ระบบประกันคุณภาพ


ประโยชน์โดยตรงต่อการที่จะใช้กำหนดนโยบายแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษา

นับตั้งแต่เรามีระบบประกันคุณภาพที่มาควบคู่กับการปฏิรูปการศึกษาและก็เป็นส่วนสำคัญที่อยู่ใน                    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ทั้งเรื่องการประกันคุณภาพภายในที่สถานศึกษาทุกระดับทุกประเภทต้องทำเป็นประจำทุกปีและส่วนที่ สมศ. ซึ่งเป็นองค์การมหาชนต้องทำการประเมินคุณภาพภายนอกไม่น้อยกว่า 1 ครั้งในทุก 5 ปี ซึ่งต้องถือว่าทั้ง 2ส่วนเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพการศึกษาไทยคงไม่ได้คิดถึงเพียงส่วนใด ส่วนหนึ่งตามลำพัง และถ้าทำได้ดี ทั้ง 2ส่วนก็จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการที่จะใช้กำหนดนโยบายแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาของประเทศ  จากการออกแบบการปฏิรูปการศึกษาในรอบหลังสุด เมื่อปี พ.ศ.2540 จนออกมาเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งสำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ.) กำหนดใ้ห้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาโดยยึดสถานศึกษาเป็นหน่วยรับการประเมิน  ผลการศึกษาเกิดที่สถานศึกษาไม่ว่าระดับใด หากเป็นการศึกษาในระบบ เมื่อผลเกิดที่สถานศึกษา ผลจะดีหรือไม่ดี มีคุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ก็ต้องประเมินที่นั่น  นี่คือจุดที่ว่าทำไม่เราจึงกำหนดให้สถานศึกษาเป็นหน่วยรับประเมิน ไม่ใช่เขตพื้นที่ ไม่่ใช่กระทรวงศึกษาธิการ  เพราะฉะนั้นคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจะดีหรือไม่ดีเพียงใดก็อยู่ที่ผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา   เป็นสำคัญ  เราต้องการให้มีระบบประกันคุณภาพเพื่อการพัฒนาเป็น QA for the Development ไม่มีความมุ่งประสงค์ที่จะเอาเรื่องระบบประกันคุณภาพเข้ามาเพื่อให้คุณให้โทษ เราต้องการระบบประกันคุณภาพทั้งภายใน ภายนอก เพื่อต้องการให้มีการประเมินแล้วนำผลไปใช้ เพื่อการพัฒนาเพื่อการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น ...

(จุลสารประชาคมประกันคุณภาพการศึกษา ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 มีนาคม 2551)

หมายเลขบันทึก: 192952เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2008 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้ว ได้ความรู้เยอะนะ ดีใจด้วย ควรขยายให้ก้วางขวางนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท