วัฒนธรรมในกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา


วัฒนธรรมในกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษาควรเป็นไปในทิศทางใด

นานแล้วที่ไม่ได้ update blog เลย เพราะ มัวยุ่งอยู่กับการทำงาน การเรียน การใช้ชีวิตกับผู้คนมากมาย แต่วันหนึ่งก็เกิดความสงสัยถึง "วัฒนธรรมในกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา" ซึ่งถ้าคำว่า  วัฒนธรรม หมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ จิตใจ สังคม และวัตถุ มีการสั่งสมและ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง จนกลายเป็นแบบแผนที่สามารถ เรียนรู้และก่อให้เกิดผลิตกรรมและผลิตผล ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม อันควรค่าแก่การวิจัย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ถ่ายทอด เสริมสร้างเอตทัคคะ และแลกเปลี่ยน เพื่อสร้างดุลยภาพแห่งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอย่างมีสุข สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2535) แล้ว

ทำไมเมื่อนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องทำวิทยานิพนธ์ จะเพื่ออะไรก็ตาม บางคนก็ทำเพื่อให้จบโดยไม่สนใจว่างานวิจัยนั้นมีคุณค่าแค่ไหน ในขณะที่มีบางคนที่ทำเพื่อเรียนรู้ และพยายามตอบคำถามที่อยากรู้หรือสนใจ โดยพยายามนำเสนองานวิจัยที่มีคุณค่าหรือคล้ายๆว่าจะมีคุณค่า แต่ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ใช่ประเด็นที่ต้องการสื่อสาร  หากแต่เมื่อคนที่ต้องเกี่ยวข้องซึ่งก็คือ ตัวนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา(จะกี่คนก็แล้วแต่) เมื่ออีกฝ่ายต้องการคำปรึกษาและอีกฝ่ายเป็นผู้ให้คำปรึกษาจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม ก็น่าจะเป็นการตกลงยอมรับแล้วว่าปลงใจที่จะร่วมหอลงโรงกันแล้ว แต่เมื่อทัศนะหลายๆอย่างไม่ตรงกัน จะเพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดทักษะการสื่อสารที่ดี อย่างไรก็แล้วแต่ ทำให้ต้องเกิด "วัฒนธรรมการบังคับให้ยอมรับความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา หาไม่แล้วจะไม่ช่วยในการสอบปากเปล่า" อันนี้กล่าวถึงในกรณีที่เป็นเรื่องของการเลือกใช้เทคนิคต่างๆในงานวิจัย ซึ่งบางครั้งก็ไม่มีบทสรุปที่ชัดเจนว่าอะไรดีที่สุดเพราะแต่ละเทคนิคก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ซึ่งจริงๆแล้วก็ยังมีวัฒนธรรมการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา วัฒนธรรมการใช้เทคนิคหรือรูปแบบการทำงานวิจัยในแต่ละสถาบัน ฯลฯอยากรู้จริงๆว่าวัฒนธรรมเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะอะไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง แล้วทำไมหลายๆสถาบันการศึกษาจึงมีรูปแบบหรือลักษณะเหมือนหรือคล้ายๆกัน มีงานวิจัยเรื่องพวกนี้บ้างหรือเปล่า

หมายเลขบันทึก: 190131เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2008 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วัฒนธรรม อีกอย่างน่าจะศึกษาครับ "ความคล้ายคลึงที่ไม่พัฒนา ส่งผลอะไรต่อประเทศ" เห็นด้วยมากครับ ความจริงความสิ้นหวังทำให้คนขาดความถูกต้อง ขัดระเบียบ จึงเรียบไขว่าคว้า เพื่อให้ได้อรรถะรสของการใช้ชีวิต จึงเป็นลักษณะการพัฒนาที่พายเรือในอ่าง

ขอคิดด้วยคนครับ

ขอบคุณ และเห็นด้วยอย่างยิ่งกับ "ความคล้ายคลึงที่ไม่พัฒนา ส่งผลอะไรต่อประเทศ"

ถ้าหากต้องเหมือนก็ต้องเหมือนอย่างสร้างสรรค์ วัฒนธรรมใดที่ไม่อาจก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการคิดของคน มิอาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่าต่อสังคม เมื่อไร้คุณค่าก็ควรเรียกว่าเป็น--วัฒนธรรมขยะ--

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท