วยระบบสื่อต่าง ๆ ทั้งทางด้านข้อมูล รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และวิดิโอ อีกทั้งยังสามารถสร้างระบบการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ ทำให้การเรียนรู้ในยุคใหม่ประสบผลสำเร็จด้วยดี

หากพิจารณาการเรียนรู้ในยุคใหม่ ที่มีขุมความรู้มากมายมหาศาล การเรียนรู้ในยุคใหม่ใช้ขุมความรู้ที่เรียกว่า world knowledge แหล่งความรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา มีจำนวนมาก และกระจายอยู่ทั่วโลก การเรียนรู้ในยุคใหม่ต้องเรียนรู้ได้มากและรวดเร็ว อีกทั้งต้องสามารถแยกแยะ ค้นหา ข่าวสาร ตลอดจนการแสวงหาสิ่งที่ต้องการได้ตรงตามความต้องการ ไอทีจึงเข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาอย่างมาก บทบาทของมหาวิทยาลัยจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของไอทีเพื่อพัฒนาการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้ การเรียนการสอน ตลอดจนขบวนการเรียนรู้ และการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยได้เน้นการใช้ไอที เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษามากมาย และได้พัฒนาระบบไอทีเพื่อสนองตอบการพัฒนาการศึกษา ซึ่งได้แก่ การพัฒนาเครือข่ายของมหาวิทยาลัย เพื่อการเรียนการสอน โดยเน้นการเชื่อมโยงทุกวิทยาเขตเข้าด้วยกัน และใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งข้อมูลการเรียนรู้ข้อมูลการบริหาร ข้อมูลนิสิต และการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเพื่อการศึกษา เครือข่ายของมหาวิทยาลัยจึงเป็นเส้นทางด่วนข้อมูลที่เน้นใช้ประโยชน์หลากหลายรูปแบบ ทั้งทางด้านการเรียนการสอน งานวิจัย และงานบริการการศึกษา งานบริหารการศึกษา งานจัดการการศึกษา งานติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

 

e-Learning คำคุ้นหูที่เป็นหนึ่งยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีด้านไอที มาหลายปีแล้ว แต่ความคืบหน้า และการส่งเสริม ยังเหมือนไม่ค่อยชัดเจนหรือเป็นรูปธรรมนัก เนื่องจากความหลากหลายของระบบการดำเนินงาน  แต่กระบวนการหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมค่อนข้างมากและเป็นที่รู้จักของแวดวงนักการศึกษาคือ เรื่องของการเรียนแบบออนไลน์

อีเลิร์นนิ่ง หมายถึง ระบบการศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(หรืออินทราเน็ตเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัยเช่น อีเมล์ เว็บบอร์ด หรือ แชต จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน ช่วยให้เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่

ระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันน่าจะมีแนวโน้มในการใช้งานสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ใช้ระบบการเรียนรู้ในรูปแบบอีเลิร์นนิ่ง ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้และแสวงหา มีการบรรจุเนื้อหาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

การเรียนแบบออนไลน์ซึ่งเป็นเซกเตอร์หนึ่งของระบบอีเลิร์นนิ่งนั้น แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ทั้งในรูปแบบของการนำเอาองค์ความรู้ไปนำเสนอไว้บนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าไปอ่านและศึกษา และอีกแบบหนึ่งคือการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ซึ่งรูปแบบหลังนี้ดูจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ 

โดยในหลายประเทศ และมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ได้มีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในระดับปริญญามากขึ้น ซึ่งนั่นสามารถบ่งชี้ได้ว่า หลักสูตรการเรียนแบบออนไลน์นี้ได้รับการยอมรับจากตลาดการศึกษามากขึ้นเรื่อย ๆ

   e-Learning

เป็นการนำไอทีไปใช้ในด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่น การนำมัลติมีเดียมาใช้เป็นสื่อการสอนของครู/อาจารย์ให้นักเรียนเรียนรู้ค้นคว้าด้วยตนเอง ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม การนำไอทีมาใช้เพื่อการเรียนการสอนของ e-Learning ในยุคปัจจุบัน เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นเครื่องเดียวเรียกว่า stand-alone หรือการเรียกผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงสู่อินเตอร์เน็ต เพื่อการค้นคว้าหาข้อมูลแลกเปลี่ยนความรู้บนเครือข่ายซึ่งที่ผ่านมาเราใช้สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อประสม (Multimedia) ใช้ในการนำเสนอลงบนแผ่นซีดี-รอมโดยใช้ Authoring Tool ทั้งภาพและเสียงเพื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ให้กับผู้เรียนซึ่งสื่อเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ประสบก็คือเนื้อหาที่มีอยู่ไม่ตรงตามหลักสูตรการศึกษานอกจากนี้ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถพัฒนาสื่อได้อย่างมีคุณภาพ

ในระยะแรกๆเราได้มีการใช้สื่อในหลายประเภทเพื่อการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลทางด้านการศึกษาที่เรียกว่า การเรียนทางไกล แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

o        การเรียนการสอนทางไปรษณีย์ถือว่าเป็นยุคแรกเริ่มของการเรียนการสอน

ทางไกล มีการับ-ส่งบทเรียนผ่านทางไปรษณีย์ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลามากในการติดต่อกันแต่ละครั้ง จึงเป็นอุปสรรคอย่างมากในการเรียนรู้เพราะเอกสารอาจสูญหายระหว่างทางได้

o        การเรียนการสอนผ่านทางวิทยุกระจายเสียง เรามีวิทยุกระจายเสียงเพื่อ

การศึกษาเป็นเครื่องมือที่เชื่อมต่อไปยังภูมิภาคทั้งที่เป็นของกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาหลายแห่ง

o        การเรียนการสอนผ่านทางโทรทัศน์และเครือข่ายดาวเทียมของกรมการ

ศึกษานอกโรงเรียน กรมสามัญศึกษาที่ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นวิธีการของการเรียนการสอนที่เราเคยใช้กันมา จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการใช้อยู่ แต่ด้วยปัจจุบันไอทีเข้ามามีบทบาทอย่างมาก เราสามารถติดต่อกับคนทั้งโลก สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นขุมความรู้อันมหาศาล ด้วยวิทยาการเพื่อใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ อันเป็นแหล่งทรัพยากรที่เปี่ยมด้วยคุณค่ามากมาย ดังนั้นการปรับรูปแบบการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning จึงเกิดขึ้น อีกทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติยังสนับสนุนการเรียนการสอนแบบนี้อีกด้วย

e-Learning    เป็นการเรียนการสอนผ่านทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตการศึกษาที่นิยมกันมากในขณะนี้คือ Web Base Learning การเรียนแบบนี้ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ไม่มีข้อจำกัด

รูปแบบการเรียนการสอน

1.       การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์

เทคโนโลยีหลายๆอย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่างๆเพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล

2.       แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University*

เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board)

3.       การเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web

Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้

4.       โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network:

ALN) เป็นการเรียนการสอนที่ต้องมีการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ

* Virtual หมายถึง เสมือน Virtual University คล้ายๆการเรียนการสอนแบบ e-Learning เหมือนกับการจำลองสถานที่เรียน โดยผ่านทางเครือข่าย ไม่เหมือนห้องเรียนแบบเก่าที่มีครู/อาจารย์มาสอนหน้าชั้นเรียน จึงดูเหมือนของปลอม ต่อมาจึงได้มีการบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยขึ้นมาใหม่เพื่อใช้แทนคำว่า "เสมือน" คำนั้นก็คือ โทรสนเทศ หรือมหาวิทยาลัยโทรสนเทศ

 

 

 

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคืออะไร

 

 

         การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วย (Computer Assisted Instruction : CAI) หมายถึง บทเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ถูกจัดกระทำไว้อย่างเป็นระบบและมีแบบแผน โดยใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอและจัดการเพื่อให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับบทเรียนนั้นๆ ตามความสามารถ

 

 

 

                                                  บรรณานุกรม

http://eportfolio.hu.ac.th/lang/index.php?option=com_content&task=view&id=26&Itemid=1

http://www.oknation.net/blog/egoyy/2007/11/22/entry-2

http://eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1093792650-Inovations.doc.

ดร.ปรัชญนันท์  นิลสุขและรัตนาภรณ์   กาศโอสถ.  Online.  http://www.prachyanun.com/artical/e_library.htm.

http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355542/cai.files/frame.htm.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 194428เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2008 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะคุณมัยสุรี

  • ครูเก่าสนใจเรื่อง  e-Learning   ค่อนข้างมากเพราะเหตุผลที่ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในปัจจุบันเด็กๆเขาเริ่มเบื่อบรรยากาศการเรียนรู้แบบเดิมๆที่จัดอยู่ทั้งๆที่พยายามใช้วิธีการเรียนรู้ที่ค่อนข้างหลากหลายจึงอยากลองสร้างชุดกิจกรรมโดยใช้วิธีการนำมัลติมีเดียมาใช้ดูบ้างเผื่อว่าบรรยากาศการเรียนรู้จะดีขึ้น 
  • ขอขอบคุณที่ให้ความรู้ไว้อย่างละเอียดดีมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท