ผู้บริหารสถานศึกษา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ในเขตพื้นที่การศึกษาพังงา นั้น กระบวนการจัดการความรู้ในสถานศึกษา ยังเป็นเพียงขั้นการแสวงหาความรู้ เท่านั้น เป็นเพียงการแสวงหาความรู้โดยการศึกษาด้วยตนเอง โดยการศึกษาหาความรู้นอกสถานศึกษา โดยการประชุม  อบรม  สัมมนา  ศึกษาดูงาน หรือการเป็นวิทยากร  โดยการศึกษาหาความรู้ในสถานศึกษา โดยการเชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยายให้ความรู้ในสถานศึกษา  การนิเทศภายใน เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนการแสวงหาความรู้นี้ เป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และอาจจะพัฒนาเป็นความรู้ที่ฝังลึก(Tacit Knowledge) ในตัวบุคคลได้

ในความเป็นจริงนั้น กระบวนการจัดการความรู้ นั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งผู้บริหารสถานเดียวกันศึกษา สามารถจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสถานศึกษา ได้ คือ เมื่อบุคคลากรมีความรู้จากขั้นตอนการแสวงหาความรู้แล้ว ผู้บริหารอาจจะจัดให้มีชุมชนักปฏิบัติ (Commutiies of Practices : CoP) ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรที่มีความสนใจเรียนรู้หรือต้องการพัฒนาตนเองในเรื่องเดียวกัน เช่น  การทำวิจัยในชั้นเรียน  การดูแลช่วยเหลือนักเรียน  เทคนิคการส่งเสริมการเรียนรู้แนวใหม่ที่น่าสนใจ การแก้ปัญหานักเรียนในเรื่องต่าง ๆ   เป็นต้น  สมาชิกใน CoP  นำประสบการณ์ที่สามารถจัดการในเรื่องนั้น ๆ ได้ดี มาถ่ายทอดให้สมาชิกคนอื่น ๆ ทราบ ด้วยวิธีการเล่าเรื่อง (Story  Telling) หรือ การระดมสมอง (Brain Stroming) สมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่ม ก็จะเลือกวิธีการที่เหมาะสม นำไปใช้พัฒนานำไปใช้ในการปฏิบัติงานของตนเองได้  สมาชิกใน CoP  มีการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอด  ความรู้ซึ่งกันและกัน และนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางานของตนเอง ให้เหมาะสมกับบริบท  สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา จนกลายเป็นความรู้ขององค์กร เป็นความรู้ฝังลึกในสถานศึกษา เป็นความรู้แฝงในองค์กร (Implicit Knowledge) ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษา สามารถบริหารจัดการให้บุคลากรมีการจัดเก็บความรู้ ขององค์กร  ผู้บริหารสถานศึกษาอาจจะจัดตั้งเป็นคณะกรรมการ ก็ได้ ในการจัดเก็บความรู้ อาจจะจัดเก็บในรูป Multimedia  จัดเก็บความรู้ใน KMC ใน Blog  ก็ได้  ขั้นตอนนี้ก็คือ การจัดเก็บความรู้

ขั้นตอนอีกขั้นคือ การนำความรู้ไปใช้  บุคลากรในองค์กรสามารถนำความรู้ที่ได้จัดเก็บไว้ นำไปใช้ในการพัฒนางาน โดยอาจจะใช้ในการบริหารงานวิชาการ  งานบริหารงบประมาณ งานบริหารงานบุคคล หรืองานบริหารทั่วไป ก็ได้ซึ่งในการนำความรู้ไปใช้นั้นจะต้องมีการค้นคว้า  รวบรวม สืบค้น อย่างเป็นระบบ นั่นก็คือ ใช้กระบวนการวิจัย นั่นเอง สำหรับครู ใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน(Classroom  Action  Reseaech : CAR) สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา  ใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ  หรือวิจัยสถาบัน(Action  Research หรือ Institutional Research) ในการวิจัยนั้น ต้องใช้กระบวนการที่เป็นขั้นตอน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่ถูกต้อง ชัดเจน น่าเชื่อถือ โดยอาจแสวงหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ ทั้งที่ปรากฎชัดเแจ้ง หรือสัมภาษณ์จากตัวบุคคลที่เป็นความรู้ฝัลลึก ซึ่งก็จะกลายเป็นขั้นตอนการแสวงหาความรู้ ต่อไป

            โดยสรุปแล้ว กระบวนการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สามารถสรุปเป็นขั้นตอน ได้คือ

            ๑. การแสวงหาความรู้

            ๒. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

            ๓. การจัดเก็บความรู้

            ๔. การนำความรู้ไปใช้

            สำหรับในวันที่ ๒๐ - ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๑  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา ได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หนึ่งวัน โดยสมาชิกที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  ๔๔ คน และมีการจัดเก็บความรู้ทางKMC สพท.พังงา และทาง Blog จำนวนหนึ่งวัน และคาดว่าผู้บริหารสถานศึกษาจะได้นำความรู้ไปใช้ และแสวงหาความรู้ ต่อไป

แลกเปลี่ยนเรียนรู้           แลกเปลี่ยนเรียนรู้

            ถ้าทำได้เช่นนี้ เขตพื้นที่การศึกษาพังงา สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาพังงา ก็จะได้ใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษา อันจะทำให้สถานศึกษามีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ นักเรียนมีคุณภาพต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 189095เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2008 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น้องยาครับ หลังจากอบรม KM (รุ่นแรก) มาไม่ค่อยได้ใช้งานอะไร สุดท้ายลืม User, Password ที่สมัครไว้(ตั้งนานแล้ว)ที่นี้จะทำไงดีหละครับ/รณรงค์.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท