paradox จากข่าวการดื่มน้ำสาบาน


กฎหมายเพียงโดดๆ ไม่สามารถป้องปรามผู้บังคับใช้กฎหมาย ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ต้องพึ่งกฎเหนือธรรมชาติ

บ่ายวันนี้ ดูข่าวภูมิภาค เห็นข่าวตำรวจภาคเหนือในจังหวัดภาคเหนือแห่งหนึ่ง

รวมตัวกันร้อยกว่าคน เพื่อมาทำพิธีดื่มน้ำสาบาน ว่าจะไม่ข้องเกี่ยวกับการค้ายาเสพติด

เนื่องจากปัญหาที่ผู้บริหารพบว่า ลูกน้องหลายคนในสังกันตนเองพัวพันกับการค้ายาเสพติดเสียเอง

ภาพข่าวก็มีตำรวจเป็นร้อยนาย ขึงขัง ขึงขัง ยืนเรียงแถวพนมมือกล่าวคำสาบานเป็นที่สาหัส พร้อมทั้งเดินเรียงหน้ากันออกมาดื่มน้ำจากขันขนาดยักษ์ที่วางอาวุธโบราณต่างๆ นานา พาดไว้บนขอบของขัน เป็นนัยว่า หากผิดคำสาบานขอให้ต้องคมอาวุธ

หากดูแล้วไม่คิดอะไรก็คงผ่านเลยไป

แต่มันเกิดอาการเอ๊ะ ขึ้นมาครับ เอ๊ะ เอ๊ะ เอ๊ะๆๆๆๆ

เราลองมาแตกหัวข้อข่าวออกเป็นชิ้นๆ

กฎหมาย-ข้อบังคับทางสังคมที่บังคับพฤติกรรมของคน "ถ้าทำผิด(แล้วโดนจับได้) ก็จะถูกสังคมลงโทษ"

การดื่มน้ำสาบาน-พิธีกรรมเหนือธรรมชาติที่บังคับพฤติกรรมของคน "ถ้าทำผิด ไม่ต้องรอให้ใครจับได้ (อาจจะ) ถูกสิ่งเหนือธรรมชาติลงโทษ"

ตำรวจ-ผู้บังคับใช้กฎหมาย

การค้ายาเสพติด-กิจกรรมผิดกฎหมาย

คราวนี้เราเอามาประกอบกันใหม่...เราก็จะได้ Paradox สมบูรณ์แบบ

ผู้บังคับใช้กฎหมาย มักจะทำกิจกรรมผิดกฎหมาย, วิธีแก้ปัญหาคือ ให้ผู้บังคับใช้กฎหมายเข้าร่วมพิธีกรรมเหนือธรรมชาติ

(กฎหมายเพียงโดดๆ ไม่สามารถป้องปรามผู้บังคับใช้กฎหมาย ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ต้องพึ่งกฎเหนือธรรมชาติ) ผู้บริหารคาดว่า การเข้าร่วมพิธีกรรมทำให้ตำรวจจะไม่ทำผิดกฎหมาย และจะทำงานในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมาย

สมมติว่าพิธีนี้ได้ผล...

แปลว่า กฎหมายเพียงโดดๆ ไม่สามารถป้องปรามตำรวจ จากการทำผิดกฎหมายได้...หากตำรวจเองยังเป็นอย่างนี้ กฎหมายเพียงโดดๆ ย่อมไม่สามารถป้องปรามคนทั่วไป จากการทำผิดได้เช่นกัน

แต่ตำรวจคือผู้บังคับใช้กฎหมาย...หากยอมรับว่า กฎหมายเพียงโดดๆ ไม่สามารถป้องปรามใครก็ตาม จากการทำผิดได้...ย่อมเป็นการยอมรับว่า ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่สามารถใช้กฎหมายได้

พิธีกรรมนี้จึงเป็น Paradox เพราะจุดประสงค์สุดท้ายของมันคือ การให้ตำรวจทำงานในการบังคับใช้กฎหมายได้

แต่หากพิธีนี้ได้ผลจริง มันแปลว่า ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้

จบข่าว

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 188823เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2008 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขออนุญาตแสดงความเห็นนะคะ

ส่วนตัวคิดว่าการสรุปเช่นนี้เป็น stereotype

สมมติว่าพิธีครั้งนี้เกิดขึ้นจากความคิดของผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง

สมมติว่านายตำรวจเหล่านั้นไม่ได้เข้าพิธีเนื่องจากความสมัครใจ แต่เพราะถูกนายสั่ง

จะกลายเป็น "ผู้บังคับบัญชา" คนนั้นเชื่อว่า "ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้กฏหมายได้"

แต่หากว่าการเข้าพิธีเป็นไปโดยสมัครใจ ก็เห็นด้วยว่าต้องสรุปอย่างที่คุณหมอว่ามาแหละ (โถ..ประเทศไทย)

เอ่อ...ซีเรียสเกินไปเปล่าครับ ก้อแค่ความเชื่อนึง ของคนกลุ่มนึง ทำแล้วเค้ารู้สึกสบายใจ ปลุกใจพวกเค้า ก้อคงเพียงพอแล้วมั้ง ไม่เห็นต้องมีตรรกอะไรมากมายเลยอ่ะ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท