ศูนย์ เครื่องช่วยหายใจ รพ เชียงรายฯ


ตัวเลขการติดเชื้อจาก เครื่องช่วยหายใจ (VAPP)ของโรงพยาบาลลดลง ซึ่งหมายถึงคนไข้เราปลอดภัยมากขึ้น

เวทีสัญจรลงเยี่ยมศูนย์เครื่องช่วยหายใจ  วันที่ 26 มิ.ย. 2551

คุณ หมอ ติ้งกานต์ สุดา คุณเล็กหัวหน้า ICU กุมาร และคุณแจ๋วสูติ 2 เริ่มเวทีตรงเวลาเป๊ะ 1500 น

มีทีมเยี่ยมวิ่งมาเสริมกำลังเพิ่มทีละ คน ทีละคน คือ หมอ รวิวรรณ   น้องเอ้ยศูนย์ คุณภาพ และ คุณ อ้อหัวหน้า Nursery

(น้องเอ้ย กระซิบมาว่า วันนี้ทีมงานเวทีสัญจร จิตอาสาของเรารวมตัวกันได้หลายคนมากค่ะ )

หัวหน้าหน่วย คุณแต๋งบอกว่า เวลา ดูตัวเลขการติดเชื้อจาก เครื่องช่วยหายใจ (VAPP)ของโรงพยาบาลลดลง ซึ่งหมายถึงคนไข้เราปลอดภัยมากขึ้นก็ จะแอบภูมิใจ ค่ะ ว่า  ใครๆ อาจจะไม่รู้  แต่ เราก็รู้ว่าเป็นผลงานเรา

16 ปีแล้ว เริ่มตั้งแต่มี เครื่องช่วยหายใจแค่ 2 ตัว ค่อยเพิ่มเป็น 10 ตัว จนปัจจุบันนี้ ทั้งโรงพยาบาลมี 54 ตัว ซึ่งพอเพียงให้ ทุกตึก นำมาแลกแล้ว   

:  ตอนเปิดใหม่ๆนี่ลำบาก    เครื่อง Ambu ที่เราเรียกคืนจากหน่วยงานต่างๆนี่พอมาเปิดดูนี่ โอ้โห ตกใจมีแต่ราขึ้นเต็มเลยค่ะ

ถึง ตอนนี้ คุณ เล็ก เธอเสริมว่า   เมื่อก่อน สาย ลูกฟูกที่ต่อ อ็อกซิเจนให้ คนไข้ มันไม่มีเปลี่ยน เอาไปล้างกันเอง ยังไม่ทันแห้ง ต้องเอามาใช้ต่อ มี แต่เชื้อรา ดำๆ ค้างในสาย ใช้ ก็ ไม่สบายใจ ยังจำได้เลย

แต่เดี๋ยวนี้ เอามาแลกพี่แต๋ง ได้ ของสะอาดๆ  และแสนจะสะดวกสบาย

 

: ตามตึกเอาเครื่องมาแลกมาคืนเราก็ต้องอยู่ต่อเพื่อเช็คเครื่อง และเตรียมให้มันพร้อมใช้ตลอด ส่วนมากทางตึกจะเอาเครื่องมาคืนช่วงเวลาลงเวร(บ่ายสี่โมงเย็น)

 

จันทร์ฉาย : ทำงานที่นี่รู้สึกดีค่ะ ชอบการประกอบเครื่องมือ  เดิมทีเคยมาทำงานนอกเวลามาก่อนที่จะขอย้ายมาอยู่ประจำ   ชอบงานที่นี่พอพี่เขาชวนก็ย้ายมา

 

: ภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการทำงาน เช่น ล้างสาย ไปแลกของค่ะ

 

พี่เล็ก : เด็ก 1 ใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดค่ะ   เมื่อก่อนต้องล้างสายเองพอมาเจอที่หน่วยงานนี้ก็สบายขึ้นเยอะ เราไม่ต้องมาล้างเองทำให้สามารถเอาเวลาไปดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น  และที่สำคัญคือไม่ต้องกังวลว่าว่าเราจะมีของไม่พอใช้ หรือหากทางตึก มีปัญหาในเรื่องของเครื่องช่วยหายใจก็สามารถโทรมาปรึกษาได้ตลอด

  

พี่ใบ :  ประทับใจในตัวหัวหน้าของหน่วยงาน เมื่อก่อนทำงานอยู่โรงครัวพอมาทำงานที่นี่ก็มีความสุขดีค่ะ หัวหน้าสอนงานให้ทุกอย่างหรือมีสิ่งที่ไม่เข้าใจหัวหน้าสามารถสอนให้ได้ทุกเรื่อง

หัวหน้าเก่ง  ใจเย็นด้วยอันที่จริงตอนมาอยู่ใหม่ๆก็กลัวเหมือนกันนะคะ  กลัวว่าหัวหน้าที่นี่จะรับเราไม่ได้ ก็พยายามมาตลอดเลย  เพื่อที่จะได้มาทำงานที่นี่  สอบมาหลายครั้ง ได้มาอยู่จริงๆนี่เหมือน ฝันกลายเป็นจริงเลยค่ะ

 

ให้ลองสังเกตุ อุปกรณ์ ในตู้ที่อยู่ด้านหลัง เรียงใส่ตู้ แยกใส่ตะกร้าก็มี เป็น ระเบียบสวยงาม มีทั้ง กะเปาะน้ำ humidifier Nembulizer สายยางเครื่องช่วยหายใจ Ambu bag ตอนนี้มีให้ ตึก คนไข้ทุกตึก ใช้อย่างพอเพียง เจ้าหน้าที่ตึกต่างๆมาแลกของได้ทุก ชนิด บางชนิดใช้เยอะ ในวันหนึ่ง  100 กว่าชุดเลยก็มี

 

 

เรา เคร่งครัด หยิบ  First in  First out ค่ะ สต็อก เราไม่มีค้างเก็บ บางทีอาจมีค้างเก็บที่ ward เพราะเจ้าหน้าที่บางตึก  ยังกลัว ของไม่พอใช้  เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในสมัยก่อน ตอนนี้ มีพอเพียงแล้วนะคะ

 

 

 

พี่แต๋ง : ปัจจุบันนี้ทางศูนย์เครื่องช่วยหายใจมีของเพิ่มมากขึ้น  มีการใช้เครื่องช่วยหายใจทั่ว โรงพยาบาลทุกวัน ทุกหน่วยงานต้องมารับแลกเครื่องที่นี่ทุกหน่วยงานที่ใช้ค่ะ ที่เรามีเครื่องมากขึ้นนี่ส่วนหนึ่งได้มาจากโรงพยาบาลชุมชนมาฝากให้เอาไว้ใช้ด้วยกันค่ะ(ขอบคุณ รพ.พาน รพ.แม่สาย รพ.แม่ลาว รพ.เชียงแสน ที่ให้ เรายืม เครื่องเอามารวมไว้ใช้ด้วยกัน)

 

 

: ของที่ส่งมาที่หน่วยงานก็มีเสียหายบ้าง  จากWard ค่ะโดยเฉพาะก้นของเครื่องAmbu  ลิ้นสีฟ้าๆ นี่แหละจะขาดง่ายมาก และอีกที่ก็คือตรงสายต่อออกซิเจนก็หักบ่อยมากค่ะเครื่องมือ ที่ใช้ แพงๆ ทั้งๆนั้น

  เมื่อก่อนเสียหายเยอะ เพราะที่ตึกทำความสะอาดกันเอง

ตรงนี้ แหละค่ะ ที่เสียหาย  ท่อ ที่ต่อ ออกซิเจนตรงก้นAmbu bagนี่ละค่ะ หัก บ่อย

 แผ่นยางสีฟ้านี้ ก็ ฉีกขาดบ่อย เพราะตอนล้าง ถ้าใจร้อนดึงออก เร็วๆ ขาดเลย

ฝา กะป๋อง ออกซิเจนก็ แตก ง่าย ตัวข้อ ต่อ 3 ทางของท่อพ่น ออกซิเจน ก็ หายบ่อย เวลาเอามาคืนมาแลก มักหาไม่เจอ

เจ้าหน้าที่เวลาของที่เสียมาแลก ทำ ยังไง กลัวโดนปรับ

 ก็ แอบมาดูก่อน เอามาขอ เปลี่ยนอันที่ดี กับคนทำงานที่นี่ ที่สนิท กัน เดินเข้ามาดูก่อน ถ้าไม่รู้จัก ก็ เก็บไว้ ก่อน ยังไม่แลก

หัวหน้า แต๋ง มาดน่าเกรงขาม แต่จริงแล้ว เธอใจดี

เธอบอกว่า ศูนย์ เรา ไม่เคยปรับใคร หรือ ward ไหน สักที เพราะรู้ว่าเจ้าหน้าที่เรา ตั้งใจปฏิบัติงาน ถ้าทำของเสียหายก็ เพราะไม่รู้ ไม่ตั้งใจ ถ้าปรับก็ คงแย่ สงสาร เงินเดือนก็น้อย ทำงานตั้งใจ จะให้เสียค่าปรับเครื่องมือ แพงๆ ก็คงไม่ไหว คงหมดกำลังใจทำงาน ก็เลย ปรับไม่ลง

: การล้างเครื่องมือของที่นี่มีล้างด้วยน้ำยาล้างจาน à น้ำต้มสุก 2 ครั้ง à อบแห้ง à บรรจุวันหนึ่งๆ ทำ เป็น สิบ สิบ cycle เลย

เราจะล้างเครื่องมือด้วยน้ำยาล้างจาน เสร็จ แช่น้ำยาทำลายเชื้อ parasafe (peracitic acid)

หลังจากนี้เราจะใช้ใส่ชุดใหญ่ ใส่เสื้อ ใส่หมวก ผ้าปิดปากจมูก ใส่ถุงมือsterile ใช้เทคนิก แบบปราศจากเชื้อ ในทุกขั้นตอน  แล้วยกเครื่องมือขึ้นมาล้างมาแช่ในน้ำต้มสุก 2 รอบ เอาน้ำยาออกในหม้อ สีเงิน(ที่เหมือนหม้อก๋วยเตี๋ยว 2 หม้อในรูป) และยกขึ้นมาเขย่าแกว่งเอาน้ำ ออก เยอะๆ เสร็จกรรมวิธีล้างจึง เอาไปเข้าตู้เป่าลม รอแห้ง เราก็ เอามาจัดแบบปราศจากเชื้ออีกบนผ้าที่นึ่งแล้ว ปูกันบนโต๊ะนี้ แหละค่ะ

คนนั่งฟัง การเล่าที่โต๊ะยังไม่เข้าใจ ก็เลยเดินไปดูที่ห้องปฏิบัติงาน ให้เห็นภาพ อุตสาหกรรมการทำงาน เป็นรอบๆ ที่ทำกัน ในหนึ่งวัน

 

ในห้องเล็กๆนี้ เราแช่ล้างอุปกรณ์  หมุน แกว่ง ยกขึ้นยกลง  ทำแล้วทำอีกวันหนึ่งเป็น 10 กว่ารอบ เลย

ผู้เยี่ยม อุทานว่า มิน่า! ห้องนี้ หุ่นดีมีเอวกันทุกคน  ออกกำลังกายกันทุกวัน ตลอดการทำงานเลย

เมื่อได้รับคำถามว่า เวลาแกว่ง เอาน้ำออก มันไม่เลอะเทอะ ไม่เปียก ลื่นล้ม หัวแตก หรือ ไม่กระเด็นทั่วหรือ พื้นก็ เป้นกระเบื้อง ห้องทำงานก็ นิดเดียว

คำตอบคือ เป็นความชำนาญค่ะ ถ้ามือใหม่ ก็จะเลอะ เปียก เยอะ มือเก่า จะ เรียบร้อยแห้งสะอาด ไม่เปียกเลย

 

ตู้นี้ค่ะ ใช้อบแห้ง  ช่างโรงพยาบาลทำให้  ใช้ได้ดีทีเดียว ยังใช้ อยู่ทุกวัน

 

 

หัวหน้า บอกว่า ตอนนี้ยังมี อะไร ต้องทำ อีกเยอะ ค่ะ เวลาเดินไปในตึก ไป ปรับ เครื่องช่วยหายใจ  54 ตัว รอบโรงพยาบาล ก็จะเห็นเครื่องมื่อ เครื่องใช้ ที่ยังไม่ได้ มาตรฐานตามตึกต่างๆ  จะอยากช่วยทำ อยาก พัฒนาต่อ เช่น สายต่อ ขวด suction ที่ตึก เป็นเชื้อรา รอ กำลังคน ถ้าได้ เพิ่มจะรับมาทำให้ 

 

AAR

 

เกินความคาดหมาย

-          เป็นกันเอง

-          ดีใจที่ได้พูดถึงสิ่งดีๆของหน่วยงานค่ะ

-          เห็นความร่วมมือในหน่วยงาน

-          เริ่มเร็ว

-          ดีใจที่มีคนให้ความสำคัญกับหน่วยงานเรา

-          ทีมมามาก

-          มีความสุข

-          เป็นครั้งแรกที่มีแขกมาเยี่ยมหน่วยงาน

 

สิ่งที่จะทำต่อไป

- ขอขยายพื้นที่ของหน่วยงานให้กว้างขึ้น

- หมอรวิวรรณ จะขอนำนิสิตแพทย์ ปี 5 ที่เรียนเรื่อง Oxygen และ Aerosal Therapy มาดูระบบการทำงานที่อยู่เบื้องหลังหน่อย

 

หมายเลขบันทึก: 191235เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2008 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท