บทบาทหน้าที่เจ้าหน้าที่สหกรณ์


หน้าที่เจ้าหน้าที่สหกรณ์ หน้าที่หลักของผู้จัดการสหกรณ์

การจัดการธุรกิจสหกรณ์

          สหกรณ์เป็นตลาดเศรษฐกิจหรือหน่วยธุรกิจที่ครอบครองแดนดำเนินการและประกอบด้วยมวลสมาชิกซึ่งมีสถานภาพเป็นทั้งเจ้าของสหกรณ์และผู้ใช้บริการจากสหกรณ์ สมาชิกควบคุมการบริหารจัดการสหกรณ์โดยการทำข้อตกลงในแผนธุรกิจหรือที่เรียกว่า "ข้อบังคับ" ตัวแทนสมาชิก โดยดำเนินการเป็นองค์คณะบุคคล คือ "คณะกรรมการดำเนินสหกรณ์" ในที่ประชุมใหญ่ และจดทะเบียนข้อบังคับกับนายทะเบียนสหกรณ์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ

          คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์  มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินนโยบายภายใต้กรอบของข้อบังคับในการบริหารจัดการสหกรณ์และจัดจ้าง ผู้บริหารมืออาชีพที่มีใบรับรองความรู้พื้นฐานด้านการบริหารจัดการ อันได้แก่ การบริหารจัดการเงิน คน วัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรกลต่าง ๆ และความรู้ หรือวธีการบริหารจัดการมาเป็น "ผู้จัดการสหกรณ์"

                             

 

บทบาทคู่ขนานของผู้จัดการสหกรณ์

          ผู้บริหารระดับสูงสุดในฝ่ายจัดการหรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสหกรณ์ (ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง) คือ "ผู้จัดการสหกรณ์" ซึ่งเป็นผู้ที่จะใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการองค์การให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้  ทั้งนี้ เนื่องจากสหกรณ์เป็นองค์การธุรกิจที่มีรูปแบบแตกต่างจากองค์การธุรกิจประเภทอื่นโดยเกี่ยวข้องกับสมาชิกที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ดังนั้น การทำหน้าที่ของผู้จัดการสหกรณ์จึงมีบทบาทหน้าที่ 2 บทบาท

 

            บทบาทที่ 1  เป็นบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกบสมาชิกสหกรณ์ กล่าวคือ ผู้จัดการต้องมีความเข้าใจถึงปัญหาของสมาชิกซึ่งเป็นเข้าของสหกรณ์และเป็นลูกค้าสำคัญของสหกรณ์ ผู้จัดการต้องมีความสามารถในการจูงใจสมาชิกเพื่อจัดกล่มทำงานด้านการผลิตและงานในด้านอื่นของสมาชิกและจัดเจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับชาของตนคอยให้ความสะดวกในด้านการบริการต่าง ๆ แก่สมาชิก ในขณะที่ผู้จัดการบรหารงานสหกรณ์อยู่นั้น ผู้จัดการยังต้องช่วยเหลือคณะกรรมการดำเนินการในการจัดหาข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ให้แก่คณะกรรมการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือในการตัดสินใจ

            บทบาที่ 2  ผู้จัดการต้องมอบหมายงานต่าง ๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่ในฝ่ายจัดการซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของตน คอยกำกับและควบคุมงานต่างๆ ที่มอบหมายไปล้ว และคอยกระตุ้นให้เขาทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ ให้บังเกิดผลดี

 

หน้าที่หลักของผู้จัดการสหกรณ์

             ผู้จัดการสหกรณ์มีหน้าที่จัดการทั่วไปและรับผิดชอบกิจการประจำของสหกรณ์รวมทั้งหน้าที่ดังนี้

             1. ตรวจสอบการสมัครรับเลือกเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ โดยผู้สมัครต้องลงลายมือชื่อใบสมัครแสดงความสมัครใจและชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าและเงินค่าหุ้นตามข้อบังคับสหกรณ์และการจัดทำทะเบียนรายชื่อสมาชิก

              2. เป็นธุระในการเก็บเงินค่าหุ้นรายเดือนหรือตามส่วนของเงินกู้และแจ้งยอดจำนวนหุ้น เงินค่าหุ้นเป็นหนี้คงเหลือและชักชวนการถือหุ้นเพิ่มในสหกรณ์

              3. รับฝากเงิน จ่ายคืนเงินฝาก และชักจูงการฝากเงินในสหกรณ์

              4. เป็นธุระในการตรวจสอบคำขอกู้ จ่ายเงินกู้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับเงินกู้ และดำเนินการอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องการให้เงินกู้ให้เป็นไปตามแบบและระเบียบของสหกรณ์ที่กำหนดไว้

              5. กำหนดหน้าที่และวิธีการปฏิบัติงานของบรรดาเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตลอดจนเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิชอบดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เหล่านั้นให้เป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับด้วย

              6. เป็นธุระกวดขันในเรื่องการออกใบรับ เรียกใบรับหรือมีใบสำคัญโดยครบถ้วน รับผิดชอบในการรับจ่ายเงินทั้งปวงของสหกรณ์ให้เป็นการถูกต้องรวบรวมใบสำคัญและเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินไว้ให้ครบถ้วนและเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดไว้

              7. รับผิดชอบและดูแลในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

              8. เป็นธุระในการนัดเรียนประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ

              9. เข้าร่วมประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและประชุมคณะอนุกรรมการ (เว้นแต่ในกรณีที่ประชุมนั้น ๆ มิให้เข้าร่วมประชุม)

             10. ปฏิบัติการเกี่ยวกับการโต้ตอบหนังสือของสหกรร์

             11. รักษาดวงตราของสหกรณ์และรับผิดชอบตรวจตราทรัพย์สินต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย

             12. เสนอรายงานกิจการประจำเดือนต่อคณะกรรมการดำเนินการ

             13.เสนอรายการหรือรายงานของสหกรณ์ต่อนายทะเบียนสหกรณ์

             14. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการหรือคณะอนุกรรมการฯ มอบหมายหรือตามที่ควรกระทำเพื่อให้กิจการในหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี

           

           

หน้าที่เจ้าหน้าที่สหกรณ์

              การจัดองค์การหรือการจัดบุคลากรเข้าทำงานเป็นบทบาทหน้าที่ของผู้จัดการในการจัดโครงสร้างในฝ่ายจัดการให้มีผู้บริหารในระดับรองลงไปจนถึงเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการและลูกจ้าง ซึ่งบุคลากรสหกรณ์เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการประกอบกิจการสหกรณ์เปรียบเยบเป็นกำลังพลในกองทัพในการขับเคลื่อนกิจการสหกรณ์ให้มีความเจริญก้าวหน้าด้วยการให้บริการแก่สมาชิก และการร่วมมือกับสมาชิกในการต่อสู้แข่งขันในชั้นเชิงธุรกิจ ดังนั้น เจ้าหน้าที่สหกรณ์จึงเป็นบุคคลที่มีความรู้พื้นฐานในวิชาชีพด้านต่าง ๆ เช่น บัญชี การเงิน การส่งเสริมการตลาด การส่งเสริมการเกษตร การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ต้องมีความรู้ด้านการสหกรณ์ด้วย เพราะสหกรณ์เป็นองค์การธุรกิจที่มีความแตกต่งจากองค์การธุรกิจประเภทอื่น และองค์การธุรกิจทุกประเภทให้ความสำคัญที่สุดต่อลูกค้า สหกรณ์ก็เช่นเดียวกันลูกค้าความสำคัญที่สุดและลูกค้าของสหกรณ์ยังมีสถานภาพเป็นเจ้าของสหกรณ์อีกด้วย การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าที่สหกรณ์ในการให้บริการแด่ผู้ใช้บริการต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างยิ่งที่เดียว และโดยทั่วไปเจ้าหน้าที่สหกรณ์มีหน้าที่ดังนี้

              1. ปฎิบัติงานประจำของสหกรณ์ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ลุล่วงด้วยดี

              2. ปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายของคณะกรรมการดำเนินการ โดยศึกษานโยบายคณะกรรมการ ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ที่ผู้จัดการกำหนดไว้ รวมทั้งเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

                  2.1 เจ้าหน้าที่สหกรณ์เป็นภาพลักษณ์ขององค์กรในสายตามของสมาชิกและบุคคลทั่วไป

                  2.2 การให้บริการแก่สมาชิกด้วยความจริงใจ เต็มใจให้บริการ การศึกษาตัวสินค้า และมีความรู้รอบด้านในการตอบคำถามแก่สมาชิก

                  2.3  รับฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้จัดการและผู้บังคับบัญชา

                  2.4 การทำงานที่มีเอกภาพเดียวกันหรือการมีทีมงานที่ดี เพื่อความเจริญก้าวหน้าในทางธุรกิจของสหกรณ์

                  2.5 รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน

                  2.6 รักษาสถานที่ให้สะอาด จัดสินค้า สิ่งของให้เป็นระเบียบ

                  2.7 ดูแลรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ ให้พร้อมที่จะใช้งาน

                  2.8 ชี้แจงและให้ความรู้ เทคนิควิชาการ และข่าวสารแก่สมาชิกอย่งถูกต้องขัดเจนและสม่ำเสมอ

                  2.9 สนับสนุนงานของสหกรณ์ด้วยการแก้ไขความเข้าใจผิดให้ถูกต้องและทำให้ผู้มารับบริการเกิดความเลื่อมในศรัทธา

                  2.10 ช่วขจัดปัญหาเมื่อสมาชิกมาร้องทุกข์

                  2.11 เชิญชวนให้สมาชิกทำธุรกิจกับสหกรณ์

                  2.12  รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกให้ผู้จัดการได้อย่างถูกต้องและเพียงพอ

                  2.13 เสนอแนะฝ่ายจัดการในการปรับปรุงงานและบริการต่าง ๆ

                  2.14 เข้ารับการฝึกอบรม/สัมมนาเพื่อเพิ่มความรู้ด้านการสหกรณ์ พร้อมทั้งความรู้เกี่ยวกับผลภัณฑ์และบริการ

                  2.15 รับการฝึกอบรม กิริยา มารยาท และพัฒนาบุคลิกภาพในการให้บริการที่ดี การต้อนรับผู้มาใช้บริการ กล่าวทักทาย "สวัสดีครับ/ค่ะ" กล่าว "ขอบคุณครับ/ค่ะ"  กล่าวเชิญชวนให้กลับมาใช้บริการอีกครั้ง "โอกาสหน้าเชิญใหม่ค่ะ/ครับ" หรือ กล่าวเชิญชวนให้สมาชิกเรียกใช้บริการอีกคร้ง

                  พึงระลึกเสมอว่าการดำเนินการของสหกรร์จะสามารถดำเนินธุรกิจเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อมวลสมาชิกได้ต้องขึ้นอยู่กับการร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทั้ง 3 ฝ่าย คือ สมาชิก คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ จะขาดซึ่งส่วนหนึ่งส่วนใดมิได้ การรู้ในหลักการ อุดมการณ์สหกรณ์ และบทบาทหน้าที่ของตนเองในแต่ละฝ่ายให้ถ่องแท้โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ วิสัยทัศน์ และภารกิจที่ต้องดำเนินไป องค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะเป็นเข็มทิศที่จะทำให้ทุกคนดำเนินงานบรรลุจุดหมาย คือ ความกินดีอยู่ดีมีสันติสุขและชุมชนเข้มแข็ง

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สหกรณ์
หมายเลขบันทึก: 190978เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2008 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รูปนี้สวยที่สุดเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท