การวัดความสำเร็จขององค์กร ตอน 2


KPI

เทคนิค Balance Score Card – BSC คือ หม้อแปลง ในการแปลงวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ให้เป็นตัวชี้วัด

BSC คือการกำหนดเป้าหมายขององค์กรอย่างสมดุลระหว่างตัวแปร ๔  มิติ  คือ กำไร ลูกค้า

การพัฒนาระบบงาน   และการพัฒนาองค์กร  

ตัวอย่างการสร้างสมดุลในมิติด้าน กำไร

                   ๑.  เป้าหมายระดับองค์กร  :  การทำกำไร

                   KPI  : เป็นตัวกำหนดว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป้าหมายเราสำเร็จ

                                   จึงต้องดูที่ กำไรที่ทำได้

                   Target : เช่น ๕๐ ล้านบาท (ตรรกะของการกำหนดเป้าหมายในการวัดมาจากการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งประกอบวิสัยทัศน์แล้ว)

                   การจะทำกำไรให้ได้ ๕๐ ล้านบาทองค์กรต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

                   ๑.๑)  เป้าหมาย  : ทำยอดขาย

                   KPI  :  ยอดขายที่ได้

                   Target  : ,๐๐๐ ล้านบาท

                   การจะทำยอดขายให้ได้ ๑,๐๐๐ ล้านบาทต้องทำอย่างไร

                   ๑.๑.๒)  เป้าหมาย  : ทำยอดขายสินค้า A

KPI  :   ยอดขายสินค้า A

                   Target  :  ๘๐๐ ล้านบาท

                   ๑.๑.๓)  เป้าหมาย  :  ยอดขายสินค้า B

KPI  :   ยอดขายสินค้า B

                   Target  : ๒๐๐  ล้านบาท

๑.๒)  เป้าหมาย  : ควบคุมต้นทุนรวม

KPI  :  ต้นทุนรวม

                   Target  : ๙๕๐ ล้านบาท

 

หัวใจสำคัญ

๑.  การกำหนดเป้าหมายและการวัดผลต้องมีความสมดุลในทุกระดับเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมาย

หลักขององค์กรร่วมกันโดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งขององค์กร

๒.  การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ากลุ่มใดต้องดูที่ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับลูกค้าขององค์กร เช่น

วิสัยทัศน์กำหนดไว้ว่าจะเป็นองค์กรที่เป็นผู้นำด้านสินค้าคุณภาพสูง หรูหรา  กลุ่มลูกค้าจะเป็นลูกค้าเกรด A เป็นต้น

๓.     จะสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าด้วยเรื่องอะไร ประกอบด้วย  ความพึงพอใจในด้านราคา

คุณภาพ เวลา ความสามารถของตัวสินค้า ความหลากหลาย การบริการ ยี่ห้อ และความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและองค์กร การเลือกประเด็นในการสร้างความพึงพอใจไม่สามารถเลือกได้ทุกประเด็น จะต้องเลือกประเด็นที่สำคัญและไม่ขัดแย้งกัน

๔.  การสร้างความพึงพอใจด้วยประเด็นใดก็ตามขึ้นอยู่กับการพัฒนาระบบงานภายในเป็นหลัก

โดยประเด็นด้านการพัฒนาระบบงานภายในที่สำคัญซึ่งเป็นวงจรที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย

                    -การวิเคราะห์ทำความเข้าใจความต้องการลูกค้าเป้าหมาย

-การกำหนดและศึกษากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

                    -คิดค้นผลิตภัณฑ์/ระบบในการบริการ

                    -ผลิตสินค้า/ระบบบริการ

                    -ส่งมอบสินค้า/บริการ

                    -บริการลูกค้าหลังการขาย

                    -ความต้องการของลูกค้าได้รับการตอบสนอง

๕.  ในทุกระดับ ในแต่ละประเด็นจะต้องมี KPI  ซึ่งการกำหนด KPI จะเป็นการกำหนดทิศทาง

แผนงาน/โครงการรองรับในขั้นตอนต่อไป

๖. KPI ทุกตัวต้องมี Template ซึ่งประกอบด้วย

                    -ชื่อ KPI

                    -เป้าหมาย  (Target เท่าไร-หน่วยนับ)

                    -สูตรการคำนวณ

                    -กรอบเวลาในการจัดเก็บข้อมูลในการวัด (เดือนใด เดือนใด ปี...)

                    -แหล่งข้อมูล

                    -ผู้รับผิดชอบ

                    -ผู้อนุมัติ

คำสำคัญ (Tags): #kpi
หมายเลขบันทึก: 188536เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2008 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีจังได้ทบทวนความรู้ หลังจากทำงานแบบไม่รู้เรื่องมา 2 ปี

และไม่มีใครอธิบายข้อดีหรือประโยชน์ของกิจกรรมที่โดนบังคับให้ทำ

แต่ก้อได้โบนัสมาเรียบร้อยแล้ว

เมื่อสัปดาห์ก่อนไปเรียน ได้ความรู้มาเพิ่มเติมและมีตารางเพื่อทดสอบงาน ที่ทำด้วยว่ามีคุณภาพหรือตกเส้นแดง

ว่างๆจะส่งไปให้ถ้าสนใจนะ

ขอบคุณจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท