สุมาลี
นาง สุมาลี อึ่ง ซื่อประเสริฐ

เรื่องเล่า


ข้อสนเทศทางสังคม

แบบบันทึกเรื่องเล่า

หัวปลา  (Knowledge  Vision)  การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน (สาระ/งาน โครงการ)

สาระ................พัฒนาผู้เรียน..........................งาน/โครงการ....................การศึกษารายกรณี..........................

เรื่อง     การใช้กิจกรรมการประมวลผลข้อสนเทศทางสังคมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน ม.3

คุณกิจ  (ผู้เล่าเรื่อง)  นางสุมาลี  ซื่อประเสริฐ                โรงเรียน  โคกกะเทียมวิทยาลัย       สพท.ลบ 1

 

 

รายละเอียดเรื่องเล่า

การใช้กิจกรรมการประมวลผลข้อสนเทศทางสังคมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน ม.3

           จากสภาพปัญหาในปัจจุบันที่พบมาก  คือ  นักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว  ชอบทะเลาะวิวาท  ยกพวกตีกัน  ฯลฯ  ซึ่งเป็นปัญหาให้งานปกครองและงานแนะแนวตองคอยแก้ไขกันตลอด  ดิฉันจึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรนักเรียนเหล่านี้  จึงจะสามารถปรับพฤติกรรมของตนเองให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  จึงริเริ่มวิธีการใช้กิจกรรมการประมวลผลข้อสนเทศทางสังคม  มาใช้ในการลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนรู้จักคิด  วิเคราะห์  และรู้จักตัดสินใจในทางบวกเองได้ว่าพฤติกรรมที่ตนเองได้กระทำมานั้นถูกต้องเหมาะสมหรือควรปรับปรุงตัวเองอย่างไร 

           ในการศึกษารายกรณีโดยใช้กิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวนักเรียนในครั้งนี้นั้น  ได้สุ่มตัวอย่างจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัย  จังหวัดลพบุรี  จำนวน  9  ห้องเรียน  โดยการจับฉลากให้เหลือ  1  ห้องเรียน  คือ  ชั้น  ม.3/5  นำนักเรียนมำแบบทดสอบการใช้แบบประเมินตนเอง   ของกรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข  (S.D.Q)  เพื่อทำการคัดกรองนักเรียนที่มีความเสี่ยง/ปัญหาทางพฤติกรรม  ซึ่งคัดกรองได้นักเรียนในกลุ่มนี้  จำนวน  8  คน  จากนั้นเริ่มทำการศึกษาข้อมูลรายละเอียดส่วนตัวของนักเรียน  โดยการสัมภาษณ์ตัวนักเรียน  ครูผู้สอน  เพื่อนสนิท  ผู้ปกครอง  ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหาทางบ้าน  ความเป็นอยู่ที่แท้จริงของนักเรียน  ให้ความสนิทสนม  เป็นกันเอง  ให้นักเรียนไว้วางใจกล้าที่จะเปิดเผยตัวจนที่แท้จริงของตนเอง  และเพื่อเวลาจัดกิจกรรมนักเรียนจะกล้าแสดงความคิดเห็นและให้ความร่วมมือมากยิ่งขึ้น  จากนั้นให้นักเรียนทั้ง  8  คน  ทำแบบวัดการปฏิบัติตัวต่อผู้อื่น  ของ  สมบัติ  ตาปัญญา  ภาควิชาจิตเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ก่อนร่วมกิจกรรม  แล้วจึงจัดนักเรียนทั้ง  8  คน  เข้ากลุ่มทำกิจกรรมที่มีทั้งหมด  10  กิจกรรม  ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมประมาณ  2-3  เดือน  สัปดาห์ละ  2  วัน  ครั้งละ  1  ชั่วโมง  โดยในการจัดกิจกรรมนั้นครูผู้ดำเนินการต้องพยายามใช้คำถามหรือเหตุการณ์จำลองกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นออกมาให้มากที่สุด  ถ้านักเรียนเริ่มออกนอกกรอบหรือมีแนวคิดว่าพฤติกรรมก้าวร้าวที่ตนเองทำนั้นถูกต้อง  ครูผู้ดำเนินการต้องพยายามเสนอแนวคิด  หรือใช้วิธีตั้งคำถาม  เพื่อให้นักเรียนเริ่มมองเห็นความเป็นจริงว่าสิ่งใดถูก  สิ่งใดผิด  จนทำกิจกรรมครบทั้ง  10  กิจกรรมแล้ว  ให้นักเรียนทำแบบวัดการปฏิบัติตัวต่อผู้อื่นอีกครั้ง  พบว่านักเรียน  จำนวน  8  คน  ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมาก  สามารถปรับพฤติกรรมก้าวร้าวให้ลดน้อยลงถึง  7  คน  ยังคงมีพฤติกรรมคงที่  1  คน 

หมายเลขบันทึก: 194049เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2008 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีมากครับคุณครู ผมยินดีที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะคุณครูสุมาลี

หนิงขอมาเรียนรู้ด้วยนะคะ  เรื่องน่าสนใจค่ะ

เขียนอีกนะคะ  รอติดตามอยู่ค่ะ

เยี่ยมครับคุณครู?? แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน..มีสิ่งดีๆแบ่งปันกันเพื่อพัฒนาวิชาชีพครับ..จะแนะนำคุณครูเข้ามาแลกเปลี่ยนรู้ด้วยน่ะครับ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท