โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

เผยแพร่ผลงานวิชาการ ของครูจุ๋ม


ประเมินวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ

ชื่อเรื่อง                       การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมิเดีย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

                                      (ดนตรี)  เรื่องดนตรีกับชีวิต  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

                                      โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)  สำนักการศึกษา  เทศบาลนครนครราชสีมา 

                                      กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย

ผู้ศึกษา                        นางพัชรี  ศิริเจริญ

สถาบัน                        โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)  สำนักการศึกษา  เทศบาลนครนครราชสีมา 

                                      กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย

ปีที่ทำ                           2550

 

บทคัดย่อ

                                               

                   บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมิเดียเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ครอบคลุมเนื้อหาและกิจกรรมหรือวิธีการเรียนที่จัดไว้ล่วงหน้า  สามารถมีปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบผู้เรียนได้ทันที  สะดวกในการแก้ไขข้อบกพร่องผิดพลาดของการเรียนแต่ละครั้ง  ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย

เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมิเดีย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  (ดนตรี)  เรื่องดนตรีกับชีวิต  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลตามเกณฑ์  80/80 

เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

มัลติมิเดีย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  (ดนตรี)  เรื่องดนตรีกับชีวิต  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  (ดนตรี) โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)  สำนักการศึกษา  เทศบาลนครนครราชสีมา  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย  ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2550  จำนวน  84  คน  ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น  (Stratified  Sampling)  และแบบง่าย  (Simple  Random  Sampling)  โดยวิธีจับสลาก  (Lottery  Method)  ใช้เวลาทดลอง  จำนวน  18  ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  1)  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมิเดีย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  (ดนตรี)  จำนวน  5  หน่วย  2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบเลือกตอบชนิด  4  ตัวเลือก  จำนวน  40  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่  .20  ถึง  .99  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  .92  3)  แบบวัดความพึงพอใจ  แบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  จำนวน  20  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่  .26  ถึง  .72  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  .87  และ  4)  แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมิเดีย  แบบมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ  จำนวน  4  ด้าน   25  ข้อ  ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.65  ซึ่งถือว่ามากที่สุด  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบสมมติฐานใช้  t-test  (Dependent  Samples) 

                   ผลการศึกษา  ปรากฏดังนี้

                         1.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมิเดีย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  (ดนตรี)  เรื่องดนตรีกับชีวิต  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  87.14/89.02  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์  80/80  ที่ตั้งไว้

                         2.  ดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมิเดีย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  (ดนตรี)  เรื่องดนตรีกับชีวิต  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มีค่าเท่ากับ  0.8317  หรือคิดเป็นร้อยละ  83.17

                         3.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)  สำนักการศึกษา  เทศบาลนครนครราชสีมา  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย  ที่กำลังศึกษา

ในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2550  ซึ่งเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  (ดนตรี)  ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมิเดีย  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

                         4.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)  สำนักการศึกษา  เทศบาลนครนครราชสีมา  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย  ที่กำลังศึกษา

ในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2550  ซึ่งเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  (ดนตรี)  ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมิเดีย  มีความพึงพอใจในบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมิเดียโดยรวมอยู่ในระดับมาก 

                   โดยสรุป  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมิเดีย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  (ดนตรี)  เรื่องดนตรีกับชีวิต  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล  เหมาะสมที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนนำไปพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 188848เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2008 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ คุณครูจุ๋มคนสวย

สุดยอด ขอชื่นชม ขอให้ผลจากการที่หนูทุ่มเทกับการจัดการเรียนการสอน ส่งผลให้หนูผ่านการเลื่อนวิทยฐานะ นะคะ

เป็นการทำงานที่มีระบบดีครับ เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับครูท่านอื่น

ผอ.ศักดิ์เดช

ชื่นชมผลงานครูจุ๋มค่ะ เหมาะสมกับวิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ

ครูนิดค่ะ ทม. ชัยภูมิ

นางเครือวัลย์ บุญกว้าง

ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน วิชาสุขศึกษา เรื่องสร้างเสริมสุขภาพ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย

ผู้รายงาน นางเครือวัลย์ บุญกว้าง

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนเทศบาลนาเชือก สังกัดกองการศึกษา

เทศบาลตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม กรมส่งเสริมการปกครอง

ท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

ปีที่พิมพ์ 2554

บทคัดย่อ

การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน วิชาสุขศึกษา เรื่องสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ห่างไกลจากโรคระบาดในชุมชน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนมัลติมีเดีย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดีย กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสุขศึกษา จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อน - หลังเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ระหว่างบทเรียน ๆ ละ 8 ข้อ รวม 48 ข้อ แบบประเมินความพึงพอใจ และบทเรียนมัลติมีเดีย จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง สิ่งแวดล้อม สุขบัญญัติแห่งชาติ การป้องกันโรค กินเพื่อสุขภาพ การควบคุมอารมณ์ และกิจกรรมคลายเครียด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏผลดังนี้

1. บทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนเทศบาลนาเชือก มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.12/83.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่คาดหวังไว้ คือ ตามเกณฑ์ 80/80

2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนเทศบาลนาเชือก ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเฉลี่ย 53.95 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ย 83.09 มีค่าเท่ากับ 0.6327 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้หรือพัฒนาการ ในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.27

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนเทศบาลนาเชือก พบว่านักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อการเรียน ด้วยบทเรียนมัลติมีเดีย 4.37 S.D. 0.62 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก

โดยสรุปการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน รายวิชาสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนเทศบาลนาเชือก โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับที่สูงขึ้น มีความสุขในการศึกษาเรียนรู้และมีความพึงพอใจในการเรียนในระดับมาก นักเรียนตั้งใจในการเรียนอย่างจริงจัง บทเรียนมัลติมีเดียดังกล่าว สามารถนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสอดคล้องและสนองแนวนโยบายปฏิรูปการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ

ขอให้ผ่านนะคะคุณพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท