PARTICIPATIONกับการจัดการความรู้ในชุมชน


การแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาดุก

PARTICIPATION  รูปแบบการจัดการความรู้ในชุมชน

                     จำได้เคยแสดงความคิดเห็นถึงรูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา  ช่วง17-23  มิถุนายนที่ผ่านมาได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้ของชุมชนในละแวกโรงเรียน ซึ่งเป้นเขตบริการของโรงเรียน  ระดับหมู่บ้านได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การแปรรูปปลาดุกเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ เช่นการทำปลานดุกร้า  ปลาดุกแดดเดียว  ปลาดุกฟู  ก้างปลาดุกทอดกรอบ  เป็นต้น  อันเป็นโครงการของกระทรวงมหาดไทย  ต่อเนื่องจากโครงการอยู่ดีมีสุขของรัฐบาลสมัยท่านสุรยุทธ์  เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในบริเวณโรงเรียน  ทางโรงเรียนได้ส่งเด็กนักเรียนระดับชั้น ป.5-6  จำนวน  13 คน เข้าร่วมเรียนรู้ด้วย    ผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมดังกล่าวอยู่หลายขณะ  ได้พบเห็นกระบวนการถ่ายทดความรู้จากทฤษฏีสู่การปฏิบัติจริง  ได้เห็นกระบวนการสร้างองค์ความรู้อย่างแท้จริงจากผู้รู้จำนวนหนึ่งสู่คนกลุ่มหนึ่ง  จากผู้รู้รุ่นหนึ่งถ่ายโอนสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง กลายเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริงของสังคมที่มีผู้เรียนคละเคล้ากันอยู่ของคนหลานร่น  ตั้งแต่ป้าๆลุงๆ  พี่ๆน้องๆ(นักเรียน)  ผู้เขียนลึกๆมความรู้สึกดีใจที่กิจกรรมอย่างนี้เกิดขึ้นในชุมชน   ด้วยเหตุผลดังนี้

                   กระบวนการจัดการความรู้เข้ากับทฤษฏี/หลักการCIPPA  model ทีเดียว

1กิจกรรมดังกล่าวดำเนินการตั้งแต่ต้นจนจบ  ผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมได้เรียนรู้และเกิดเป็นองค์ความรู้ในเรี่องที่รับการอบรมอย่างแท้จริง  ทุกคนมีโอกาสเรียนรู้รับรู้ภาคความรู้การแปรรูปปลาดุก  ได้ลงมือปฏิบัติจริง  จนสรุปเป็นองคืความรู้  ตรงนี้ละคือconstruction

2. กิจกรรมดังกล่าวผู้เข้าร่วมการอบรมได้มีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด  ได้เรียนรู้อุปนิสัยอย่างแท้จริง  (ได้เห็นกิจเลสกันและกันด้วย)เราเรียกว่าinterection 

3. กิจกรรมดังกล่าวมุ่งเน้นการนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง  เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยทักษะหลายๆด้าน เช่นทักษะทางสังคม  ทักษะทางปัญญา  ซึ่งมีรายละเอียดอยู่มากมาย   เราเรียกกระบวนการนี้ว่า  process

4. กิจกรรมนี้สิ่งที่ได้เป็นรูปธรรมคือ product  นั่นเอง

5.  เราคาดหวังลึกๆว่าสมาชิกผู้เข้ารับการอบรมทุกคนสามารถนำองค์ความรู่ที่ได้ตลอดระยะเวลาการอบรม  ไปประยุกต์ใช้  เพื่อยกระบชีวิตของตนเองและครอบครัว  โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน  ข้าวของเครื่องใช้มีราคาแบบกระชากวิญญาณจริง  ทางออกที่ดีในการประหยัดเงินตราในตรอบครัวก็คือการมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง  ตรงนี้น่าจะเรียกว่า applecation/apply  ได้นะ

       สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ได้จากการอบรม  ผู้เขียนว่าน่าจะดีมากๆ  ก็คือ  ผู้นในสังคม/ชุมชน  จะลดการมั่วสุมไปในทางอบายมุขเป็นอย่างดี  ไม่มีเวลามาอิจฉาริษยา  นินทาชาวบ้านจะได้ลดๆลง  จริงไหมครับ

 

หมายเลขบันทึก: 191987เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2008 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท