ตอบข้อข้องใจเรื่องทักษะการสอน


การมีทักษะการสอนนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

ขอไขข้อข้องใจ คำถามที่มากมายต้องการเห็นตัวอย่างทักษะการสอน

ขอยกตัวอย่างจากครูที่มีคุณภาพ ดังนี้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  

1. รู้และเข้าใจประวัติความเป็นมา ความสำคัญ และการปฏิบัติตนในวันลอยกระทง

2. มีความกตัญญูกตเวที มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม

3. นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน

ทักษะนำความเข้าสู่บทเรียน สามารถ

1. แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม โดยให้นักเรียนจับฉลาก

2. เมื่อนักเรียนหาพวกในกลุ่มครบแล้ว ทุกคนร้องเพลง วันลอยกระทง พร้อมทั้งรำวง  เดินเข้านั่งประจำโต๊ะที่ครูจัดไว้ให้

3. แต่ละกลุ่มนั่งประจำโต๊ะ เลือกหัวหน้ากลุ่ม สำรวจอุปกรณ์บนโต๊ะจะมีใบงาน  ใบความรู้และแบบฝึก ใส่ซองวางอยู่บนโต๊ะ

ทักษะการจัดการเรียนรู้

4. ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ในใบงาน ศึกษาค้นคว้าจากใบความรู้ แล้วร่วมกันอภิปรายตอบคำถามลงในแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ (ภาคผนวก) ดังนี้

กลุ่ม 1     ประวัติและความเป็นมาของวันลอยกระทง

กลุ่ม 2     คุณค่าและความสำคัญของวันลอยกระทง

กลุ่ม 3     ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีวันลอยกระทง

กลุ่ม 4     การเบี่ยงเบนประเพณีลอยกระทง

กลุ่ม 5     คำบูชา และการปฏิบัติตนในวันลอยกระทง

กลุ่ม 6     กิจกรรมเสนอแนะการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในวันลอยกระทง

ทักษะการสรุปบทเรียน

6. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารายงานผลการอภิปราย สรุปในหัวข้อที่กำหนดให้

7. ให้การบ้านนักเรียนแต่ละกลุ่ม แบ่งงานกันรับผิดชอบไปสืบค้นประวัติความเป็นมาจากแหล่งเรียนรู้ที่ต่างๆ ทั้งจากบุคคล ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต ฯลฯ

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                จับใจความ เล่าความเป็นมาเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง   เขียนสร้างสรรค์ประเภท เรียงความการประยุกต์ ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยเลือกใช้คำ  เขียนสะกดคำและใช้กระบวนการเขียนเพื่อตรวจสอบและปรับปรุงงานเขียนได้

ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน สามารถ

1.  นำบทร้อยกรอง    ชีวิตพอเพียง     ให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน

2.  ให้นักเรียนช่วยกันสรุปการความสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

ทักษะการจัดการเรียนรู้

       3. แบ่งกลุ่ม ๆ ละ  4  คน แจกนิทานเรื่อง    พระราชาที่ 1 ในโลก      แล้วช่วยกันสรุปสาระสำคัญลง    ใบงานที่ 1

                4.  ตัวแทนกลุ่มเสนอผลงาน  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป

                5.  แจกใบความรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง     เพื่อทบทวนความเข้าใจ

                6.  ให้นักเรียนทำใบงานที่ 2    การใช้ชีวิตพอเพียงภายในครอบคัว 

                7.   สุ่มนักเรียนออกมาเล่าการใช้ชีวิตพอเพียงในครอบครัว   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความสำคัญ

                     ของการใช้ชีวิตพอเพียง

8.       ครูอธิบายหลักการเขียนเรียงความ พร้อมให้นักเรียนดูตัวอย่าง

ทักษะการสรุปบทเรียน

                9.  ให้นักเรียนเขียนเรียงความ ความพอเพียงในครอบครัวของข้าพเจ้า โดยใช้ข้อมูลจากใบงานที่2

10.    คัดเลือกผลงานการเขียนเรียงความนำเสนอให้เพื่อนช่วยกันแสดงความคิดเห็น

11.    ครูชี้แจงข้อบกพร่อง  ให้นักเรียนปรับปรุงผลงาน       และจัดบอร์ดแสดงผลงานหน้าห้องเรียน

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   

1.         สำรวจ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์และนำเสนอเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น  ในประเทศ  และของโลก

2          สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์และนำเสนอการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหา สาเหตุของปัญหาและการป้องกันแก้ไข อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น และของประเทศ

3          ตระหนักถึงความสำคัญ หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงนำไปใช้ในการวางแผน และแก้ปัญหาการพัฒนา  ฟื้นฟู  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน  สามารถ

1         แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้  ที่คาดหวัง  และแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม จำนวน 6 กลุ่ม

2      นักเรียนอ่านข่าวกรณีน้ำท่วม ในประเทศไทย จากใบความรู้ที่ 1 ข่าวภัยธรรมชาติที่เกิดทั่วโลก จากใบความรู้ที่ 2 แล้วสนทนาซักถาม นักเรียนเกี่ยวกับข่าวดังกล่าว โดยตั้งประเด็นคำถาม โดยให้ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มตอบคำถาม

2.1      สาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมในประเทศไทย( แนวคำตอบ  การตัดไม้ทำลายป่า สิ่งปลูกสร้างขวางทางเดินของน้ำ การทำไร่เลื่อนลอย สภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนไป คือ เอลนิโย ลานิย่า ฯลฯ

 

 

2.2      สาเหตุของการเกิดภัยธรรมชาติทั่วโลก เช่น ไฟไหม้ป่าที่ประเทศอินโดนิเซีย บางพื้นที่  บางแห่งของโลกแห้งแล้งเพิ่มขึ้น บางพื้นที่น้ำท่วมและเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก (แนวคำตอบ  การใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดแก๊สเรือนกระจก การตัดไม้ทำลายป่า การใช้สาร CFC เพิ่มขึ้น และปล่อยสู่ธรรมชาติ )

3         ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ ผลกระทบที่เกิดจากภัยธรรมชาติแล้วร่วมกันอภิปราย

ทักษะการจัดการเรียนรู้

              1.  นักเรียนศึกษาวิดีทัศน์ เรื่อง การปิโตรเลียม  และป่าไม้เมืองไทย

              2.   สนทนาซักถามนักเรียน เกี่ยวกับ

       2.1 แหล่งที่มาของปิโตรเลียมในประเทศไทย  /  ปริมาณที่ผลิตได้  /  ความพอเพียง

       2.2  สภาพป่าไม้ของประเทศไทยในปัจจุบัน

                     3.  นักเรียนและครูร่วมกันอภิปราย เรื่อง การปิโตรเลียม และป่าไม้เมืองไทย

               4.  นักเรียนแต่ละกลุ่มไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย และทรัพยากรธรรมชาติของโลกที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น น้ำ ดิน ป่าไม้ อากาศ พลังงาน โดยใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งที่เป็นเอกสาร ภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเครือข่ายข้อมูล

                  5.  นักเรียนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของทรัพยากร ปริมาณการใช้และคุณภาพของทรัพยากรในท้องถิ่น ในประเทศไทย และในโลก ตลอดจนผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรประเภทนั้น

                6. เรียนนำเสนอผลการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายตามประเด็นที่กำหนด

ให้สอดคล้องกับหลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง  และรวบรวมผลงานทุกกลุ่มไว้จัดป้ายนิเทศเพื่อเผยแพร่

ทักษะการใช้คำถาม สามารถตั้ง

ประเด็นคำถาม  ให้นักเรียนนำเสนอผลการสืบค้นข้อมูล

6.1  กิจกรรมการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชากรมนุษย์ต้องพึ่งพา

ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไรบ้าง

6.2  ทรัพยากรธรรมชาติที่แปรรูปมาเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ พลังงาน อาหาร ของประชากรมนุษย์ต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง ใช้เทคโนโลยีอย่างไร

6.3  ทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้   ใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดหรือไม่  หรือมีการสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิต และมีของเสียเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตหรือไม่และมีการนำของเสียไปใช้มากน้อยเพียงใด

6.4  ปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยจำเป็นในการดำรงชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

               7.  นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อหาคำตอบ

                       8.  ครูชมเชยนักเรียนที่ใช้หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงในการวิเคราะห์ เพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องตรงกับคำถาม

                9.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม ร่วมใจพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และพอเพียง

ตามหลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง โดยปฏิบัติดังนี้

9.1  รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา หรือ เรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่สนใจ โดยศึกษาจากเอกสาร หรือออกไปรวบรวมข้อมูลในพื้นที่

9.2  ระดมความคิดในกลุ่มเกี่ยวกับแนวคิดในการรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชน ให้

เหมาะสมที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

9.3  ระดมความคิดภายในกลุ่ม เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา หรือส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่ประชากรในชุมชนจะมีส่วนร่วมปฏิบัติได้

9.4  ลงมือปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ โดยจัดทำเป็นโครงการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

9.5  จัดนิทรรศการแสดงผลงานการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่แสดงถึงการใช้หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินงานครูและเพื่อนนักเรียนกลุ่มอื่นๆ ร่วมประเมินผลงานของนักเรียน  และแจ้งผลการประเมิน รวมทั้งข้อเสนอแนะ เพื่อให้นักเรียนนำไปปรับปรุง ในการทำงานครั้งต่อไป

9.6  นักเรียนและครูร่วมกันเสนอแนวคิดในการขยายผลสร้างความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับคนในชุมชน รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

10     นักเรียนทำใบงานที่  1  เรื่อง  คนกับทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม

11     นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยใบงานที่ 1

12     ครูแจ้งผลการประเมินใบงานที่  1

ทักษะการสรุปบทเรียน สามารถแสดงบทบาท

                   1ให้นักเรียนจับฉลากบทบาทสมมติ แล้วรวมกลุ่มคนที่อยู่ในบทบาทเดียวกัน  เช่น  นักเรียนครู  , ผู้อำนวยการโรงเรียน  ,  นักการภารโรง , แม่ค้าขายอาหารในโรงเรียน , ตำรวจ , ทหาร , โฆษก  ,นักมวย  ,  ดารา  นักร้อง  ,  หมอลำ  ,  ชาวนาชาวไร่  ,  เจ้าของโรงแรม  ,  เจ้าของบาร์  ,  เจ้าของตลาดสด  ,  หลวงพ่อ  ,  วิศวกร  ,  สถาปนิก  ,  ผู้ว่าราชการจังหวัด  ,  นายอำเภอ  ,  นายแพทย์  ,  พนักงานขับรถ ,นายกเทศมนตรี  , เจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์  , เจ้าของร้านซ่อมรถยนต์ จักรยานยนต์  ,  กำนัน  ,  ผู้ใหญ่บ้าน  ,  อบต.  ฯลฯ

                   2. นักเรียนนำเสนอบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในชุมชน  เพื่อการสงวน  อนุรักษ์ฟื้นฟู  พัฒนาบริหารจัดการรวมทั้งการสร้างกลไก  ในการปกป้องคุ้มครอง  ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อไปอย่างยั่งยืน

                   3. นักเรียนร่วมกันเสนอการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อปลูกฝังหลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงในตนเอง ต่อครอบครัว และชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น

                ต่อตนเอง

-          ใช้กระดาษให้คุ้มค่าโดยใช้กระดาษ 2 หน้า

-          ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนกระดาษเช็ดหน้า

 

-          ใช้ถุงผ้าแทนถุงกระดาษและถุงพลาสติกในการซื้อของ

-          ล้างหน้าแปรงฟันไม่เปิดน้ำทิ้งไว้

ต่อครอบครัว

-          น้ำล้างผ้า ล้างจานน้ำสุดท้ายนำไปรดต้นไม้

-          การอาบน้ำใช้ขันตักอาบแทนการใช้ฝักบัว

-          ไปจ่ายตลาดใช้ตะกร้าแทนถุงพลาสติก

-          เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดแบบประหยัดไฟฟ้า

-          เปิดเครื่องปรับอากาศตั้งอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 25 องศา

-          คัดแยกขยะก่อนทิ้ง  ขยะบางประเภทสามารถขายได้

-          ปิดทีวีที่สวิตซ์ ถอดปลั๊กออกแทนการใช้รีโมท

ต่อชุมชน ( เช่น โรงเรียน  ชุมชน )

-          เห็นท่อประปาแตก แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ

-          ไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ และแหล่งน้ำในชุมชน

-          ไม่เปิดไฟฟ้าและพัดลมทิ้งไว้ในห้องเรียนที่ไม่มีผู้ใช้

-          ปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์หลังเลิกใช้งาน

-          ไม่เปิดน้ำในห้องสุขาทิ้งไว้

-          ร่วมทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
                      &nbs

หมายเลขบันทึก: 194185เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2008 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีคะ...ท่านอาจารย์ ที่น่ารัก..:)

กิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย น่าสนใจ ...ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ ให้กับเพื่อนๆครู นะคะ...และขอเป็นกำลังใจให้กับท่านอาจารย์ คะ

ขอบคุณคะ

"เอื้องแสงดือน "

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท