Unit Cost


ต้นทุนต่อหน่วย ประสิทธิภาพ

วันที่ 18 มิถุนายน ได้รับเกียรติจากกรมบัญชีกลาง  โดยสำนักการคลัง  จัดวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้เรื่อง การจัดทำต้นทุนต่อหน่วย ตามแนวทางของกรมบัญชีกลาง  เพื่อให้เป็นไปตาม พรฎ.ว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  ที่กรมบัญชีกลางเป็นผู้รับผิดชอบ ให้ส่วนราชการศึกษาต้นทุนต่อหน่วย  เพื่อประเมินความคุ้มค่า คุ้มทุน ในระยะต่อไป  เรื่อง ต้นทุนต่อหน่วย  หรือ Unit Cost สำหรับสถาบันอุดมศึกษานั้น มีการศึกษากันมานาน พบว่า มีหลักคิดและแนวทางต่างกัน  หลายแนวทาง  เพื่อดูว่ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง มีต้นทุนต่อหน่วย ด้านการการผลิตบัณฑิต  วิจัย  บริการวิชาการ  และศิลปวัฒนธรรม ต่างกันอย่างไร?  ขณะนี้มีรูปแบบ 3 แนวทาง คือ  ตามกรมบัญชีกลาง  สำนักงบประมาณ  และแนวคิดของ มจธ.ธนบุรี  ภาคบ่าย เป็นการปรึกษาหารือ ปรับทุกข์ ปรับสุข กับคณะหน่วยงาน สรุปได้ว่า  ควรรวมกลุ่มเพื่อศึกษาและติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด  โดยกองแผนงานรับเป็นผู้ประสาน  เรื่องต้นทุนนี้ก็แปลก  เรามีคณะบัญชีที่โดดเด่น ระดับชาติ นานาชาติมากมาย เป็นที่ปรึกษาการจัดทำบัญชีทั่วโลก  แต่ต้นทุนของมหาวิทยาลัยทำไม่ได้  หรือทำได้ แต่มีข้อโต้แย้ง  ตัวเลขตัวเดียวกัน บางครั้งก็ดูมาก  หากจะถูกวัดเรื่องประสิทธิภาพ  บางครั้งก็ดูน้อยหากจะนำไปของบประมาณ  สกอ. โดยทบวงมหาวิทยาลัยสมัยนั้น ก็ใช้งบประมาณเพื่อการนี้ไปมากทีเดียว  ในการเชิญผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ และการไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ  การจัดทำระบบบัญชีสามมิติ  ยังไม่นับรวมมิติที่ 4 คือ มิติมืด อีก  เรื่องนี้ยากจริงๆ 

หมายเลขบันทึก: 189270เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2008 19:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วันนี้ได้คุยกันเรื่องนี้กับเพื่อน เห็นว่าเรื่องบัญชีต้นทุนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน การที่จะนำตัวเลขต่างๆมาคำนวณ หากมีการร่วมกันคิด ร่วมกันหาแนวทางเพื่อตกลงไปในทางเดียวกัน คงจะได้แนวทางดีๆที่จะนำมาปฏิบัติต่อไปได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท