การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลอุดรธานี ปี 2551


ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลอุดรธานี ปี 2551

ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลอุดรธานี ปี 2551

          พูดถึงบริการแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลอุดรธานี ผมจะขออนุญาตทบทวนภาพในฐานะผู้มีอายุยังน้อย และได้มีโอกาสพบเห็นรอยทางที่งานบริการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาล ในยุคแรก ๆ (ใช้คำว่ายุคเชียวนะครับ) ก็คือประมาณว่าตอนที่ผมมารับงานนี้ใหม่ ๆ ที่อุดรธานี ประมาณปี 2542 ช่วงนั้นแพทย์แผนไทยกำลังบูมสุดขีด ป้าแนท หรือคุณสลิลลดา คูหาทอง ได้ให้ความสนใจและเริ่มการดำเนินการ ผมจำได้ว่าได้มีโอกาสร่วมโต๊ะอาหารที่ร้านอาหารริมน้ำ กับคุณหมอธนพล , อาจารย์เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และป้าแนทนี่แหละครับ จำได้ว่า รพ.อุดรธานี เชิญท่านมาบรรยายเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย  และงานบริการแพทย์แผนไทยก็ได้เริ่มเป็นรูปร่างขึ้น แต่ช่วงนั้นดูเหมือนว่ายังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานอะไรที่ชัดเจน ประมาณว่าใครใคร่ทำก็ทำ ผมเคยถูกถามเหมือนกันว่า แล้วแพทย์แผนไทยคืออะไร ผมว่า คือการประคบ อบ นวด และยาสมุนไพรกระมัง  ช่วงแรก ๆ นั้น ป้าแนทเชิญไปพูดเรื่องสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ก็ต้องศึกษา และจัดทำสื่อการพูดคุยไปด้วย (ดีหน่อยที่พักหลังอาศัยเครื่องมือและความรู้หาได้ง่ายขึ้น)  สถานที่ตั้งแรกเริ่ม ถ้าจำไม่ผิด ก็คือชั้นบนของอาคารเรียนพยาบาลหลังเก่า (ซึ่งก็คือชั้นบนของสถานที่ตั้งปัจจุบันนี่แหละ) และก็มีการขยับขยายสถานที่ไปที่ห้องจ่ายยาของอาคารโอพีดีหลังเดิมของโรงพยาบาล จำได้ว่าตอนนั้นป้าแนทเออร์รี่รีไทร์ไปแล้ว และมีพี่หนวดช่วยดูแล ทีมงานหมอนวดก็ให้บริการมาเรื่อย ๆ  ตัวชี้วัดของกระทรวก็เริ่มมีการพูดถึงงานบริการแพทย์แผนไทย เริ่มมีมาตรฐานที่ชัดเจนมากขึ้น พอประมาณปี 2549 ผมทราบว่า คุณหมอศศินี และพี่อนุชิต (เภสัชกร)  มารับงานแพทย์แผนไทย ในใจผมรู้สึกดีมากเพราะในจังหวัดอุดร น่าจะเป็นที่แรก ๆ ที่หมอลงมาเล่นเต็มตัว ส่วนเภสัชก็มีหลายที่นะครับ แต่ที่มุ่งมั่น จริงจัง ก็จัดว่าอยู่แถวหน้า ๆ เชียวนะครับ ซึ่งตอนนั้นงานบริการก็ยังอยู่ห้องจ่ายยาเหมือนเดิม มีการจัดห้องอบสมุนไพรด้วยแต่ผมไม่แน่ใจว่าได้ใช้หรือไม่ เพราะเมื่อมีการตรวจราชการโดยพี่วิชยา ใจดี ตัวแทนกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย พี่ผู้ให้กำลังแรงใจดีมาก ก็ทั้งหนุน ทั้งดัน  จนท่านผู้อำนวยการขณะนั้นคือ ผอ.เจริญ มีชัย อนุมัติให้ขยับขยายงานบริการการแพทย์แผนไทยมายังอาคารหลังใหม่ และทั้ง คุณหมอศศินี และพี่อนุชิต ก็เป็นผู้ควบคุมแบบแปลน พร้อมทั้งตั้งชื่อห้องแต่ละห้องอย่างเพราะพริ้ง มีนัยทีเดียวเชียว เป็นชื่อเกสรทั้ง 5 เช่นห้องนวดชื่อมะลิ พิกุล บุนนาค สารภี หรือบัวหลวง ถ้าผิดไปก็ช่วยบอกด้วยนะครับ ปีแรกที่ไปประเมินมาตรฐาน ก็ได้เห็นจุดแรกเริ่มของความหรู อลังการ ที่ถึงแม้จะมาช้ากว่าโรงพยาบาลอื่น ๆ ในจังหวัด หรือจังหวัดใกล้เคียง แต่ผมคิดว่าก็ไม่น้อยหน้าที่อื่น ๆ เพราะอะไร ลองตามมาดูในปีนี้ผมพบอะไรบ้าง

          ด้านสถานที่ ที่พักคอย ซึ่งเป็นอาคารหลังเดิมของนักศึกษาพยาบาล ก็ใช้ที่พักบริเวณต้อนรับ ลงทะเบียน มีโซฟา และน่าจะไปพักที่แถวที่นั่งหินขัดหน้าห้องนวด แต่ช่วงนี้อยู่ในระหว่างการสร้างอาคารเรียนแพทย์อาจจะมีฝุ่นมากหน่อย แต่ห้องนวดแต่ละห้องก็ปิดมิดชิด มีการเปิดเพลงคลอเบา ๆ โดยการดูแลของพี่พยาบาลอีกคนหนึ่งที่เข้ามาในช่วง 2 ปีหลังมานี้คือพี่แหม่ม ก็มาช่วยดูเรื่องความสมบูรณ์ของเวชระเบียน ซึ่งที่นี่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ 

          ห้องตรวจโรคของที่นี่อยู่ในอาคาร แต่กำลังจะเริ่มใช้ ซึ่งคุณหมอก็ใช้ห้องตรวจโรคที่ห้องตรวจแพทย์ทั่ว ๆ ไป ทีนี้ห้องนวดที่นี่ มี 2 ห้องที่เป็นห้องนวดทั่วไป มี 7 เตียง และห้องนวดพิเศษมีเก้าอี้นวดอย่างดีเลย ที่นี่ใช้ฉากกั้น แต่ไม่ค่อยได้ใช้ ยกเว้นกรณีที่คนมานวดต้องการ

ห้องอบ ที่นี่มีทั้งห้องอบไอน้ำ และห้องอบซาวน่า หรูเชียวครับ ประตูห้องอบไอน้ำเป็นกระจกหนาทั้งบาน ส่วนห้องอบซาวน่าเป็นประตูไม้สน การระบายไอน้ำ และหม้อต้มไอน้ำเป็นหม้อไฟฟ้าแบบให้ไอน้ำผ่านหม้อที่สามารถใส่สมุนไพรลงไป การควบคุมอุณหภูมิก็จากระบบไฟฟ้า (อยากให้มาดูครับ สวยมาก)

มาถึงห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ซึ่งก็อยู่ในบริเวณห้องน้ำ ตรงนี้มีห้องอบ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องอาบน้ำ ห้องส้วม ก็แยกห้องและที่สำคัญคือที่นี่ใช้ เสื้อผ้าสีเปลือกไม้ เท่าที่ได้สอบถามจากคุณหมอและพี่แหม่มเห็นบอกว่า เป็นสีที่สร้างความพึงพอใจ เพราะไม่เหมือนคนไข้ และดูไม่เลอะเทอะจากการติดสีไพลที่ออกมาจากลูกประคบ

ทีนี้มาดูคนทำงานบ้าง เริ่มที่ผู้ที่จะทำหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล ประเมิน วางแผน พัฒนา โดยคุณหมอศศินี ผมแอบกระซิบถามพี่แหม่มว่าแล้วคุณหมอ Take Action ตรงนี้ขนาดไหน ก็ได้รับคำตอบว่าดีทีเดียว ซึ่งผมก็คิดว่าน่าจะเป็นเพราะวัฒนธรรมองค์กร ชุมชนนักปฏิบัติ นั่นเอง

ที่นี่มีพนักงานนวด 15 คน มีหนึ่งคนผ่านการอบรมนวด 800 ชม. และที่เหลือได้รับการส่งไปอบรมหลักสูตรนวด 372 ชม.กับโรงเรียนอาจารย์สมบูรณ์

การจัดทำความเสี่ยงในการให้บริการ มีทีมคุณภาพของโรงพยาบาลให้ดำเนินการในรุปแบบรวม และได้ทำในส่วนของบริการแพทย์แผนไทยในเชิงประเด็นที่เกี่ยวข้องดูจาก http://gotoknow.org/blog/ttmudkmsys/193207

การกำหนดตัวชี้วัดมาตรฐาน ได้กำหนดในเชิงรายละเอียดของบริการแพทย์แผนไทย  ซึ่งมีเรื่องอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากเรื่องของการวัดเฉพาะความพึงพอใจในภาพรวมของการบริการ ทั้งนี้อาจดูได้จาก http://gotoknow.org/blog/ttmudkmsys/192746

การให้บริการส่งเสริมสุขภาพ การให้สุขศึกษาที่นี่ให้แผ่นพับที่ได้จัดทำเรื่อย ๆ และจัดบริการนวด อบ เพื่อสุขภาพ

การให้บริการป้องกันโรค นวดไปสอนไป ให้แผ่นพับกลับบ้าน แต่ยังไม่ได้บันทึกเท่านั้นเอง หรือดูจาก http://gotoknow.org/blog/ttmudkmsys/192747 และคุณหมอก็ยังเป็นตัวตั้งตัวตีพาทีมงานโรงพยาบาลชุมชนในเขตจังหวัดอุดรธานี ใช้การนวดเท้าช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนให้กับผู้ป่วยเบาหวาน

การรักษาที่นี่ก็ใช้แนวทางเวชปฏิบัติของกรมแล้ว ซึ่งรายการโรคอาจดูจาก http://gotoknow.org/blog/ttmudkmsys/192744

หมายเลขบันทึก: 193624เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2008 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชม ประเมิน วิเคราะห์

ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ค่ะ รู้สึกว่าเป็นการประเมินที่เป็นมิตรมาก ๆ ค่ะ

ความตั้งใจในอนาคตคือ

อยากให้ที่นี่เป็นแนวร่วมของสสจ.อุดรธานี

ในการเป็นแหล่งเรียนรู้

เป็นพี่เลี้ยงของเครือข่าย (ตอนนี้อาจต้องพึ่งพาเครือข่ายไปก่อนนะคะ)

และเป็นอีกทางเลือกหนึงของการดูแลสุขภาพ

อย่างเต็มภาคภูมิ

โชคดีที่หมอมีทีมงานที่มุ่งมั่น

ไม่ว่าจะเป็นเภสัชฯอนุชิตที่สุดแสนจะละเอียด รอบคอบ

คุณจารุวรรณ(พยาบาลหนึ่งเดียว)ที่มากด้วยความสามารถ ความเด็ดขาด

เหล่าหมอนวดแผนไทยทุกคนที่มุ่งมั่นทำงาน

เสียสละมากมาย และพร้อมจะพัฒนาตนเอง(ตอนนี้ยกระดับเป็น 372 ชม.)ทุกคนแล้วค่ะ

นี่ยังไม่ได้พูดถึงอีกหลายแรงกาย แรงใจที่แอบสนับสนุนงานของเรานะคะ

สวัสดีครับ ผมเป็นทีมงานแพทย์แผนไทยจาก รพ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ขอเรียนถามทีมงานแพทย์แผนไทยทางจังหวัดอุดรธานีหน่อยครับผม ว่าที่นั่นมีระบบการจ่ายเงินค่าตอบแทนนอกเวลาราชการกันอย่างไรครับ เพราะเราก็รู้อยู่ว่าหากจะให้บุคลากรแพทย์แผนไทยรับค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมงเหมือนบุคลากรสาธารณสุขด้านอื่นคงไม่เหมาะสมแน่ๆ เพราะลักษณะงานของเรานั้นหนักมากๆ ครับ ต้องใช้พลังนิ้วมือในการนวดเป็นอย่างมาก กว่าจะเสร็จแต่ละเคสก็เหนื่อยล้ากันอย่างมาก ขอรบกวนตอบโดยด่วนด้วยนะครับ และหากมีรายละเอียดมาก คงจะขอเบอร์โทรติดต่ออีกทีครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท