การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะแพทยศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2550


ภาพบรรยากาศและข้อเสนอแนะโดยรวมจากคณะกรรมการผู้ประเมิน

     เมื่อวันที่ 16-17 มิถุนายน 2551 งานประกันคุณภาพการศึกษาได้จัดโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะแพทยศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2550 โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.จิตเจริญ  ไชยาคำ เป็นประธานคณะกรรมการผู้ประเมิน, รศ.นพ.อานุภาพ  เลขะกุล, รศ.ดร.จันทรรัตน์  สิทธฺวรนันท์, อ.จินตนา  พนมชัยชยวัฒน์ ร่วมเป็นคณะกรรมการ 

   

  

     คณะแพทยศาสตร์ได้คะแนนการประเมินคุณภาพการศึกษา เท่ากับ 1.54 จากคะแนนเต็ม 3 โดยคณะกรรมทั้ง 4 ท่าน ได้ให้ความรุ้ ข้อเสนอแนะต่างๆในแต่องค์ประกอบ และข้อเสนอแนะในภาพรวม ดังนี้คือ

1.     คณะกรรมการประจำคณะควรทำความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องถึงความสำคัญ และ ความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยเฉพาะผู้ที่รับผิดชอบในศูนย์แพทยศาสตร์ที่มีนิสิตออกไปเรียนรู้กระจาย  ตามโรงพยาบาลต่างๆ

2.     คณะกรรมการประกันคุณภาพ ควรทำความเข้าใจกับบุคลากรทุกระดับในการวางแผน ดำเนินการและเก็บรวมรวมข้อมูล เพื่อมาวิเคราะห์ในการจัดทำรายงานประเมินตนเอง โดยเน้นช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องในปีการศึกษาที่ทำการประเมิน รวมทั้งเอกสารอ้างอิง โดยมีการกลั่นกรอง ทั้งนี้เพื่อทำให้ข้อมูลต่างๆที่ใช้เป็นหลักฐานตรงกับระยะเวลาที่เหตุการณ์เกิดขึ้น

3.     ในบทสรุปผู้บริหารควรจะเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รับการประเมิน และ คณะกรรมการประกันคุณภาพควรจะสร้างระบบและกลไกในการตรวจสอบเอกสารอ้างอิงที่เกิดในช่วงเวลาดังกล่าว

4.     คณะกรรมการประกันคุณภาพ ควรสรุป และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานจากข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ มานำเสนอปัจจัยและผลสัมฤทธิ์ของความสำเร็จเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา  ในปีการศึกษาต่อๆไป

5.       ระบบการประกันคุณภาพยังไม่สามารถดำเนินการได้ครบ สถาบันผลิตแพทย์ร่วมยังไม่ได้จัดทำรายงานการตรวจประเมินคุณภาพ

6.       การประสานงานของแต่ละสถาบันผลิตแพทย์ร่วมต้องชัดเจนและต่อเนื่อง

7.       การสร้างความเข้าใจในเกณฑ์มาตรฐานที่มีอยู่เดิม และให้ข้อมูลดังกล่าวใช้ได้กับทั้งเกณฑ์ สกอ. และเกณฑ์ กสพท.

8.       การเขียน SAR ที่ดี ควรมีระบบการอ้างอิงที่เข้าใจง่าย สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละ       ตัวบ่งชี้

9.       การจัดทำระบบประกันคุณภาพ

-         การจัดระบบเอกสารที่เข้า-ออก จะช่วยในการจัดระบบเอกสารที่มาจากหลากหลายทาง

-         การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลากหลายที่

-      การทำความเข้าใจในแต่ละองค์ประกอบ แต่ละตัวบ่งชี้ให้ชัดเจนในการประเมินในระดับภาควิชา เพื่อลดขั้นตอนและความซ้ำซ้อน ไม่จำเป็นของข้อมูล  ยกตัวอย่างเช่น องค์ประกอบที่ 4 ด้านการวิจัย และองค์ประกอบที่ 5 ด้านการบริการวิชาการ และองค์ประกอบที่ 6 ด้านการทำนุบำรุงฯ ในตัวบ่งชี้ที่เน้นเรื่องระบบและกระบวนการ

      งานประกันคุณภาพการศึกษา  ขอขอบพระคุณคณะกรรมการ  ผู้บริหารทุกท่าน  และเจ้าหน้าที่ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้การประเมินฯในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดี และทางคณะแพทยศาสตร์ขอน้อมรับข้อเสนอแนะต่างๆจากท่านคณะกรรมการ และจะได้นำไปพัฒนาปรับปรุงการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะให้ดียิ่งๆขึ้นไป...

**ทุกท่านสามารถติดตามข่าวสารและผลการประเมินภายในคณะแพทยศาสตร์ และผลการตนเองของแต่ละภาควิชา ประจำปีการศึกษา 2550 ได้ที่ website ของงานประกันคุณภาพการศึกษาค่ะ**

 

หมายเลขบันทึก: 188889เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2008 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน ท่านกนกทิพย์ และ ทีมประกันคุณภาพ ชาว ม.น

  • ต้องกราบขอบพระคุณครับที่ให้ คณะกรรมการ เข้ามาเรียนรู้ นวตกรรม การเรียนการสอน ที่นี่ 
  • หากในปีการศึกษา ๒๕๕๑ จะทำวิจัยสถาบัน เรื่อง การสร้างระบบและกลไก ของการพัฒนาโรงเรียนแพทย์ของ ม.น จะดีมากมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท