คุ้มครองแรงงานชุมพร
สสค.ชุมพร สสค.ชุมพร สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชุมพร สสค.ชุมพร

สหภาพแรงงาน


องค์กรของลูกจ้างที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน
ลักษณะทั่วไป
  • สหภาพแรงงงาน หมายถึง องค์กรของลูกจ้างที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน
  • ผู้มีสิทธิที่จะจัดตั้งสหภาพแรงงานจะต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน หรือเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกัน และต้องเป็นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะแล้วและมีสัญชาติไทย
  • ในการขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานนั้นจะต้องมีผู้เริ่มก่อการไม่น้อยกว่า 10 คน คำขอต้องระบุชื่อ อายุ อาชีพหรือวิชาชีพและที่อยู่อาศัยของผู้เริ่มก่อการทุกคน
  • เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอพร้อมทั้งร่างข้อบังคับแล้วเห็นว่าคุณสมบัติ ข้อบังคับ วัตถุประสงค์ถูกต้อง นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแก่สหภาพแรงงานนั้น ทำให้สภาพแรงงานนั้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล
  • ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานมีหน้าที่จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน 120 วัน นับแต่วันที่จดทะเบียนเพื่อเลือกตั้งคณะกรรการและมอบหมายกิจการทั้งปวง ซึ่งผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการจ้าง หรือการลงโทษจะเป็นสมาชิกในสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างอื่นได้จัดตั้งหรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้
  • สมาชิกของสหภาพแรงงานสิ้นสุดลงเมื่อตาย ลาออก ที่ประชุดมใหญ่ให้ออก หรือตามที่กำหนดข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
  • สมาชิกและเจ้าหน้าที่ของสหภาพแรงงานได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้องคดีทางอาญาหรือทางแพ่ง ถ้าได้กระทำการ
      (1) ร่วมเจรจา เรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ที่สมาชิกควรได้รับ
      (2) นัดหยุดงาน
      (3) ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงาน
           ทั้งนี้เว้นแต่เป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง
  • กรรมการหรืออนุกรรมการสหภาพแรงงานจะต้องมีคุณสมบัติคือ เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน มีสัญชาติไทย และ มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
  • ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงานในฐานะผู้แทนลูกจ้าง ลูกจ้างแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้า โดยชัดแจ้ง ถือว่าวันลาของลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงาน
  • สหภาพแรงงานอาจแจ้งข้อเรียกร้องเพื่อแก้ไขและปรับปรุงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อนายจ้างแทนลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกได้ การเจรจา ตกลงกันไม่ได้ ถือว่ามีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น แจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทรายภายในเวลา 24 ชม.นับแต่เวลาที่ไม่สามารถตกลงกันได้ พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจะไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่าย ตกลงกันภายในกำหนดเวลา 5 วัน ถ้ายังตกลงกันไม่ได้   นายจ้างจะปิดงานหรือลูกจ้างจะนัดหยุดงานก็ได้ ต้องได้แจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชม.
 
ความคุ้มครองสหภาพแรงงาน
  • ในระหว่างมีการยื่นข้อเรียกร้อง นายจ้างจะเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้นไม่ได้
  • มีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวข้องกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมดังนี้
        ห้ามนายจ้างเลิกจ้างหรือกระทำการใดๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ได้ เพราะเหตุที่นัดชุมนุม ฟ้องร้อง หรือเป็นพยานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต่อศาลแรงงาน
Ø  เลิกจ้างหรือกระทำการใดๆอันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้เพราะเหตุที่ลูกจ้างนั้นเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
Ø ขัดขวางในการที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือให้ลูกจ้างออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน
Ø ขัดขวางการใช้สิทธิของลูกจ้างในการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
Ø การแทรกแซงในการดำเนินการของสหภาพแรงงาน
      
       ห้ามมิให้ผู้ใด
       บังคับหรือ ขู่เข็ญให้ลูกจ้างต้องเป็นหรือต้องออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
 
บทบัญญัติพิเศษสำหรับสหภาพแรงงาน
(1)ได้รับข้อยกเว้นไม่ต้องถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้องเป็นคดีอาญาหรือคดีแพ่งในกรณี เจรจาทำความตกลงกับนายจ้างเพื่อเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ที่สมาชิกสมควรได้รับ
(2)ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน โดยให้ถือวันลาของลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงาน
ขอขอบคุณ ชมรมเพื่อเพื่อน
โดย นายนรินทร์  แก้ววารี
คำสำคัญ (Tags): #สหภาพแรงงาน
หมายเลขบันทึก: 189763เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท