วงจรไตรลักษณ์


อย่างที่ขึ้นหัวข้อไว้ว่า วงจรไตรลักษณ์ หรือ วงจร อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อจะเน้นว่า ลักษณะทั้งสามนี้มีการเปลี่ยนไปเป็นวงจร หมุนเวียนไปเรื่อยๆ ไม่จบไม่สิ้น

วงจรไตรลักษณ์

 

นลเฉลย


เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า ไตรลักษณ์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ถือว่าเป็นแก่นสำคัญของพระพุทธศาสนา  เป็นเรื่องที่เราๆท่านๆได้ยินกันบ่อยๆ ว่า “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”  “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป” หรือคำอธิบายว่า ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะสำคัญสามประการ ของสรรพสิ่ง กล่าวคือ

อนิจจัง สรรพสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงตลอด
ทุกขัง สรรพสิ่งทั้งหลายทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
อนัตตา สรรพสิ่งทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน

คำอธิบายข้างบนช่วยให้เราเห็นว่า ทุกๆอย่างนี้มีลักษณะพื้นฐานสามประการทั้งสิ้น อย่างไรก็คำอธิบายแนวนี้ยังไม่ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของลักษณะทั้งสามประการ

ผมจึงขอนำคำสอนของพระอาจารย์รูปหนึ่งมาเล่าให้ท่านฟังต่อ เชื่อไม่เชื่ออย่างไรก็ลองพิจารณาดูนะครับ

อย่างที่ขึ้นหัวข้อไว้ว่า วงจรไตรลักษณ์ หรือ วงจร อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อจะเน้นว่า ลักษณะทั้งสามนี้มีการเปลี่ยนไปเป็นวงจร หมุนเวียนไปเรื่อยๆ ไม่จบไม่สิ้น จนกระทั่ง เกิดวิชชา หรือ ความรู้แจ้งนั่นแหละวงจรนี้จึงหยุด ในบทความนี้ผมจะไม่ลงรายละเอียดเรื่อง ความรู้แจ้ง แต่จะขอกลับมาดูเรื่องวงจรไตรลักษณ์กันก่อน วงจรนี้เป็นอย่างไร ผมขอเทียบกับน้ำ น้ำไม่สามารถอยู่ในสภาพเดิมได้ มีการเปลี่ยนแปลงตลอด นั่นคือ อนิจจัง ถ้าเราต้มน้ำจนเดือด ตอนที่น้ำเดือดพลุ่งพล่าน ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ นั่นคือ ทุกขัง พอน้ำเปลี่ยนสภาพไปจากสภาพเดิมกลายเป็นไอ หรือ ไม่ใช่ตัวตนเดิมที่เป็นน้ำ นั่นคือ อนัตตา พอเป็นไอน้ำ ก็เริ่มวงจรใหม่ ไอน้ำมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง  ไอน้ำมีการรวมตัวควบแน่น ทนอยูในสภาพเดิมไม่ได้ ทุกขัง ไอน้ำเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำ อนัตตา วนเวียนไปเรื่อยๆ ทีนี้ถ้าเรามาพิจารณาลักษณะ นี้ในสิ่งที่ซับซ้อนขึ้น อย่างชีวิตคน ก็จะพบว่ามีลักษณะของวงจรไตรลักษณ์ ไม่ต่างไปจากน้ำ ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีการเปลี่ยนแปลงตลอด เป็นอนิจจัง การทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ความเปลี่ยนแปลงที่มี ก่อให้เกิด ทุกข์ พอชิวิตถึงจุดสุดท้ายไม่สามารถคงอยู่ในสภาพตัวตนเดิม ตายไป ก็ เปลี่ยนสภาพไปสู่สภาวะใหม่ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจตามนี้จะเห็นว่า การตายตามธรรมดา ไม่ใช่การดับสูญ เป็นเพียงการเปลี่ยนสภาพ จากสภาพมนุษย์ กลายเป็นวิญญาณ วิญญาณ กลายสภาพเป็น มนุษย์ พรหม เทวดา หรือสัตว์นรก แล้วแต่ผลบุญผลกรรมที่ทำไว้ การเปลี่ยนสภาพจะเปลี่ยนไปดีกว่าเดิม หรือเปลี่ยนไปแย่ลงกว่าเดิมก็ได้ ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ดีขึ้นหรือแย่ลง แต่อยูที่มีการเปลี่ยนสภาพแล้วก็เริ่มวงจรไตรลักษณ์ใหม่อีกครั้ง วนเวียนไปตลอดไม่จบไม่สิ้น วงจรนี้เป็นคุณสมบัติ ของทุกๆสิ่ง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งเล็กๆอย่างแบคทีเรีย หรือ สิ่งใหญ่โตอย่างระบบสุริยะ  ถ้าเราเข้าใจวงจรนี้ และรู้ว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง เราก็จะไม่ทุกข์ใจไปกับการเปลี่ยนแปลง เห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ ที่สำคัญมากคือ การเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดานี้  จะช่วยให้เราผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงนั้นมุ่งไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ ดังนั้นแทนที่จะทุกข์ใจเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง เราก็เพียงยอมรับและประคับประครองให้การเปลี่ยนแปลงนั้นให้เปลี่ยนในทางที่ดีขึ้น  ฉวยโอกาสที่สรรพสิ่งคลายการแข็งตัว สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดี อาจจะยกตัวอย่างการตาย ถ้าเราไม่ตายเราคงแปลงไปสู่สภาพใหม่ไม่ได้ ต้องอยู่ในสภาพคนแก่อมโรคไปตลอด ถ้าตอนที่กำลังจะตายเราทุกข์ใจ กังวลใจ จิตก็จะตก ร่วงลงสู่อบายภูมิ แต่ถ้าเราประครองใจให้ดี นึกถึงบุญกุศลที่เคยทำ จิตก็จะเกิดปิติ และยกระดับทำให้เราเปลี่ยนไปสู่ภาวะที่ดีขึ้น ได้เสวยบุญตามที่ได้กระทำมา เรื่องไตรลักษณ์นี้เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ถ้าทุกท่านมองเรื่องต่างๆตามนี้ได้แม้แต่เรื่องที่น่ากลัวอย่างความตายก็จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่งครับ ครับนี่เป็นอีกมุมมองหนึ่งของเรื่องไตรลักษณ์ อ่านแล้วเห็นด้วยหรือไม่อย่างไรก็ลองคิดดูนะครับ

บุญกุศลอันใด ที่เกิดจากบทความชิ้นนี้ ขออุทิศให้ แก่ ผู้อ่านที่นำไปใคร่ครวญ ขบคิด ปฏิบัติ

และขออุทิศให้กับ ศัตรูคู่อาฆาต เจ้ากรรมนายเวร ของผู้เขียน

ไม่สงวนลิกข์สิทธิ์ ใดๆทั้งสิ้น สามารถนำไปแจกจ่าย คัดลอก ทำซ้ำ ได้ตามต้องการ 

หากมีข้อซักถาม ข้อแนะนำหรืออยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดจากการอ่านบทความชิ้นนี้

กรุณาส่ง อีเมล์มาที่

นิลฉงน นลเฉลย  <[email protected]> 

 

หมายเลขบันทึก: 188208เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2008 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท