ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

ถอดบทเรียนเวทีหมอพื้นบ้านพื้นที่ สอ.ผาสุก เวทีแรก ปี 2551


ถอดบทเรียนเวทีหมอพื้นบ้านพื้นที่ สอ.ผาสุก เวทีแรก ปี 2551

ถอดบทเรียนเวทีหมอพื้นบ้านพื้นที่ สอ.ผาสุก  เวทีแรก ปี 2551

      วันนั้นเป็นวันที่ 25 มิถนายน 2551 ซึ่งวันที่ 23 มีประชุมเตรียยมการจัดตั้งกองทุนหมอพื้นบ้าน 5 ตำบล ชมรมหมอพื้นบ้านบ้านดุง พอวันที่ 24 มีประชุมเตรียมการโครงการสำรวจสมุนไพรในป่านายูง และวันที่ 25 มีเวทีหมอพื้นบ้านพื้นที่ สอ.ผาสุก  เวทีแรก ซึ่งรุ่งขึ้นอีกวันคือวันที่ 26 ก็เป็นเวทีหมอพื้นบ้านพื้นที่ สอ.สะอาดนามูล  เวทีแรก  เอาละครับทีนี้ลองมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น

 

       1.เปิดเวที

วันนั้นผมเกรงใจพี่คเนศวรก็เลยขับรถไปเอง พอถึงสถานีอนามัยก็เข้าไปเตรียมเนื้อหาคร่าว ๆ ซึ่งได้วางแผนมาแล้วช่วงเสาร์อาทิตย์ก่อนหน้านี้ คือ ให้พี่คเนศวรในฐานะผู้จัดการโครงการ PROJECT MANAGER PM นำร่องชี้แจงไปก่อน แล้วผมก็ตามไปว่ากันเรื่องของบทบาทของแต่ละทีม ทีมหนุน ทีมนำ ทีมทำ  ซึ่งวันนี้ค่อนข้างกระชับกว่าเวทีของปะโค และพี่นวล เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการในพื้นที่ตำบลก็แข็งขันและแสดงความเข้าใจในการดำเนินการในบทบาทของพี่เลี้ยงในพื้นที่พอสมควร แต่ที่พลาดไปคือไม่ได้ฝากใบงานต่อเนื่องที่ว่า หลังจากเวทีแล้ว 2 3 วันให้ไปถามชุมชนอีกทีหนึ่งถึงความเป็นไปได้ของเรื่องที่คุยกัน  พอแนะนำโครงการเป็นที่เรียบร้อยก็ให้ทำ 2.

พอพูดไปแล้ว จริง ๆ ในใจของชาวบ้านแต่ละคนคิดอะไร มีบางคนยังคลางแคลงอยู่ว่าโครงการนี้จะเป็นจริงได้หรือ แต่ก็มีบางคนเริ่มแสดงความถูกใจและคิดว่าน่าจะมีความเป็นไปได้ ทั้งนี้ตอนช่วงที่ผมได้ส่อคั้ก ๆ กับพ่อประเสริฐ และพี่ศุภชัย มีคำพูดว่า ตอนพัก เห็นมี 2 3 คนนั่งคุยกันว่ามันสิเป็นไปได้บ๊อที่หมอเว่า ตรงนี้ผมรีบดักจับเอาไปขึ้นชาร์ทไว้

2.แนะนำตัว และส่อพื้นหมอ

คือการสัมภาษณ์เบื้องต้นโดยผู้ควบคุมเวที เพื่อให้คนนอกเรียนรู้เข้าใจ (รร ขจ) คนใน ลป รร (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) ตรงนี้เริ่มเห็นทีมนำ หรือผู้นำธรรมชาติ ลองตามไปดูกันนะครับ (อันนี้ในมุมมองของผมนะ ส่วนพื้นที่อาจจะคิดอีกแบบก็ได้) แล้วเรื่องจริงที่เกิด คือวันนั้นมีหมอพื้นบ้านมา 7 คนคือ

พ่อสมร เป็น อสม.และสนใจเรื่องสมุนไพร

พ่อถวัล (สี) แกชื่อเล่นว่าสี แต่มีคำว่า สี เป็นคำขึ้นต้นของนามสกุล พอผมเขียน เขาเลยงงว่าผมรู้จักชื่อเล่นได้อย่างไร คนนี้มียาแก้โรคกระเพาะ , แก้สารพิษ และแก้ปวดฟัน

พ่อประเสริฐ หมอเป่าน้ำมนต์จอดดูก แก้หนามตำ ตะปู ค้อน ตำหัว เป่าเลือดหยุด คนนี้ผมได้ส่อคั้ก ๆ ปรากฎว่าเป็นโสดเพราะไม่ชอบผู้หญิง แต่แกเป็นชายเต็มตัวนะครับ และเป็นคนที่มีความคิดเห็นดีพอสมควร

พ่อดำริ เป็นหมอยารากไม้ อีสุก อีใส ตกต้นไม้ ฟกช้ำดำเขียว

ตาก้อน เป็นคนตาบอดที่กำลังเรียนนวดกับโครงการของพัฒนาสังคม ฯ

พ่อสุบรรณ หมอเป่า ไปไหม้ น้ำร้อนลวก

พี่ศุภชัย หมอเป่า ตาแดง เจ็บหลัง เป่าวัด คนนี้ผมก็ได้ส่อ เป็นคนที่มีความเห็นดี และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการบวชเรียนทำให้วิธีการคิดของพี่เขาค่อนข้างมีระเบียบ และมีระบบ ซึ่งผมเล็งว่าคนนี้แหละน่าจะเป็นคนหนึ่งที่นำเรือเครือข่ายผาสุกไปได้

พ่อคนสุดท้ายมาตอนเวทีภาคบ่าย แต่ตามเวทีเราทัน ไม่ได้มานั่งเฉย ๆ มีการพูดคุยเสนอความเห็นจนผมเองยังงงว่าไม่ได้เข้ากิจกรรมตั้งแต่เช้า แต่ตามทัน ท่านนี้เป็น อสม.และผมก็ได้เล็งเห็นว่าก็น่าจะเป็นอีกคนหนึ่งที่จะนำเรือเครือข่ายได้

3.แบ่งกลุ่มส่อคั๊ก ๆ

ตอนแบ่งกลุ่ม เรามีทีมงานทั้ง PM ทั้งผม ทั้งพี่นวล อีกอย่างหมอเรามาน้อย ก็เลยได้คุยกันทั่วถึง ข้อมูลตรงนี้แหละจะได้นำไปทำเป็นสารานุกรมรวมของดี คนดีของตำบลผาสุก แรก ๆ อาจจะไม่ครบถ้วนทั่วทุกตัวคน ก็ค่อย ๆ เติมเต็มกันไป ภาพที่เห็นคือพี่เลี้ยงแต่ละคนจับกลุ่ม จับคู่กับหมอเริ่มบทแรกของการเรียนรู้และเข้าใจต่อตัวหมอที่ได้สัมผัสนั่นเอง

4.เห็นอะไรจากการส่อ และเริ่มตั้งโจทย์เพื่อไปต่อ

พอส่อเสร็จแล้ว (กินข้าวเที่ยงก่อน) แล้วกลับมานั่งโสเหล่กันต่อ ปรากฏว่ามีคนคิดว่าส่อเสร็จแล้วก็เสร็จ เตรียมตัวกลับบ้านเชียวแหละ ตรงนี้เป็นเรื่องปกติที่เรามักจะทำกัน (ประชุมเลิกเที่ยง) แต่เรากำลังจะสร้างวัฒนธรรมใหม่ ทีนี้พอกลับมาคุยกันกอได้เค้าลางของความเห็นง่าย ๆ เช่นอยากถ่ายทอดความรู้ อยากให้มีหลักเกณฑ์ ไม่อยากให้ถามกันแล้วก็จบ ไม่อยากให้พายเรือในอ่าง ก็เป็นความคิดที่สะท้อนจากชุมชน จากคนที่มาประชุม ก็ปรับความเข้าใจกันจูนกัน และที่สำคัญเราได้เสมือนว่าสร้างพันธะใหม่เกี่ยวกับเรื่องเครือข่ายหมอพื้นบ้าน

ทีนี้เรามาดูว่าเครือข่ายชอบโจทย์ข้อไหน ผมลองตั้งให้ 3 4 ข้อ โดยมีหลักคิดจากสิ่งที่หมอพื้นบ้านประสบเหตุ เช่น ทั้งหมอเอง และคนไข้ถูกหมอใหญ่ (หมอโรงพยาบาล) ต่อว่า หรือการแอบทำ ก็ยังเพราะกลัวการถูกต่อว่า ถึงแม้จะเห็นว่าเรื่องหมอพื้นบ้านนี้ทางการผ่อนปรน ผ่อนคลายมามากแล้ว ผาสุกชอบใจโจทย์ หมอพื้นบ้านได้ช่วยเหลือชุมชนอย่างมีศักดิ์ศรี

ทีนี้แหละครับก็ต้องตั้งคำถามต่อว่า ถ้า หมอพื้นบ้านได้ช่วยเหลือชุมชนอย่างมีศักดิ์ศรี แล้วจะต้องทำอะไรบ้าง

5.โจทย์ที่ว่า ต้องทำอะไรก่อนหลังและจะมีใครเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องได้

จากโจทย์ที่ว่าเป็นเสมือนธงชัย เป็นหัวใจ เป็นเข็มมุ่งของชุมชน ซึ่งเวทีวันนั้นเห็นว่าต้อง รวบรวมทั้งคนและความรู้ในคนให้ได้ก่อนและจะได้นำมาพิมพ์ให้เป็นของคนผาสุก ถ้าดูดี หรือน่าเผยแพร่ ก็จะได้จัดเวทีเสวนาหมอพื้นบ้านสัญจร (ครบ 3 เวที แต่จะได้คำตอบตามที่ PM ต้องการหรือไม่ ไม่แน่ใจ)

การบ้านของเวทีที่ต้องเติมเต็มคือ พี่นวลได้รับเป็นแม่งานในการพิมพ์ข้อมูลหมอพื้นบ้านจากการส่อคั้ก ๆ และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมโดยมีทีมงานที่มาวันนั้นประสานงาน ประสานการช่วยเหลือในหมู่บ้านอีกทอดหนึ่ง และอีกอย่างคือการประเมินความรู้สึกหลังจากนั้นของผู้ที่มาประชุม AAR

ค่านิยมร่วมของเครือข่ายวันนั้นที่นำเสนอไว้คือ

แม้ไม่ได้ค่าจ้าง แต่เราก็ได้ความภาคภูมิใจ ขอบคุณครับที่ให้โอกาสผมได้ร่วมเวทีความสุขครั้งนี้

 

 

หมายเลขบันทึก: 193879เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2008 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท