การคุย - คิด - คลิ๊ก - คลำ


"ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรม"

การคุย คิด คลิ๊ก(ปิ้ง) คลำ(ปฏิบัติ)

 

                       เช้าวันนี้ (6 มิถุนายน  2551) ฟัง คุณวิมลศรี  ศุบิลวรณ์  รองผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรแห่งการเรียนรู้ บรรยายต้อนรับ คณะผู้เยี่ยมชมจาก จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ สพท.จบ.1 คัดเลือกให้เป็นโรงเรียนเครือข่าย KM จำนวน 9 โรงเรียน ดังนี้ 1)โรงเรียนมัธยมเขาสุกิม 2)โรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคม 3)โรงเรียนมัธยมท่าแคลง 4)โรงเรียนวัดพลับพลา 5)โรงเรียนวัดหนองแหวน 6)โรงเรียนวัดโพธ์ลังกามิตรภาพ 7)โรงเรียนวัดแสลง 8)โรงเรียนวัดขุนซ่อง และ 9)โรงเรียนหนองบัว

                จากการได้ฟังคำบรรยาย การสังเกต และการได้พูดคุย กับหลายๆคน ทำให้สามารถจับประเด็น ของวัฒนธรรมการทำงานของโรงเรียนเพลินพัฒนา พอได้เค้ารางๆว่าเป็นการทำงานอยู่บนหลักประชาธิปไตย  ไม่ยึดติดรูปแบบที่เป็นกรอบเสมือนโซ่ตรวนที่ผูกติดตัวเองไว้ ลักษณะการปกครองบังคับบัญชา เป็นแบบแนวราบไม่ยึดติดตำแหน่ง จากการสังเกตทุกคนจะใช้คำพูดแทนตัวเองว่า ครู ไม่มีอาจารย์  ไม่มีผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการฯ  นี่คือสิ่งแรกที่พอวิเคราะห์ได้ 

                ยุทธศาสตร์ของโรงเรียน คือก้าวพอดีสามารถแยกคำ ขยายความ ได้ดังนี้  ก้าว คือ ก้าวย่างของโรงเรียนเพลินพัฒนา เป็นก้าวย่างที่งอกงามไม่มีที่สิ้นสุด พอดี คือ พอดีที่ไม่มาก ไม่น้อยจนสุดขั้ว พอเหมาะกับวัยสอดคล้องกับเวลา และสถานการณ์ ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนเพลินพัฒนา  จึงเป็นทางสายกลาง ที่เด็กๆ ชุมชนและสังคม จะก้าวย่างไปด้วยกัน อย่างพอเหมาะ พอดี และเรียนรู้อย่างมีความสุข เด็กๆจะเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรม ผ่านวิถีการดำเนินชีวิตที่ค่อยๆซึมซับ จนกลายเป็นตัวเองอย่างธรรมชาติ

                การออกแบบการเรียนรู้ จะถอดแบบวิถีชีวิต วิถีปฏิบัติในโรงเรียน อย่างไตร่ตรอง และรอบคอบ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ไปบน  กิจวัตรประจำวัน ตารางสอน กิจกรรม โครงงาน ชมรม รวมทั้งประเพณี ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน ครู และผู้เกี่ยวข้องทุกคน

                คุณครูวิมลศรี  เล่าอีกว่า คุณครูแต่ละระดับชั้น จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ในทุกวันจันทร์ พุธ และวันศุกร์ โดยมี เวลา และเวทีให้ โดยมีประเด็นเกี่ยวกับ การเรียนรู้ของเด็กนักเรียน ซึ่งมีสมุดเมล็ดพันธ์ความรู้ เป็นเครื่องมือสำคัญ สมุดนี้จะเจริญเติบโตไปกับการเรียนรู้ของครู

                วิธีการปฏิบัติจะเป็น เรื่องเล่าเร้าพลัง โดยผู้เล่าจะต้องเล่าเรื่องจริง ประสบการณ์จริง ที่เกิดขึ้นจริง และประสบความสำเร็จ  ซึ่งจะต้องมีคำถามหลัก ดังนี้ What(ทำอะไร)  Why(ทำไมถึงทำ)  How(ทำอย่างไร) โดยมีผู้จัดการระบบความรู้ CKO (Chief Knowledge Officer)จะเป็นผู้บันทึกและถอดบทเรียน และใช้ทักษะ การคุยคิดคลิ๊ก(ปิ้ง) – คลำ(ปฏิบัติ)

                สรุปจากการฟังคำบรรยาย ลงมือปฏิบัติจริง และดู CD ของ อบต. ท่าข้าม จ.สงขลา นำเสนอประเพณี

ลากพระ เป็นการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมและถ่ายทอดออกมาเป็นกิจกรรม และสถานีอนามัย เขต 11 ได้บอกสาเหตุที่ทำ KM เพราะ ได้งานดี  กระตุ้นการเรียนรู้ และวัฒนธรรมองค์กรเกิดการเรียนรู้  โดยนำเสนอ ห้องน้ำสำหรับชุมชน 

                ภาพสุดท้ายที่วิเคราะห์และสังเคราะห์แล้ว พอสรุปเป็นประเด็น ได้ดังนี้ 

                   1. โรงเรียนเพลินพัฒนา มีการจัดทำหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่นสูง น่าจัดเป็นลักณะก้อนใหญ่ๆตามสาระการเรียนรู้ เพื่อสะดวกให้คุณครูผู้ปฏิบัติ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง อย่างกว้างขวาง และหลากหลาย 

                   2. การจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ยึดแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรม"   

                   3. ด้วยการถักทอ ความฝันร่วมกัน ที่อยากเห็นเด็กไทยเป็นคนดีและเป็นตนเก่ง ภาพความสำเร็จของสถาบันแห่งนี้ คือ การใช้กระบวนการ KM ทั้งในระดับองค์กร และหน่วยงานย่อย(ห้องเรียน)โดยใช้ผู้จัดการความรู้ หรือ CKO เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ที่คอยส่งเสริมให้เกิดการทำงานภายใต้วิธีคิด แบบ KM ในองค์กร คือ  1)ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ไห้สอดคล้องกับองค์กร 2)ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแบ่งปันความรู้ และพยายามสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกช่วงของการทำงาน ทั้งก่อนเริ่มงาน ระหว่างการทำงาน และเมื่อจบงาน 3)จัดระบบโครงสร้างสำหรับใช้ดักจับความรู้  การดักจับ หรือคว้าความรู้ จากภายนอกเข้ามาใช้ในองค์กร ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ CKO จะต้องรับผิดชอบ 4)จัดให้มีการสร้างขุมความรู้  ขึ้นใช้ภายในองค์กร เพื่อให้คนในองค์กร สามารถเอาความรู้ที่มีอยู่มาใช้ได้สะดวก 

                สิ่งที่สำคัญและอยากให้เกิดกับทุกองค์กร คือ KM ระดับปัจเจกบุคคล ซึ่งมีสิ่งสำคัญลำดับแรก  ซึ่งเป็นความรู้ที่ซ่อนเร้นอยู่ จนเราเองก็ไม่รู้ตัวว่าเรารู้สิ่งนั้นๆ 

                จากการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ทำให้มองเห็นภาพของโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนในเมืองกับโรงเรียนในชนบทที่ห่างไกลอย่างชัดเจน ในสองมิติ คือ มิติแรก เป็นภาพเสมือนจริงของคนเมือง(โรงเรียนในเขตเมือง) พยายามออกแบบสถานที่ แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ พยายามถักทอ หล่อหลอม ให้ได้บรรยากาศ สภาพแวดล้อม ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรม(ชนบทนอกเมือง) ส่วนมิติที่สอง ภาพที่มีอยู่จริง(โรงเรียนชนบทนอกเมือง)แต่พยายาม ทำให้เกิดภาพเสมือนจริงของคนในเมือง พยายามถักทอ หล่อหลอม ทำให้เกิดบรรยากาศ สภาแวดล้อม โดยเอาสังคมเมือง เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการของยุคโลกาภิวัฒน์  เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ ในภาพสองมิตินี้ใครจะบอกได้ว่า มิติไหนได้เดินมาถูกทางแล้วหรือจะมีทางเลือกที่สาม(มิติที่สาม)ช่วยบอกที

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 187705เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2008 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท