วิจัยตนเองในชั้นเรียน


 

การวิจัยในชั้นเรียนนั้น เป็นการวิจัยประเภทหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
การวิจัยในชั้นเรียน นอกจากผู้สอนจะเป็นผู้ที่ทดลอง วิเคราะห์ วิจัยอย่างเป็นระบบและมีระเบียบแล้ว ผู้เรียนยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ วิจัย และ “อ่าน” ตนเองออกมา

ชีวิตนี้เราอ่านหนังสือกันมาก แต่ “อ่านตนเอง” น้อย

ในชั้นเรียนแห่งชีวิต ทุกย่างก้าวเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีประโยชน์อย่างมหาศาล
ถ้าหากเราตระหนักในคุณค่าของสองเท้าที่ก้าวผ่าน ประสบการณ์ทั้งหลายนั้นจะอุดมไปด้วย “ความรู้” ที่สอนทั้งดีและชั่ว

โครงการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน ต.ท่าสัก อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์
จัดทำโดย นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์


ก้าวไหนดีจดจำไว้และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น นี้อย่างหนึ่ง
ก้าวไหนไม่ดี จำไว้อย่าไปทำ นี้อย่างหนึ่ง
พร้อมกันนั้นป้องกันไม่ให้ก้าวไม่ดีที่เคยทำ ควบคุมสติให้มั่นไม่ให้เกิดขึ้นอีก นี้อย่างหนึ่ง
หยุดก้าวไม่ดี แล้วพยายามสร้างก้าวที่ดี ๆ ให้มีขึ้นทุก ๆ วัน ทุก ๆ เวลา นี้อย่างหนึ่ง

โครงการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนบ้านผาตูบ อ.เมือง จ.น่าน

โดยนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์วิทยาเขตน่าน  (ทุ่งศรีทอง)

 

“การวิจัยตนในชั้นเรียนนั้น เป็นการจัดการความรู้ที่คู่กับชีวิต” เป็นการจัดการความรู้ของชีวิต (Knowledge Management of life)

ธรรมดาของจิตที่จะเก็บทุกอย่างที่คิด พูด ทำ ไว้เสมอและตลอดไป

ทุกวันคือการเรียนรู้ ทุกวันเราต้องเดินควบคู่กับการวิจัย

การศึกษาตนเอง อ่านตนเองนั้นก็คือ “การภาวนา” ในภาษาธรรมะ

การภาวนาก็คือ “การพัฒนา” พัฒนาตนเองจากตนเองด้วยประสบการณ์ของตนเอง

การศึกษาตนเองในภาษาครู เขาก็เรียกว่า “การวิจัยในชั้นเรียน”

การศึกษาตนเอง วิเคราะห์ตนเอง ในภาษาคนทำงานเขาก็เรียกว่า “การวิจัยในงานประจำ (Research to Routine)”

 

การวิจัยในชั้นเรียน รายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางธุรกิจ

นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

แต่ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไรสิ่งทั้งหมดทั้งหลายนั้นก็คือการศึกษาและพัฒนาตนเองเป็นพื้นฐาน
ฐานของสังคมประกอบด้วยคน คนที่พัฒนาแล้ว สังคมย่อมพัฒนา
ฐานของโรงเรียนประกอบด้วย “ครู” และ “นักเรียน”  ต้องครูและนักเรียนนะ ครูทำวิจัยในชั้นเรียน นักเรียนก็ต้องทำวิจัยตนเองในชั้นเรียน...


จะให้ครูวิจัยในห้องเรียนอย่างเดียวนั้นมิได้ นักเรียนนั้นต้องวิจัยตนเองเพื่อพัฒนาตนเองด้วย เพราะหัวใจสำคัญของโรงเรียนจะประกอบด้วยทั้งสองส่วน จะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งมิได้ ต้องดีทั้งครูและดีทั้งนักเรียน

เช่นเดียวกับสำนักงาน องค์การ และบริษัท ผู้บริหารจะดีอย่าเดียวไม่ได้ พนักงานทุกคนต้องดี ครอบครัวของพนักงานทุกคนต้องดี

สิ่งเหล่านี้จึงเชื่อมโยงไปถึงการทำวิจัยในครอบครัว (Research to Family) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย “อ่าน” จริตและอุปนิสัยของครอบครัวตนเอง สิ่งเหล่านี้จึงจะรวมกันเป็นพลังสอดประสานทำให้โครงสร้างสังคมนั้นแข็งแกร่งได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน...


หมายเลขบันทึก: 193901เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2008 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท