การวิเคราะห์โครงการหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นด้านส่งเสริมสุขภาพและ อนามัยสิ่งแวดล้อม


การวิเคราะห์โครงการหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นด้านส่งเสริมสุขภาพและ อนามัยสิ่งแวดล้อม

 

 

(

) ข้อเสนอแนวคิด /

วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

1.

ชื่อผลงานเรื่อง

ชื่อผลงานเรื่อง

การวิเคราะห์โครงการหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นด้านส่งเสริม

2.

สรุปเค้าโครงเรื่อง

การวิเคราะห์โครงการหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นด้านส่งเสริมสุขภาพและ อนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทราบถึงสภาพของปัญหาและความสำเร็จขององค์ประกอบของการดำเนินงานในการนำมาปรับปรุง แก้ไข ตามความต้องการของเป้าหมายและตอบสนองต่อการแก้ปัญหาของการขาดบุคคลากรส่วนท้องถิ่นที่ยังขาดองค์ความรู้ที่จะแก้ปัญหาด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อันเป็นผลมาจาก องค์ประกอบหลายๆ ด้านซึ่งมีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ ทำให้เกิดผลกระทบเป็นองค์รวมกับระบบสุขภาพในมิติต่างๆ ทั้งด้าน น้ำ อากาศ แสง ดิน และภูมิภาคท้องดิน ซึ่งมีความสำคัญจะต้องได้รับการแก้ไขสภาพอย่าง เหมาะสม เร่งด่วน เพื่อควบคุมเฝ้าระวังป้องกันภาวการณ์เจ็บป่วยของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสำคัญ ต่อการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะต้องมีความรู้ที่จะพัฒนาฟื้นฟูเพื่อหาแนวทางที่ถูกต้องต่อการแก้ไขปัญหา ผู้ศึกษาจึงสนใจที่การวิเคราะห์โครงการหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

3.

หลักการและเหตุผล

จากผลของการดำเนินงานของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่

 

9 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ได้มีการกระจายอำนาจการบริหารงานไปสู่ระดับท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ของตนเองในทิศทางที่เป็นความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ ในประเด็นหนึ่งของความต้องการของชุมชนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนที่แตกต่างกันออกไปตามพื้นที่และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ทั้งนี้ความรับผิดชอบในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในชุมชนคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในระดับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องดูแลในเรื่องนี้ หลังจากที่ได้ดูแลในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมทุกพื้นที่แล้ว การดูแลส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นตัวคนเองและที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเกินกว่าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะรับผิดชอบทั้งหมดได้ สาเหตุมาจากเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ความพร้อมทางด้านบุคลากรยังมีข้อจำกัดเป็นเรื่องๆไปและการรับโอนจากบุคลากรทางด้านสาธารณสุขยังมีน้อยมาก จึงทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามความต้องการของชุมชนให้ลุล่วงหรือบรรเทาลงได้ใน ด้วยเหตุดังกล่าวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีความพยายามที่จะหาแหล่งวิชาการที่เป็นสถาบันการศึกษาแต่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาในการอบรมประกอบกับบุคลากรที่2

 

12 ศูนย์เขต ดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ในการนี้ศูนย์อนามัยที่ 10

เชียงใหม่ได้ตอบสนองนโยบายดังกล่าว ด้วยการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่น ด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งได้รับการตอบรับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในระดับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคเหนือตอนบนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้จากความสำเร็จดังกล่าว มีปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบที่ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งบุคลากรของตนเองเข้าอบรมในหลักสูตรพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นดังกล่าว

ปัจจัยที่มีส่วนทำให้หลักสูตรดังกล่าวประสบความสำเร็จ อาจมุ่งประเด็นไปที่ปัจจัยทางด้านตัวเนื้อหาวิชาที่ตอบสนองความต้องการหรือเป็นปัญหาของท้องถิ่น ด้านวิทยากรหรือหน่วยงานที่จัด อาจมีความน่าเชื่อถือหรือมีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญจนได้รับการยอมรับ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร หรือ ด้านเงื่อนไขของการรับรองการสำเร็จหลักสูตรที่มีคุณภาพ หรือ เป็นหลักสูตรที่บูรณาการระหว่างงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน

ผู้ศึกษาวิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เกิดจากปัจจัยอะไร และ มีหน่วยงานอะไรที่ช่วยสนับสนุนให้หลักสูตรประสบความสำเร็จดังกล่าว

4.

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1.

เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของหลักสูตรในด้านวิชาการ การฝึกปฏิบัติ การประชาสัมพันธ์

2.

เพื่อวิเคราะห์ความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลักสูตรย่อย

3.

เพื่อวิเคราะห์ถึงข้อจำกัดของการจัดทำหลักสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5.

สมมุติฐาน

หลักสูตรพัฒนาศักยภาพบุคลากรส่วนท้องถิ่นด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม มีเนื้อหาวิชาการ การฝึกปฏิบัติ ตอบสนองกับความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวมรวมทั้งมีการใช้ระยะเวลาและงบประมาณ ในการอบรมน้อยแต่ให้ประโยชน์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาก 3

6.

 

ระยะเวลาที่ดำเนินการ

มกราคม

 

กุมภาพันธุ์

2551

7.

พื้นที่ดำเนินการ

ศูนย์อนามัยที่

 

10

เชียงใหม่

7.1

เป้าหมาย

เป้าหมาย

โครงการฝึกอบรม จำนวน 1

โครง คือ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

7.2

เนื้อหา

เนื้อหา

เพื่อให้มีความครอบคลุมและทราบถึงปัจจัยของความสำเร็จของโครงการจึงขอแยกเนื้อหาที่ให้ใน

1.

 

การวิเคราะห์ทางด้านเนื้อหา วิชา ในการฝึกอบรม

2.

 

การวิเคราะห์ทางด้านวิทยากร

3.

 

การวิเคราะห์ทางด้านระยะเวลาการเรียน การสอน

4.

 

การวิเคราะห์ทางด้านค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

5.

 

การวิเคราะห์ทางด้านสถานที่จัดการฝึกอบรม

6.

 

การวิเคราะห์ทางด้านกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ของการสำเร็จหลักสูตร

7.

 

การวิเคราะห์ทางด้านที่พักและการเดินทางของผู้เข้ารับการอบรม

8.

นิยามศัพท์

การวิเคราะห์ หมายถึง การนำเอาข้อมูล เนื้อหา และสิ่งที่เกี่ยวข้องกันมาหาความสัมพันธ์เกี่ยวโยง ขัดแย้ง กันอย่างไร

บุคลากรส่วนท้องถิ่น หมายถึง ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม การศึกษา การออกกำลังกาย ซึ่งอาจเป็นบุคลากรประจำ หรือ เป็นช่วงเวลา

อนามัยสิ่งแวดล้อม หมายถึง การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี เช่น อาหารปลอดภัย การจัดการมูลฝอยชุมชน การจัดการน้ำดี น้ำเสีย การจัดการแมลง สัตว์กัดแทะ การจัดการที่พักอาศัย

งานส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ส่งผลให้บุคคลมีสุขภาพดีในส่วนของการออกกำลังกายในชุมชน และการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก 4

9.

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.

 

ได้ทราบถึงปัจจัยและสาเหตุของความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรส่วนท้องถิ่นด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

2.

 

ทราบถึงสภาพปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ

3.

 

นำผลการวิเคราะห์ไปปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองตามความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

10 .

ผลการดำเนินงาน

การดำเนินการวิเคราะห์โครงการใช้การวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพเพื่อให้มีรายละเอียดที่ชัดเจนในแง่ของการอธิบายปากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเชื่อมโยงกันในเนื้อหาที่ทำการวิเคราะห์ จากการวิเคราะห์โครงการจึงขอแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น

 

7

ประเด็นดังนี้

1.

การวิเคราะห์ทางด้านเนื้อหา

เนื้อหาวิชาที่ใช้ประกอบในหลักสูตรการฝึกอบรมประกอบด้วยหลักสูตรย่อย

 

3

หลักสูตรคือหลักสูตร

1.

 

หลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นหลักสูตรที่ได้รับสนใจสูงสุดในจำนวนหลักสูตรทั้งหมด จำนวนผู้ต้องการเข้ารับการอบรมในหลักสูตรนี้ 1 หลักสูตรเท่ากับ 2 หลักสูตรในข้างต้นรวมกัน จากการวิเคราะห์หลักสูตรนี้เนื้อหาวิชาประกอบด้วย หลักการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อาหารปลอดภัย การจัดการน้ำดี น้ำเสีย การจัดการมูลฝอยชุมชน การแก้ไขเหตุรำคาญและกฎหมายสาธารณสุข พ..2535

ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดเป็นสิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความต้องการมากที่สุดด้วยเหตุของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนเกี่ยวข้องกับอนามัยสิ่งแวดล้อมที่กระทบถึงสภาวะทางสุขภาพของประชาชนในชีวิตประจำวันจึงจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไข ด้วยความต้องการที่เร่งด่วนของบุคลากรทางด้านนี้ จึงได้มีการส่งบุคลากรที่ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมเข้าอบรมเพื่อย่นระยะเวลาจากการที่ต้องเข้าฝึกอบรมในสถานศึกษาที่ต้องใช้เวลานานและเนื้อหาวิชาเป็นทฤษฎี ค่าใช้จ่ายสูง เป็นการอบรมที่ใช้เวลาน้อย เนื้อหาวิชาเป็นแบบนำไปปฏิบัติได้ทันที ค่าใช้จ่ายถูก ไม่จำกัดวุฒิทางการศึกษาและระดับชั้นของการปฏิบัติงาน

2.

 

หลักสูตรผู้นำการออกกำลังกายในชุมชน เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่จะสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนด้วยกิจกรรมการออกกำลังกายที่บ้านหรือในชุมชนในรูปแบบต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตอบสนองนโยบายนี้ด้วยการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายแบบ การเดิน การวิ่ง การรำมวยจีน การรำไม้พอง และการเต้นแอโรบิก ประชาชนและชุมชนมีการตอบสนองกิจกรรมนี้เป็นอย่างมาก แต่มีข้อจำกัดเรื่องของบุคลากรที่จะต้องสร้างแรงจูงใจและฝึกสอนให้บุคลากรในพื้นที่ดำเนินการเองภายใต้การสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากข้อจำกัดดังกล่าวได้พยายามพัฒนาผู้นำการออกกำลังกายซึ่งในสถาบันการศึกษาเองเกือบจะไม่มีหลักสูตรนี้ส่วนมากจะเป็นเนื้อหา5

3.

 

หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองทางด้านทางด้านการพัฒนาการศึกษาในสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนในสังกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงานเขตการศึกษาพื้นที่จังหวัดของกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาที่บรรจุในหลักสูตรประกอบด้วย หลักการและแนวทางการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่เน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของบุคลากรทั้งหมดของโรงเรียนโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของนักเรียนที่ร่วมกลุ่มกันเป็นชมรมในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ในส่วนนี้ผู้เข้ารับการอบรมจะได้ทราบแนวทางและหลักการการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้การสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ ตามแผน นโยบายที่กำหนดไว้ เนื้อหาของหลักสูตรมีความต่อเนื่องจากส่วนแรกเป็นเนื้อหาของการประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพตามหลักเกณฑ์ของกรมอนามัยที่มีความชัดเจน ส่วนนี้บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับประโยชน์ของเนื้อหาวิชาด้วยส่วนการศึกษาต้องรับผิดเป็นผู้ประเมินร่วมในคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของกรมอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศึกษานิเทศก์หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงวิเคราะห์ได้ว่าเนื้อหาส่วนนี้ตอบสนองกับความต้องการของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ เป็นเนื้อหาหลักสูตรที่ตอบสนองกับความต้องการขององค์กรปกครองส่วนถิ่นที่รับโอนเอาการบริหารจัดการศูนย์เด็กเล็กจากหน่วยงานต่างๆมาอยู่ในความรับผิดชอบแต่มีข้อจำกัดในของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนถิ่นในเรื่ององค์ความรู้เกี่ยวกับศูนย์เด็กเล็กเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการ สุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม หลักการดำเนินงานพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก การประเมินมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ของกรมอนามัยในเนื้อหาส่วนนี้ตอบสนองกับบุคลกรที่ทำงานในส่วนของการศึกษาและผู้ดูแลเด็ก ที่ต้องได้รับการอบรม ให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อให้มีทิศทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกัน จึงวิเคราะห์ได้ว่าองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กเป็นส่วนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความต้องการเพื่อตอบสนองกับความต้องการของชุมชนในการดูแลบุตรหลานให้มีพัฒนาการที่ควรจะเป็น

2.

การวิเคราะห์ทางด้านวิทยากร

วิทยากรหรือผู้สอนเนื้อหาหลักสูตรทั้งหมดเป็นนักวิชาการของกรมอนามัยที่สั่งสมประสบการณ์การทำงานมาเป็นเวลาที่ยาวนานประกอบกับมีผลงานทางด้านการศึกษาวิจัยในเรื่องที่เป็นบทบาทหน้าที่รับผิดชอบประจำและทำงานร่วมกับพื้นที่ จึงมีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านวิชาการ การปฏิบัติ ทั้งนี้วิทยากรทั้งหมด

 

13 ท่าน ในจำนวนนี้วิทยากร 1

ท่านกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้าน6

 

10 ท่านจบการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษาและอีก 2 ท่านจบการศึกษาปริญญาตรีและมีประสบการณ์การทำงานมานานกว่า 20

ปี ด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ ของวิทยากรเป็นที่ยอมรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยทำงานร่วมกันในหลายเรื่องแล้วประสบความสำเร็จ เป็นที่พึงพอใจของประชาชนในชุมชน

3.

การวิเคราะห์ทางด้านระยะเวลาการเรียน การสอน

เพื่อให้การเรียน การสอน มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุดการกำหนดระยะเวลาในการเรียน การสอนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสถาบันการศึกษาคือในแต่ละหลักสูตรย่อยใช้ระยะเวลา

 

30 ชั่วโมงและต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80 %

ของเวลาเรียนทั้งหมด ในกรณีนี้เป็นการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถึงระยะเวลาในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติช่วงเวลาตั้งแต่วันจันทร์จนถึงวันศุกร์ จึงทำให้จำนวนชั่วโมงกับจำนวนวันทำการในสัปดาห์พอดีกันเพื่อให้ผู้อบรมมีเวลาพักสมอและผ่อนคลายงจึงได้มีเวลาพักระหว่างคาบเรียน จะทำให้ผู้อบรมมีสมาธิและตั้งใจเรียนในช่วงเวลาต่อไป ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ตารางการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรส่วนท้องถิ่นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ

2550

ณ ห้องประชุมกาสะลอง ศูนย์อนามัยที่

10 เชียงใหม่ (รุ่นที่ 1 ระหว่าง วันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2550)

เวลา

/

หัวข้อ

วัน

 

ระหว่างเวลา

09.00-12.00 .

หัวข้อ

/ วิชาที่สอน

เวลา

12.00-13.00 . พักรับปทานกลางวัน

ระหว่างเวลา

13.00-16.00 .

หัวข้อ

/ วิชาที่สอน

วันจันทร์

25

มิย. 50

หลักการและการบริหารจัดการการอนามัยสิ่งแวดล้อม

(Environmental Health Principle and Managemtn)

.อินใจ วงศ์รัตนเสถียร

กฎหมายสาธารณสุขและการบังคับใช้

(Public Health Law and Law Enforcement

.สมโภชน์ ศรีอัสดร

วันอังคาร

26

มิย. 50

ความปลอดภัยอาหารและการสุขาภิบาลิอาหาร

(Food Safety and Sanitation)

.สุทธิดา ศิริธวนากุล

การจัดการเหตุรำคาญ

(Public Nuisance Managament)

.สมโภชน์ ศรีอัสดร

วันพุธ

27

มิย. 50

การจัดการน้ำดี

.อณัญญา สุวรรณปริค

การจัดการน้ำเสีย

.เศกสรร วงศ์ดี

วันพฤหัสบดี

28

มิย. 50

การจัดการสิ่งปฏิกูล

.เศกสรร วงศ์ดี

การสุขาภิบาลที่พักอาศัยและสถานประกอบกิจการ

.สมโภชน์ ศรีอัสดร

วันศุกร์

29

มิย. 50

การฝึกปฏิบัติงานกลุ่ม

.วรรธนันท์ พัฒนสิงห์ / .ไพรชล ตันอุด

เสนอผลการฝึกปฏิบัติ

/

สรุปการอบรม

STAFF

 

หมายเลขบันทึก: 190223เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท