เก็บมาเล่า ดูงาน TOYOTA (ตอนที่ 1)


โปรดติดตาม ตอนที่ 2 (ตอนจบ) "The TOYOTA Way" คือ อะไร โปรดติดตาม ตอนที่ 2 (ตอนจบ) "The TOYOTA Way" คือ อะไร โปรดติดตาม ตอนที่ 2 (ตอนจบ) "The TOYOTA Way" คือ อะไร โปรดติดตาม ตอนที่ 2 (ตอนจบ) "The TOYOTA Way" คือ อะไร โปรดติดตาม ตอนที่ 2 (ตอนจบ) "The TOYOTA Way" คือ อะไร

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2549 เวลา เวลา 10.00 น. ได้ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ณ ลานจอดรถ อาคารบรมราชกุมารี โดยมีคณะศึกษาดูงานที่ไปร่วมกันจำนวน 9 ชีวิต รวมกับพนักงานขับรถเป็น 10 คน เพื่อไปศึกษาดูงาน บริษัทโตโยต้า มอร์เตอร์ประเทศไทย จำกัด ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย 6 มหาวิทยาลัย (รวม 60 คน) ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยได้เดินทางถึงกรุงเทพมหานครประมาณเวลา 16.00 น. และเข้าพักที่โรงแรมกาจญ์มณี

ระเบียบในการศึกษาดูงานของบริษัท ที่ทุกคนต้องถือปฏิบัติและเตรียมตัวล่วงหน้า

1. กรุณาตรงต่อเวลา

2. แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่รัดกุมและเรียบร้อย สวมรองเท้าหุ้มส้น ห้ามสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าที่มีแต่สายคาดโดยเด็ดขาด

3. เส้นทางการเดินเยี่ยมชมโรงงาน ให้ผู้มาเยี่ยมชมเดินตามเส้นทางที่เจ้าหน้าที่ของโตโยต้ากำหนดไว้เท่านั้น

4. ห้ามถ่ายภาพเมื่ออยู่ในบริเวณโรงงานโดยเด็ดขาด

5. ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณโรงงานโดยเด็ดขาด ให้สูบบุหรี่ในบริเวณที่อนุญาตให้สูบได้เท่านั้น

6. ในขณะเดินเยี่ยมชมโรงงาน ห้ามผู้เยี่ยมชมสัมผัสเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนใดใดทุกชนิด รวมทั้งหยอกล้อหรือเล่นกันโดยเด็ดขาด

7. ในขณะเดินเยี่ยมชมโรงงาน ให้ผู้มาเยี่ยมชมสวมหมวก และแว่นนิรภัย (เฉพาะผู้ไม่ใส่แว่นสายตา) ตามที่โรงงานกำหนดไว้เท่านั้น

8. ในกรณีผู้มาเยี่ยมชมมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 รวมอยู่ด้วย ให้ผู้ปกครองดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลาที่เดินเยี่ยมชมโรงงาน

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ผู้ประสานงานเครือข่าย UKM ในปี 49 ส่งข้อมูลรายละเอียดต่างๆให้สมาชิกเครือข่าย อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ซึ่งทีมของมหาวิทยาลัยมหาสารคามก็ได้เตรียมตัวตามที่ได้รับแจ้งมา เรื่องนี้ผมเห็นเป็นแบบอย่างที่ดีเช่นกัน

11 มีนาคม 2549

ทีมศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้เดินทางออกจากโรงแรม ประมาณ เวลา 9.00 น. ด้วยเพราะกลัวรถติด และต้องไปแวะส่งเอกสารที่ศูนย์ประสานงาน สกอ. แต่ด้วยความสามารถในการขับรถของพี่อุดมศักดิ์ (แอ๊ด) ที่มีความช่ำชองในเส้นทาง ทั้งซอกซอยต่าง ๆ จึงถึงสมุทรปราการที่ตั้งของบริษัท ก่อนนัดหมาย 2.5 ชั่วโมง ทั้งทีมจึงตกลงกันไปศึกษาดูงานนอกโปรแกรม คือ เมืองโบราณ (ค่าเข้าชม สำหรับคนไทย 100 บ./คน, นำยานพาหนะส่วนตัว คันละ 50 บ. สำหรับชาวต่างประเทศ ไม่มีป้ายติดไว้ว่าเท่าใด ซึ่งแน่นอนต้องจ่ายมากกว่าคนไทย) เป็นครั้งแรกที่ผมได้มาที่เมืองโบราณ เป็นสถานที่น่าทึ่งมากที่สามารถรวบรวมแหล่งโบราณสถานทั่วประเทศมาอยู่ในบริเวณเดียวกัน และมีความเหมือนจริงอย่างที่สุด (คงใช้เวลาหลาย 10 ปี ที่จะสามารถได้ชมสถานที่จริง ที่มีอยู่ในเมืองโบราณ และคงมีค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล) ซึ่งผมคิดว่าเป็นที่ที่เหมาะสำหรับคนที่มีเวลาน้อย เช่น ชาวต่างประเทศ หรือแม้แต่ชาวไทยเราเองที่อยู่ในสังคมแห่งการแข่งขัน

ต้องขอชื่นชมผู้ที่ได้สร้างสถานที่นี้ขึ้นมา โดยได้ทุ่มเททั้งชีวิต แรงกาย แรงทรัพย์มหาศาล เป็นสถานที่ที่มีคุณค่ามาก

ก่อนจะออกจากเมืองโบราณ ทีมของพวกเราได้ท่านข้าวเที่ยงที่ร้านอาหารบรรยากาศโบราณ "อาหารก็ใช่ได้ครับ" อาทิ ไก่ย่าง คอหมูย่าง ส้มตำ ลาบเป็ด ข้าวเหนียว

ภาพสวย ๆ เก็บมาฝากครับ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เก็บมาฝาก

ความประสงค์การสร้างเมืองโบราณ  

        เมืองโบราณคือเมืองในอดีต อดีตคือช่วงเวลาที่ผ่านไป ช่วงเวลาที่ผ่านไปย่อมต้องมีช่วงเวลาที่ติดตามมา ความแตกต่างอยู่ที่ถึงก่อนถึงหลังเท่านั้น เช่นเดียวกับพระอาทิตย์ พระจันทร์ต่างผลัดกันให้แสงสว่าง เกิดวัน เดือน ปี ปรากฏการณ์ทั้งหลายย่อมไม่มีจุดเริ่มต้นให้เห็นได้ เป็นวัฏฏะที่หมุนเวียน เหตุวันนี้ย่อมสืบเนื่องมาจากเมื่อวานนี้ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ย่อมมาจากวันนี้ ฉะนั้นเรื่องของอดีตคนปัจจุบันจำเป็นจะต้องรู้ หากเราไม่รู้จักอดีตก็เหมือนเดินเรือในท้องทะเลโดยปราศจากเข็มทิศและหางเสือ ผลที่จะเกิดขึ้นกับเรือลำนั้นเป็นที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง

อนึ่ง ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากความไม่รู้ แต่ไม่รู้จริงเสียหายมากกว่า ยิ่งไม่รู้จริงแล้วทำเป็นรู้ผลที่สุดคือหายนะ โบราณและปัจจุบัน ความสำเร็จกับความล้มเหลวตกอยู่ในห้วงแห่งสาเหตุนี้มากต่อมาก การที่จะรู้จริงนั้นต้องมาจากความยากลำบาก จะต้องเผชิญกับอุปสรรคนานาประการ โลกปัจจุบันนี้แคบลงทุกวัน เรื่องเล็กๆ เรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในมุมเล็กๆ มุมหนึ่งของโลกสามารถกระทบกระเทือนถึงทุกแห่งในโลกได้ ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงหวั่นวิตกว่า ความเปลี่ยนแปลงของสังคมระบบใหม่เกิดขึ้น จากความบีบคั้นของสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ ประกอบกับปัจจุบันนี้ วัฒนธรรมประเพณีตะวันออกกับตะวันตกกำลังเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรงและคงจะร้ายแรงยิ่งขึ้น ผู้ที่มีสติปัญญาหรือบัณฑิตทั้งหลายจะต้องเพ่งเล็งในกรณีนี้เป็นพิเศษ แม้แต่พวกที่ถือคัมภีร์ของตนเป็นสรณะนับเป็นศตวรรษมาแล้วก็ตาม ต้องละทิ้งทิฐิของตนหันมาพิจารณากับสิ่งที่เขาเคยคิดว่าเป็นปรปักษ์
       ข้าพเจ้าเชื่อว่าศีลธรรมของพลโลกปัจจุบันนี้เสื่อมลง ในขณะเดียวกันข้าพเจ้าก็ไม่ปฏิเสธว่าวิทยาศาสตร์เจริญ มีคุณค่าที่ปรากฏแก่มวลมนุษย์ ไม่มียุคไหนเทียบเท่า แต่ชาวตะวันออกเราเชื่อว่าวิทยาศาสตร์สามารถให้ความรู้แก่มนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ให้สูงขึ้นได้ มีแต่ทำให้ผู้คนนับถือลัทธิวัตถุนิยม มุ่งแต่ความสุขในทางโลก สิ่งต่างๆ ในจักรวาลนี้เกิดขึ้นด้วยความเหมาะสมของธรรมชาติและความสำเร็จของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เหมาะสมหนึ่ง จุดศูนย์กลางที่พอดีหนึ่ง เวลาที่ถูกต้องหนึ่ง
       ตำแหน่งที่เหมาะสมนั้นหมายถึงตำแหน่งที่ต้องอยู่อย่างพอเหมาะพอดี จุดศูนย์กลางนั้นหมายถึงความเจริญอยู่ในกฎเกณฑ์ เวลาที่ถูกต้องนั้นหมายถึงสิ่งแวดล้อมที่ต้องการในขณะนั้น หากสวรรค์ต้องการให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดคงเหลืออยู่ ย่อมไม่ให้เจริญเกินขอบเขตของความเจริญ นี้คือบ่อเกิดของความสมดุลตามกฎแห่งธรรมชาติ ความเหมาะสมและดีงามของสิ่งใดๆ ไม่มีขอบเขตแห่งความเก่าแก่ พิสูจน์จากจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมที่วิจิตรงดงาม เป็นมรดกของมนุษยชาติที่บรรพบุรุษมอบไว้ให้แก่เราเป็นเวลานานแสนนาน มีคุณค่าอย่างยิ่ง ที่ไม่ได้เสื่อมโทรมแม้แต่น้อย ศิลปะไม่มีลัทธิ ศาสนา และกาลเวลา ศิลปะเท่านั้นที่หล่อเลี้ยงจิตใจมนุษย์มาตราบเท่าทุกวันนี้ เหตุไฉนประเพณีวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษมอบไว้ให้แก่เราจึงถูกทอดทิ้งบ้าง ทำลายบ้าง ทั้งๆที่วัฒนธรรมประเพณีนั้นเหมาะสมกับสังคมมนุษย์และสิ่งแวดล้อมของเรา

 
 

       โดยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงอยากให้มนุษย์ร่วมโลกรู้จักประเพณีและวัฒนธรรมของเรา เพราะเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่มวลมนุษย์ อย่างน้อยก็เป็นเครื่องเตือนใจของผู้ที่กำลังหลงทางในสังคมปัจจุบัน นี่คือจุดประสงค์ของข้าพเจ้าที่สร้าง "เมืองโบราณ" ขึ้น หวังเพื่อแก้ไขสิ่งเลวร้ายที่มีอยู่ในสังคมปัจจุบัน แต่ปัญหายิ่งใหญ่จะสัมฤทธิ์ผลได้อย่างไร ใครจะเป็นผู้แก้ไข คำตอบของข้าพเจ้าคือ ไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องทุกๆ คน ไม่ใช่เรื่องราวของเช้าเย็นวันหนึ่ง จะต้องเป็นเดือน เป็นปี เป็นศตวรรษ เสมือนที่โบราณกล่าวไว้ว่า หากจะสร้างภูเขาหนึ่งภูเขา ดินก้อนหนึ่งมีคุณค่าของดินก้อนหนึ่ง เปรียบเสมือนคนเดินทาง ก้าวหนึ่งย่อมมีคุณค่าของก้าวหนึ่ง ภูเขาที่สำเร็จต้องอาศัยคุณค่าของหินก้อนแรก ระยะทางที่เราเดินสำเร็จต้องอาศัยคุณค่าของก้าวแรก
       หากคติของข้าพเจ้าไม่สอดคล้องกับคนที่ยึดถือว่าสังคมปัจจุบันนี้ถูกค้องและยึดถือไว้ปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไป ข้าพเจ้าใคร่ขอวอนให้ท่านเหล่านั้นตั้งอยู่ในความเที่ยงธรรม จงพยายามหาสิ่งที่ดีจากสิ่งที่เราเกลียด หาสิ่งที่เลวร้ายจากสิ่งที่เรารัก เพื่อนำมาประกอบ การวินิจฉัยกับ วัฒนธรรมประเพณีของโบราณไทย ว่ามีคุณค่า สมเจตนารมณ์ของข้าพเจ้าหรือไม่

คำกล่าวของ  (ประไพ วิริยะพันธุ์)

โปรดติดตามตอนจบ พรุ่งนี้ครับ

KPN

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19295เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2006 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อยู่มหาสารคามเช่นกัน ได้ดูภาพบรรยากาศ และประวัติความเป็นมา จะไปแน่นอนครับ summer นี้
เป็นกำลังใจให้คนkmรุ่นใหม่ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท