เจคติที่ดีต่อการพยาบาลอนามัยชุมชน


เจคติที่ดีต่อการพยาบาลอนามัยชุมชน

เจคติที่ดีต่อการพยาบาลอนามัยชุมชน

ของนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา

ในหลักสูตรพยาบาลบัณฑิต พ.ศ. 2537 กับ หลักสูตรพยาบาลบัณฑิต พ.ศ. 2545

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

 

ปิ่นนเรศ  กาศอุดม*  และคณะ

 

บทคัดย่อ

                 

                  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเจตคติที่ดีต่อการพยาบาลอนามัยชุมชน ของนักศึกษาพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา จากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปี พ.ศ. 2545 กับของนักศึกษาพยาบาลที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2537 ศึกษาในนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ถึง ปีการศึกษา 2549 จำนวน 237 คน โดยใช้แบบวัดเจตคติที่ดีต่อการพยาบาลอนามัยชุมชน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 – 0.80 ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยผู้วิจัยเอง และได้อธิบายทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิ์ของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน หาค่าความถี่ ร้อยละ   ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบเจตคติที่ดีต่อการพยาบาลอนามัยชุมชน ของนักศึกษาพยาบาล

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาล กำลังจะสำเร็จการศึกษา จากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

พ.ศ. 2545 และนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา จากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2537 มีเจตคติที่ดีต่อการพยาบาลอนามัยชุมชน อยู่ในระดับสูง ทั้งที่มีต่อคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน ที่มีต่องานในการปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน และโดยรวม นอกจากนี้ยังพบว่านักศึกษาพยาบาล กำลังจะสำเร็จการศึกษา จากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตพ.ศ. 2545 มีเจตคติที่ดีต่อการพยาบาลอนามัยชุมชนโดยรวม และที่มีต่อคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน สูงกว่า นักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา จากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2537 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนที่มีต่องานในการปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

                  จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการใช้กระบวนการจัดการความรู้ เพื่อถอดบทเรียนให้ได้ความรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของอาจารย์พยาบาลเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในสาขาอื่นๆ และเผยแพร่ความรู้ปฏิบัตินั้นๆ ต่อไป เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ปฏิบัติและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 191396เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2008 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท