องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

เรื่องเล่า : งานฉีดยาแบบลดขั้นตอนบริการ


     งานนี้ป้าเตือนบอกว่ากว่าจะได้ข้อสรุปต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์เลยนะ ไม่ใช่ธรรมดา เพราะงานนี้ประสานหลายฝ่ายทั้งงานตรวจสุขภาพเด็กดีที่เป็นผู้ส่งเด็กมาฉีดวัคซีนที่ห้องฉุกเฉิน(ที่บ้านเราไม่เหมือนห้องฉุกเฉินของที่อื่นเพราะเราเป็นกลุ่มแม่และเด็กเป็นส่วนใหญ่..ก็จะมีงานฉีดวัคซีน,ทำหมันชาย,ทำแผล,ปฐมพยาบาลเด็กเบื้องต้น..พ่นยา,เช็ดตัวฯลฯ) แล้วก็ไปเกี่ยวกับงานห้องยาอีกเอี่ยวนึง

   ป้าก็เลยเชิญมาคุยร่วมกันว่าจะหาแนวทางไหนดีที่จะให้เกิด 3 เรื่องเนี่ย

1. ลดระยะเวลาการรอคอยของผู้รับบริการ 

2. การเฝ้าสังเกตอาการเด็กหลังฉีดวัคซีนครอบคลุมมากขึ้น

3. พัฒนาระบบการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 

แล้วก็ได้แนวทางปฏิบัติมา  

  • งานตรวจสุขภาพเด็กดีเก็บระยะเวลาการรอคอย ซึ่งจะเก็บเวลาเฉพาะผู้รับบริการที่มารับบริการครบขั้นตอนทั้งรายเก่าและรายใหม่ที่รับวัคซีนตามแผนของกระทรวงสาธารณสุข โดยนับตั้งแต่ผู้รับบริการยื่นบัตรที่งานตรวจสุขภาพเด็กดีโดยไม่ต้องผ่านห้องบัตร
  • จากห้องตรวจสุขภาพเด็กดีมาฉีดวัคซีนที่ห้องฉีดยา
  • แล้วจึงไปจ่ายเงินรับยาที่ห้องการเงินและห้องยาที่อยู่ตรงข้ามห้องฉีดยา (มองเห็นกัน)โดยเราเก็บสมุดสีชมพูเป็นตัวประกันไว้ที่ห้องฉีดยาก่อนคะ
  • รับสมุดสีชมพูที่ห้องฉุกเฉินพร้อมให้จนท.แอบประเมินลูกหลังรับวัคซีนด้วย ก่อนกลับบ้าน

มีข้อมูลและอุบัติการณ์ในเดือนพฤษภาคม 2551  ที่เก็บมา จาก ผู้รับบริการ   739   ราย

อุบัติการณ์

จำนวน ( ราย )

สัปดาห์ที่ 1

สัปดาห์ที่ 2

สัปดาห์ที่ 3

สัปดาห์ที่ 4

ยอดรวมผู้รับบริการ

227

191

118

203

ผู้รับบริการที่ปฏิบัติตามขั้นตอนเดิม

35

22

19

15

จนท.แนะนำผิดขั้นตอน

20

25

20

22

ผู้รับบริการไม่พึงพอใจ  ( สับสน)

3

1

2

1

ผู้ปกครองลืมสุดสุขภาพ

5

3

1

1

ผู้ปกครองเด็กไม่ชำระเงิน

-

-

-

-

สมารถติดตามเฝ้าสังเกตอาการเด็กหลังฉีดวัคซีนได้

220

188

117

202

เก็บระยะเวลาการรอคอยเดือนพฤษภาคม 2551                          

ประเภทคนไข้

ระยะเวลารอคอย

เวลาควบคุม

หมายเหตุ

รายเก่า

54.99 นาที

82 นาที

ไม่ผ่านเกณฑ์ 58.10

รายใหม่

59.13 นาที

85 นาที

ไม่ผ่านเกณฑ์ 62.70

ก็มีปัญหาหลากหลายที่พบป้ากับสมาชิกก็เลยมาจับเข่าคุยกันอีกทีว่าจะแก้แต่ละเปลาะออกไปอย่างไรดี

  • งานตรวจสุขภาพเด็กดีประชาสัมพันธ์การปรับขั้นตอนการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบ
  • การเขียนหมายเลขห้องกำกับไว้บนหัวกระดาษ ตามลำดับที่ต้องไปรับบริการ
  • ห้องฉีดยาได้จัดเจ้าหน้าที่นั่งหน้าห้องเพื่อคัดแยกคิวและจัดลำดับคิวให้บริการสำหรับเด็กฉีดวัคซีนไว้หน้าห้องพร้อมประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการให้บริการ เผื่อพวกหลงทาง
  • ห้องจ่ายยาสามารถช่วยตรวจสอบขั้นตอนการให้บริการได้ถ้าผู้รับบริการไปผิดห้องถ้าเขียนลำดับห้องที่ให้บริการกำกับไว้

  • ให้จนท.การเงินช่วยตรวจสอบการไม่ชำระเงินในแต่ละวัน

  • แต่ยังมีผู้ปกครองเด็กลืมสมุดที่ทางหน่วยงานเก็บเอาไว้ก่อนและมารับทีหลังเมื่อชำระเงินแล้ว

                                                                                                            ข้อมูลจาก คุณเตือนใจ แก้วสารพัดนึก

"รอติดตามผลสุดท้ายกันอีกทีว่า..เจ๋งมั้ยกิจกรรมนี้...เชียร์ๆๆ"

หมายเลขบันทึก: 192899เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2008 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำไมป้าไม่โฆษณาเรื่อง ชุดที่จับเด็กเวลาฉีดยาด้วยล่ะดีมากๆเลย

เวลาเราเห็นใครมีของดีเราก็อยากให้โชว์

โชว์ของดีของ ER จ้ะ ..ใช้รัดตรึงตัวเด็กน้อยที่ดิ้นเวลาฉีดยาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท