มาตรา 190 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ


มาตรา 190 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ

ประเด็นร้อน ๆ เรื่องปราสาทพระวิหาร ลองพิจารณากันดูว่า ประเทศไทย ได้หรือเสียประโยชน์อย่างไร

 

รัฐธรรมนูญ

มาตรา ๑๙๐

พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ

หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่ง ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ อย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว

ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ ตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้อง ชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา เพื่อขอความเห็นชอบด้วย

เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติ ตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม

ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบ ต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตาม หนังสือสัญญาดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป

ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม

อ้างอิง

อ่าน รัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 9

 

 

"ม.ล.วัลย์วิภา"ชี้กลุ่มการเมืองใช้เขาพระวิหารบังหน้าแลกประโยชน์

"ม.ล.วัลย์วิภา"นักวิชาการไทยคดี มธ.จี้รัฐบาลไทย-รัฐบาลกัมพูชาแสดงความโปร่งใสในการยื่นจดทะเบียนประสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก เชื่อเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นสื่อบังหน้าความต้องการเปลี่ยนเส้นเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเลของไทย เพื่อหวังผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มการเมือง ชี้แผนที่กัมพูชาขีดเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลกินเกาะกรูดและพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติ สอดคล้องข้อมูล "สนธิ"ที่ส่งให้ ผบ.ทบ.เมื่อปี 49 เร่งนักวิชาการร่วมกันเขียนข้อเสนอยูเนสโกชะลอขึ้นทะเบียนประสาทเขาพระวิหาร


 
ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัย 9 สถาบันไทยคดีศึกษา มธ.
 

      วันนี้(18 มิ.ย.) เมื่อเวลา 12.30 น.ที่ชั้น 9 ตึกเอนกประสงค์ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าวเรื่องข้อเท็จจริงจากพื้นที่กรณีขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของมนุษย์โดย ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัย 9 สถาบันไทยคดีศึกษา นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล ผู้ช่วยนักวิจัย และทีมงาน
      โดย ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวว่า การศึกษาของทีมงานครั้งนี้ไม่ใช่งานวิจัย แต่เป็นการลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่โดยเป็นการชี้เบาะแสเชิงวิชาการ และมีการศึกษาอย่างเป็นระบบ หลังจากที่ได้ฟังนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการขอขึ้นทะเบียนประสาทเขาพระวิหารว่าเป็นเพียงการบริหารจัดการพ้นที่ทับซ้อนและเป็นเรื่อง win-win เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา จึงเกิดความรู้สึกว่า ปัญหาเรื่องประสาทเขาพระวิหารเป็นเรื่องอึมครึมและน่าอึดอัดในความรู้สึกของคนไทยแต่เหตุใดรัฐบาลไทยจึงไม่พูดเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน จึงได้ลงพื้นที่ไปศึกษาเรื่องดังกล่าว
     
      ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวต่อไปว่า ปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชานั้น ทางฝ่ายกัมพูชาพยายามรักษาอธิปไตยของตนเอง โดยมีการสร้างชุมชน ตลาดและวัดเข้ามาในดินแดนฝั่งไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาไม่ได้ยึดถือหลักเขตแดนของไทยตามมติ ครม.เมื่อปี 2505 ของไทย โดยที่รัฐบาลของไทยไม่ได้มีความพยายามดำเนินการใดๆ และเมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่กัมพูชากับไทยได้เจรจาร่วมกันมา ทางกัมพูชาได้ยื่นข้อเสนอขอเปิดจุดผ่านแดนช่องตาเฒ่า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทางกัมพูชาเตรียมไว้สำหรับเปิดศูนย์การค้า แหล่งบันเทิงและกาสิโน และเมื่อตนย้อนกลับไปดูการจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชาทางทะเลที่ลากจากหลักกิโลเมตรที่ 73 จ.ตราด ได้พบแผนที่ของกัมพูชาที่มีการเขียนหลักเขตแดนทางทะเลผ่านเกาะกรูดของไทย และกินพื้นที่พัฒนาร่วม หรือ JDA ซึ่งเป็นจุดที่มีทรัพยากรธรรมชาติขนาดใหญ่ และเป็นเส้นเขตแดนทางทะเลที่แตกต่างจากเส้นเขตแดนของไทย โดยกินพื้นที่ของไทยเข้ามาด้วย ทั้งนี้ แผนที่ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุด เรื่อง เรียกร้องขอให้ทหารหาญของชาติแสดงจุดยืนปกป้องผลประโยชน์ชาติ กรณีเร่งรัดแบ่งเขตแดนทางทะเลไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2549
     
      “เส้นเขตแดนทางทะเลมีเส้นเขตแดนเดิมตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศสที่เกาะกรูดจะต้องเป็นของไทย และในปี 2544 รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้บรรลุข้อตกลงกับทางกัมพูชา ด้วยการทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งน่าสงสัยว่า ทำไมการปักปันเขตแดนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและเป็นอธิปไตยของชาติ เหตุใดจึงไม่มีการเปิดเผยข้อมูลในวงกว้าง หรือผ่านกระบวนการรับรองการเปลี่ยนเส้นเขตแดนที่ไม่ใช่ฝ่ายบริหารรับรู้แต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น จึงเชื่อว่าเขาพระวิหารเกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดน และเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพื้นที่ JDAด้วย
     
      ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวอีกว่า ในนามของคณะวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอแถลงการณ์ว่า 1.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ที่แท้จริงมิใช่ราชอาณาจักรไทยหรือราชอาณาจักรกัมพูชา แต่เป็นรัฐบาลไทยกับประชาชนไทย ดังนั้น ข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือนทุกคนจะต้องตัดสินใจแล้วว่า ตนกำลังปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือไม่ หรือของใคร 2.สิ่งที่รัฐบาลทำวันนี้ คือ รัฐบาลไปยอมให้ราชอาณาจักรกัมพูชาขึ้นทะเบียนแต่ฝ่ายเดียวและยอมรับแผนที่ของกัมพูชาที่ไม่ยอมรับอธิปไตยตามมติคณะรัฐมนตรี 2505 และยังยอมไปทำแถลงการณ์ร่วมในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันโดยยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องเขตแดนแม้แต่น้อย ผลเสียตามกฎหมายปิดปากก็จะเกิดขึ้น
     
      “เมื่อรัฐบาลไทยไม่ยับยั้งหรือคัดค้าน ประชาชนคนไทยควรร่วมกันยับยั้งหรือคัดค้านโดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิชุมชน และส่งเรื่องไปตามขั้นตอนและเวลาอย่างเร่งด่วนผ่านองค์การยูเนสโกในประเทศไทย ไปยังคณะกรรมการมรดกโลก จึงขอความร่วมมือของนักวิชากร ข้าราชการประจำองค์กรภาคประชาชน สื่อและประชาชนทุกคนมาร่วมกัน ศึกษาพิจารณาดูข้ออ้างที่จะมาใช้เพื่อให้มีการเลื่อนการพิจารณาประสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ที่สำคัญคณะวิจัยมองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องความต้องการเปลี่ยนเส้นเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเลของไทย เพื่อหวังผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มการเมือง โดยมีเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นสื่อบังหน้า
     
      ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวเพิ่มเติมว่า หากไม่ยืนยันเขตอธิปไตยหรือเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 ไทยจะเสียดินแดนให้กัมพูชา ซึ่งแผนที่ใหม่ของกัมพูชามีนัยเป็นการยืนยันท่าทีของกัมพูชาที่ไม่ยึดถือเขตอธิปไตยหรือเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 เมื่อไม่มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้ชัดเจนเสียก่อน แต่เลือกแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมและออกแถลงการณ์ร่วม ไทยจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบและเสียดินแดนให้กัมพูชาในที่สุด
     
      “รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาไม่มีความไม่โปร่งใสในเรื่องดังกล่าว ซึ่งการขึ้นทะเบียนประสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกของโลกเป็นเรื่องดี ดังนั้น รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศควรจะทำเรื่องนี้ให้โปร่งใส ไม่ควรทำเพื่อประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง หรือเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สำหรับนักวิชาการที่ต้องการร่วมกันระดมความเห็นเพื่อยื่นข้อเสนอส่งให้ยูเนสโกชะลอการประกาศเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกให้ทันวันที่ 2 กรกฎาคมที่จะถึง ซึ่งจะมีการประชุมเรื่องดังกล่าว สามารถติดต่อได้ทาง [email protected] และขอให้นักวิชาการออกมาช่วยกัน เพราะขณะนี้เหลือเวลาอีกไม่มากแล้ว และการที่ดิฉันไม่ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย เพราะรัฐบาลไทยเพิกเฉย จึงจำเป็นต้องยื่นข้อเสนอไปถึงยูเนสโกแทนม.ล.วัลย์วิภากล่าว

อ้างอิง
www.oknation.net

 

 

กมธ.ตปท.ยื่นกระทู้ด่วนข้องใจกรณีปราสาทพระวิหาร

รัฐสภา 17 มิ.ย. - กมธ.ต่างประเทศ ยื่นกระทู้ถาม นพดลสงสัยอาจมีวาระซ่อนเร้นกรณีปราสาทพระวิหาร จี้ให้เปิดเผยแผนที่ใหม่ที่กัมพูชาทำขึ้นต่อสาธารณะ ระบุการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตดินแดนโดยไม่ผ่านความเห็นรัฐสภาอาจผิดมาตรา 190

ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ส.ว.สรรหา ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา เปิดเผยว่า หลังจากที่กรรมาธิการการต่างประเทศ ร่วมกับ กรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปและวัฒนธรรม วุฒิสภา จัดสัมมนาเรื่อง การเสนอให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกันระหว่างไทย-กัมพูชา ในลักษณะข้ามพรมแดน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา จึงได้ยื่นกระทู้ด่วนถามนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว เนื่องจากวันที่ 2-10 กรกฎาคม 2551 ที่ควิเบก ประเทศแคนาดา จะมีการประชุมหาข้อสรุปเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

ม.รว.ปรียนันทนา กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่จะสอบถามมี 4 ประเด็น คือ 1.รัฐบาลเตรียมประเด็นที่จะชี้แจงในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกอย่างไร และจะพิจารณาในวาระใด 2.ขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการที่รัฐบาลจะนำไปคัดค้านหรือสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของรัฐบาลกัมพูชา 3.เมื่อยังมีปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนอยู่และการประท้วงของไทยเกี่ยวกับการก่อสร้างล่วงล้ำเข้ามาของฝ่ายกัมพูชาฝ่ายเดียว เชื่อได้อย่างไรว่า กัมพูชาจะไม่รื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่รุกล้ำ และจะให้ไทยมีส่วนร่วมในการบริหารพื้นที่ทับซ้อนอื่น ๆ และ 4. ถ้ารัฐบาลกัมพูชาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว คาดว่าจะมีผลกระทบอย่างไรและรัฐบาลได้เตรียมการเรื่องดังกล่าวไว้เช่นใดบ้าง ทั้งนี้ กมธ.ต่างประเทศ จะประชุมอีกครั้ง ซึ่งอาจมีมติส่งหนังสือถึงกระทรวงต่างประเทศและยูเนสโกขอให้ชะลอการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกออกไปก่อน

ม.ร.ว.ปรียนันทนา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครทราบว่า แผนที่ใหม่ที่นายนพดล ระบุนั้นเป็นอย่างไร ควรจะแถลงให้สังคมทราบ หากมีการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตดินแดนโดยไม่ผ่านความเห็นต่อรัฐสภาจะเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 190 นำมาซึ่งการถอดถอนต่อไป. - สำนักข่าวไทยอัพเดตเมื่อ 2008-06-17 18:26:32

หมายเลขบันทึก: 188880เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2008 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรื่องนี้เหมือนหลายๆ คนไม่ค่อยสนใจนะ ไม่แน่ใจว่ายอมรับระบอบทักษิณกันแล้วหรือว่าอย่างไร พูดอะไรรัฐบาลเขาก็ไม่สนใจ คงยอมกันหมดแล้วก็เป็นได้ แต่ผมยังไม่ยอมนะ มีวิธีการใดที่จะคัดค้านได้ผมร่วมคัดค้านด้วยคน ในฐานะคนศรีสะเกษด้วย

 

 

กองทัพกดดัน"นพดล"บี้เขมรปรับแผนที่กินแดนไทย

 

 

 


เผยเบื้องลึกปมเปิดเผยแผนที่เขาพระวิหาร หลังกองทัพไม่สบายใจแผนที่ของกัมพูชารุกล้ำเขตพื้นที่ทับซ้อน 10 เมตร หวั่นเสียดินแดน แต่ต้อง "เจรจาลับ" หลายรอบจน "นพดล" ยอมบินไปคุยกัมพูชา โดยยึดแผนที่ปี 2505 ตามคำพิพากษาศาลโลก

ความพยายามของประเทศกัมพูชาในการยื่นขอขึ้นทะเบียนต่อองค์การยูเนสโก เพื่อพิจารณาให้ "เขาพระวิหาร" เป็น "มรดกโลก" กระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อความรู้สึกของคนไทย เพราะถึงแม้ตัวปราสาทจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชาตามคำพิพากษาศาลโลก ทว่า พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีโบราณวัตถุต่างๆ เช่น สระตราว สถูปนูนต่ำ บันไดทางขึ้นเขาพระวิหาร ฯลฯ ก็ยังเป็นข้อพิพาทที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ทำให้เกิดกระแสชาตินิยม เพราะเกรงว่าไทยจะ "เสียดินแดน" ดังกระหึ่มขึ้นมาอีกครั้ง

 ดังนั้น จึงช่วยไม่ได้ที่ นายนพดล ปัทมะ รมว.การต่างประเทศ จะถูกโจมตีอย่างรุนแรง หลังจากพยายามสานต่อความพยายามของรัฐบาลกัมพูชา ที่จะขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างขมีขมันจนผิดสังเกต

 ท่ามกลางข้อครหาว่า อาการรีบเร่งของนายนพดลเกี่ยวพันอะไรกับข่าวการลงทุนเช่าเกาะกงไปทำเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหรือไม่

 แถมยังมีข่าวเรื่องพื้นที่ทับซ้อนในทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งมีพื้นที่กว่า 3 หมื่นตารางกิโลเมตร และคาดว่าจะมีขุมทรัพย์ทางพลังงาน ทั้งก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมัน ซุกอยู่ใต้ผืนทะเลอย่างมหาศาล

 ด้วยเหตุนี้ การเจรจาเรื่องเขาพระวิหารของนายนพดล จึงถูกจับตามองทุกฝีก้าวว่ามี "วาระซ่อนเร้น" อะไรอีกหรือไม่

 ยิ่งนายนพดลมีท่าทีเกรี้ยวกราดต่อคนศรีสะเกษ ที่ออกมาเรียกร้องให้เปิดเผยผลการเจรจาและแผนที่ฉบับที่ไปตกลงกับรัฐบาลกัมพูชา และการไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ฉบับดังกล่าวต่อที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ยิ่งทำให้เป็นที่สงสัยทวีคูณ

 นั่นจึงทำให้นักวิชาการด้านต่างๆ ออกมาตั้งข้อสงสัยถึงท่าทีของนายนพดล และรายละเอียดที่ซุกซ่อนอยู่ในแผนที่ปริศนากันอย่างกว้างขวาง

 ส่วนพรรคฝ่ายค้านก็จี้ให้เปิดเผยแผนที่ฉบับนี้เสียที ขณะที่กลุ่มพันธมิตรก็เคลื่อนพลไปกดดันหน้ากระทรวงการต่างประเทศมาแล้ว โดยตั้งข้อหาฉกรรจ์แก่นายนพดล ถึงขั้น "ขายชาติ" เลยทีเดียว

 ฝ่ายทหารก็มีท่าทีไม่พอใจอย่างมาก ที่นายนพดลไม่ยอมให้ดูแผนที่ แถมยังมาชี้แจงรายละเอียดสั้นๆ และกำชับให้กรมแผนที่ทหารห้ามเผยแพร่แผนอย่างเด็ดขาดอีกด้วย

 เมื่อแรงกดดันถาโถมเข้าใส่จากทุกสารทิศ จึงทำให้นายนพดลตัดสินใจนำรายละเอียดของแผนที่ฉบับที่ไปตกลงกับกัมพูชามาเผยแพร่ เพื่อลดแรงกดดัน แต่กว่าจะเอาแผนที่ออกมาโชว์ได้ก็ต้องผ่านการงัดข้อประลองกำลังกับฝ่ายทหารมาชนิดเหงื่อตกเลยทีเดียว

 มีรายงานว่า แผนที่ที่นายนพดลถือมาจากฝ่ายกัมพูชา มีพื้นที่ "รุกล้ำ" เข้ามาในเขตพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา 10 เมตร คือ มีการขีดเส้นออกมาจากบันไดหินขั้นที่ 162 วัดได้ระยะ 30 เมตร ซึ่งโฆษกรัฐบาลกัมพูชาระบุว่า เป็นกฎหมายภายในของกัมพูชาที่ใช้กับโบราณสถานทุกแห่ง

 ปมปัญหา คือ ตามข้อตกลงเมื่อปี 2505 อาณาเขตกัมพูชาจะสามารถขีดออกมาจากบันไดหินขั้นที่ 162 ได้เพียง 20 เมตรเท่านั้น ฉะนั้นพื้นที่ที่เกินมาอีก 10 เมตร จึงทำให้ฝ่ายทหารไม่สบายใจ

 เพราะนี่มันเสียดินแดนชัดๆ

 ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายทหารจึงพยายามชี้แจงให้นายนพดลเข้าใจว่า หากยึดถือแผนที่ฉบับที่กัมพูชาส่งมาอาจจะมีการรุกล้ำพื้นที่ทับซ้อนที่เป็นปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชา ประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร จึงขอให้นายนพดลไปเจรจาให้รัฐบาลกัมพูชายึดแผนที่ฉบับเดิมที่ตกลงกันไว้

 การเจรจาหารือเรื่องนี้มีขึ้นระหว่างตัวแทนสามฝ่าย ได้แก่ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ กระทรวงการต่างประเทศ และ พล.ท.แดน มีชูอรรถ เจ้ากรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย

 กรมแผนที่ทหารที่ไปสำรวจพื้นที่บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ได้แจ้งกระทรวงการต่างประเทศว่า ต้องมีการเจรจาให้ดี มิเช่นนั้นฝ่ายไทยอาจจะต้องเสียดินแดน

 แต่กว่าจะได้ข้อสรุปก็ต้องมีการ "เจรจาลับ" อยู่หลายรอบ โดยนายนพดลรับเป็นผู้เจรจากับประเทศกัมพูชา และถือแผนที่กัมพูชามาเปรียบเทียบกับแผนที่ไทย เพราะแผนที่ที่แต่ละฝ่ายถือไว้เป็นแผนที่ "คนละฉบับ" มาตั้งแต่ก่อนมีคำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 แล้ว

 โดยกัมพูชาต้องการให้ใช้แผนที่อัตราส่วน 1:200,000 ที่ทำขึ้นโดยประเทศฝรั่งเศส ในช่วงที่มีการล่าอาณานิคม

 ส่วนฝ่ายไทยใช้แผ่นที่อัตราส่วน 1:50,000 ตามมติ ครม.ปี 2505 ในสมัยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

 ฝ่ายทหารมองว่า หากยึดตามแผนที่ฉบับของกัมพูชาจะทำให้พื้นที่ของตัวปราสาทรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อน จึงขอให้นายนพดลไปเจรจาขอให้รัฐบาลกัมพูชาทำแผนที่ฉบับใหม่ขึ้นมา โดยยึดตามข้อตกลงปี 2505

 นายนพดลยินยอมตามข้อเสนอของฝ่ายทหาร จึงเดินทางไปเจรจากับตัวแทนรัฐบาลกัมพูชา ทั้งที่เกาะกง และกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 22-23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

 ในที่สุดแผนที่กัมพูชาเสนอมาให้ใหม่ ก็ให้ความยินยอมตามที่ไทยร้องขอไป โดยใช้เขตแดนนับจากตัวปราสาทเขาพระวิหารไปทางตะวันตก 100 เมตร และขึ้นไปทางเหนือ 20 เมตร ตามแผนที่ แอล 7017

 ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จึงมีมติยอมรับ และเสนอเข้าที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ซึ่งมีมติเห็นพ้องตาม สมช. เพราะเห็นว่าแผนที่ฉบับที่กัมพูชาส่งมาให้พิจารณาไม่รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อนที่เป็นปัญหามานาน

 ครม.จึงมอบหมายให้นายนพดลเป็นผู้ลงนามตามข้อเสนอกัมพูชา ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยมีเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยมาร่วมเป็นสักขีพยาน

 หลังจากนั้นฝ่ายกัมพูชาจะส่งให้ยูเนสโกพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในการประชุมดับเบิลยูเอชซี ครั้งที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ในกลางเดือนกรกฎาคมนี้

 แต่ข้อตกลงครั้งนี้จะ "แฮปปี้เอ็นดิ้ง" ไปตลอดรอดฝั่งหรือไม่ ก็ต้องรอดูต่อไป เพราะยังมีนักวิชาการบางส่วนท้วงติงว่า ไทยยัง "มีสิทธิ์" ในการเรียกร้องกรรมสิทธิ์เขาพระวิหารคืนได้ทุกเมื่อ เพราะรัฐบาลไทยเคยร้องขอที่จะ "สงวนสิทธิ์" ในการทวงคืนเอาไว้ตั้งแต่ปี 2505

 การยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ก็เท่ากับ "ตัดสิทธิ์" ในการทวงคืนเขาพระวิหารไปโดยปริยาย

 นั่นคือข้อท้วงติงที่แหลมคม และต้องพิสูจน์กันต่อไป แต่การแถลงข่าวเพื่อชี้แจงของนายนพดลครั้งล่าสุด ก็ช่วยลดกระแสโจมตีรัฐบาลไปได้พอสมควร

 ขืนแบกข้อหาขายชาติ โดยไม่ยอมชี้แจง ย่อมถูกฝ่ายตรงข้าม "ล่อเป้า" และ "ขยายผล" จนมีสิทธิ์หล่นเก้าอี้ได้ไม่ยาก !!!

 

 

ทีมข่าวความมั่นคง

อ้างอิง

http://www.komchadluek.net/2008/06/19/x_scoo_p001_207715.php?news_id=207715

 

ผมก็รักประเทศไทย รักพระเจ้าอยู่หัว รักพี่น้องเพื่อนไทย แต่เกลียดไอ้พวกอำมาตย์อำมหิตบ้าอำนาจ เกลียดไอ้พวกโกหกตอแหลไอ้เจ๊กโกเต็กและแก๊งค์พันธมารที่อยู่เหนือฎกหมาย เกลียดไอ้พวกศาลที่ไร้ความยุติธรรม เกลียดไอ้พวก ปปช. คตส.และอีกหลาย ๆ องค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อนพวกพ้องของพวกมันและกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้าม เกลียดไอ้พรรคแมงสาบเหม็นโฉ่ที่เต็มไปด้วยเรื่องทุจริต

อำมาตย์แดง เหลือง น้ำเงิน

บนโลกนี้ไม่มีอะไรหยั่งยืน อำนาจก็เช่นเดียวกัน การที่คนเราจะเกลียดใครนั้นเกลียดได้ แต่ถ้าใช้อารมณ์โดยไม่หาข้อมูลที่มากเพียงพอความเกลียดนั้นก็จะไม่เป็นประโยชน์ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ หากรักในหลวงรักประเทศไทย เราคนไทยต้องสามัคคีและรักษาผลประโยชน์ให้กับประเทศไทย ประชาชนคนไทย คนไทยไม่มีการแบ่งแยก ถ้าหากคนไทยคิดแบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย ประไทยจะไม่เหลืออะไร การที่รักประเทศไทยต้องรักด้วยใจอย่างแ้ท้จริง

 

 


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท