Smart Farm - ยุคใหม่ของเกษตรโลก


ประเทศไทยยังเป็นประเทศเกษตรกรรม ถึงแม้ปัจจุบันสินค้าอุตสาหกรรมจะกลายมาเป็นสินค้าหลักในการส่งออกก็ตาม แต่อาชีพของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ก็ยังคงตั้งอยู่บนรากฐานของ “ทรัพย์ในดินสินในน้ำ” มาแต่ไหนแต่ไร แต่น่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่งว่า งานวิจัยส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ไทย กลับไม่ได้เกื้อหนุนต่ออาชีพนี้เท่าไรนัก งานวิจัยทางการเกษตรของไทยในปัจจุบันไม่ได้ก้าวตามโลกที่ได้ข้ามไปสู่ยุคไอที – จีโนม – นาโน ไปหลายปีแล้ว ทั้งนี้เพราะประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายต่างก็กำลังขะมักเขม้นกันทำวิจัยในศาสตร์ที่จะทำให้เกษตรกรรมของศตวรรษที่ 21 เป็นอาชีพสุดแสนจะไฮเทค ด้วยการนำเทคโนโลยีผสมผสานต่างๆ ทั้ง คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ไอที สื่อสาร เซ็นเซอร์ เทคโนโลยีชีวภาพ รวมทั้งนาโนเทคโนโลยี เข้ามาช่วยในการทำให้ ไร่นา ฟาร์มเกษตรทั้งหลาย ให้กลายมาเป็นที่ทำงานสุดไฮเทค ศาสตร์ที่จะช่วยทำให้ฟาร์มธรรมดาๆ กลายมาเป็น ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm หรือ Intelligent Farm) นี้ได้รับการขนานนามว่า Precision Agriculture Precision Agriculture หรือ Precision Farming ภาษาไทยยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ เพราะยังไม่มีการทำวิจัย หรือ นำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง จึงขอเรียกมันว่า เกษตรกรรมความแม่นยำสูง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลีย และเริ่มแพร่หลายเข้าไปในหลายประเทศ ทั้งยุโรป ญี่ปุ่น แม้กระทั่งประเทศเพื่อนบ้าน ของเราอย่าง มาเลเซีย ก็มีการทำวิจัยทางด้านนี้ หรือไกลออกไปอีกนิดอย่างอินเดียก็ทดลองใช้เทคโนโลยีนี้กันอย่างกว้างขวาง จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทย จะต้องเริ่มให้ความสนใจในเรื่องนี้ให้มากขึ้น เพราะย่านนี้เป็นย่านของเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นพม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม มิฉะนั้นในอนาคตอันใกล้นี้เมื่อเทคโนโลยีเกษตรความแม่นยำสูง ถูกนำไปใช้เชิงพาณิชย์เมื่อไหร่ ประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสในการส่งออกเทคโนโลยีเหล่านี้ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งกำลังมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ในประเทศมาเลเซียเอง มีการนำ Precision Farming มาใช้ดูแลสวนปาล์มขนาดใหญ่ ทำให้มีผลผลิตสูง จริงๆแล้วประเทศไทยเองมีพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่กว่าเสียอีก ทั้งยังมีความหลากหลายทางพืชพันธุ์เหลือคณา ได้เปรียบเขาหลายๆ อย่าง จึงน่าจะมีการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีนี้ให้มีความก้าวหน้ากว่าเขาให้ได้


(ภาพบน - เกษตรกรกำลังนั่งจิบไวน์มองฟาร์มของพวกเขา เซ็นเซอร์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ในฟาร์มกำลังเก็บข้อมูล ดิน น้ำ ฟ้า ฝน และตัดสินใจเปิด-ปิดน้ำ ให้ปุ๋ย หรือ ออกคำสั่งให้รถเก็บเกี่ยวออกไปทำงานเอง อาชีพเกษตรกรที่เคยต้องหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน กลับผันเปลี่ยนไปเป็น หลังนวดสปาหน้าดูจอ เทคโนโลยี Precision Farming กำลังจะทำให้อาชีพเกษตรกรรมกลายมาเป็นอาชีพที่มีความสุขที่สุดในโลก)
คำสำคัญ (Tags): #india#malaysia#palm#vineyard#wine
หมายเลขบันทึก: 192485เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2008 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

เข้ามาชื่นชมกับบทความที่มีความสำคัญและมีคุณค่า

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากครับ

เกษตรกรในประเทศพัฒนาแล้ว ใช้ความรู้ที่เป็นระบบและลึกซึ้งในการทำเกษตรมาช้านานแล้ว

และพัฒนามาได้อย่างมั่นคง

และเมื่อวิทยาการก้าวหน้า ก็นำมาใช้อย่างสอดคล้องกัน

ผมเคยใช้ชีวิตอยู่ในประเทศยุโรปคือฝรั่งเศส เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์และปัจจุบันอยู่ที่อินเดีย

เกษตรกรของเขา(ยกเว้นอินเดีย ที่กำลังหาความรู้อยู่)ใช้ปัญญาในการทำเกษตรเสมอและทันสมัยเสมอ

เรื่อง PA นี้ สมควรที่ไทยจะได้รีบให้ความสนใจและศึกษาอย่าได้ช้าครับ

เพราะมิฉะนั้นจะตกขบวนรถไฟการพัฒนาอีกเรื่องหนึ่ง

ขอบคุณครับ

ขอขอบพระคุณท่านทูตครับ ที่ได้กรุณาเข้ามาเยี่ยมชม และให้คำแนะนำครับ

ขอขอบพระคุณท่านทูตครับ ที่ได้กรุณาเข้ามาเยี่ยมชม และให้คำแนะนำครับ

- สวัสดีครับพี่ ผมขอมาเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ครับ

- ชอบมากครับ Agriculture 2.0

- อยากให้เป็นอย่างนั้นเร็วๆ ครับ

- แต่บ้านเราคงเป็นไปได้ยากนะครับ

- จะคอยติดตามผลงานครับ

ขอบคุณครับที่มาเล่าสิ่งใหม่ๆ สู่กันฟัง

ขอบคุณ อ.กรุง มากครับ สำหรับคำแนะนำครับ เดี๋ยวจะ post ขึ้นมาเรื่อยๆ ครับ

ธีรเกียรติ์

สวัสดีครับ

ผมก้เป็นคนนึงที่สนใจใน smart farm

ตอนนี้ผมเรียนอยู่ มก. สาขา ICT เกี่ยวกับ embedded systems ซึ่ง ผมก้ได้มีโอกาส ทำ thesis ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ถ้าเป็นไปได้ผมอยากจะทำ smart farm ที่บ้านของผม

ผมคิดว่าบ้านเราควรจะมีการพัฒนาทางด้านนี้ให้มาก และการพัฒนาก็ควรจะเน้นไปในทางปฏิบัติจริงมากกว่าการที่จะทำเป็น ทฤษฎี ที่เรียกว่า paper ไม่ใช่ไปพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมมากเกินไป ควรจะคิดว่าบ้านเรามีดีอะไร พัฒนาอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท