เรื่องเล่าจากฮาร์วาร์ด


Case Method

 
คมกริช วัฒนเสถียร นักกฎหมายอาวุโส

ฉบับที่แล้วผมอธิบายให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพของการศึกษาแบบ Case Method และประวัติย่อๆ
ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
ประโยชน์ของการเรียนการสอนวิธีนี้ช่วยให้บรรยากาศของการศึกษากฎหมายในสหรัฐอเมริกามีความเข้มข้นและสนุกสน
าน เปิดโอกาสให้ผู้สอนและนักศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์มาก

ดังนั้น เมื่อกลับมารับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนกฎหมายในสถาบันต่างๆ เมื่อ 40 ปีมาแล้วจึงนำมาใช้ด้วยเสมอ
โดยมักจะชี้ให้นักศึกษาตอบคำถาม เสนอข้อคิดเห็นการรายตัวเลยทีเดียว ถ้าเป็นชั้นเล็กๆ
ก็สามารถทำกันได้อย่างทั่วถึง เช่น สมัยที่สอนโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน เป็นต้น แต่พอเป็นชั้นใหญ่ๆ
อย่างสมัยที่ผมสอนวิชากฎหมายที่ดิน LA 407 มหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรกๆ นั้น
การจะชี้รายตัวค่อนข้างลำบากเพราะนักศึกษามีมาก จึงมักต้องสุ่มชี้กัน
แต่ลักษณะพิเศษของคนไทยที่มีอยู่ในหัวใจคือ "ขี้อาย" ไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นกับคนหมู่มาก
ถ้าไม่เจาะจงคงไม่มีใครอยากจะพูดอะไรออกมา สาเหตุหนึ่งคงเป็นเพราะกลัวว่าตัวเองจะพูดอะไรผิดๆ ถูกๆ
ซึ่งถ้าหากเราพิจารณาจากรากฐานก็มาจาก "ความไม่รู้" หรือรู้แบบคลุมเครือนั่นเอง
จึงทำให้ไม่ฉะฉาน ชัดแจ้ง จนกลายเป็นลักษณะพิเศษติดตัวไป

ในทางตรงกันข้าม "ความรู้" จะทำให้คนองอาจ ภาคภูมิและกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ดังนั้น
เวลาผมสอนหนังสือสิ่งหนึ่งที่ผมมักเน้นย้ำอยู่เสมอคือการช่วยให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในความรู้ของตัวเอ
ง สิ่งใดที่ไม่รู้เขาจำเป็นที่จะต้องค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมให้แน่ชัด ตัวบทกฎหมาย
แนวทางคำพิพากษาฎีกาก็ควรต้องมีความชัดเจนจนขึ้นใจ เวลานำมาใช้ในการเรียนการสอน การตอบข้อสอบ
การทำงานจึงมีความแม่นยำ ไม่ผิดพลาด แล้วเมื่อนักศึกษารู้สึกว่าตัวเองมีความรู้อย่างเข้มข้นแล้ว
สิ่งนี้จะเป็นแรงผลักดันให้เขาเกิดความสนใจอยากรู้เรื่องอื่นๆ
ที่เป็นบริบทของสังคมเพื่อนำมาเชื่อมโยงกับการประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิตต่อไป
โดยไม่แกว่งไปกับสิ่งยั่วยวนอื่นๆ โดยเฉพาะการเป็นนักกฎหมายที่จะต้องผดุงความยุติธรรมให้กับสังคม

ผมมักยกตัวอย่างความไม่มั่นใจในตัวเองเมื่อเราไม่มีความรู้ที่ดีพอ เวลาจะทำสิ่งใดมักคิดพึ่งพาคนอื่น
จนเกินพอดี โดยมักจะหาช่องทางวิ่งเต้น ล็อบบี้อยู่เสมอ จนไม่สนใจเรื่อง "ความถูกต้อง
ความยุติธรรม" กันเลย จึงทำให้เกิดค่านิยมผิดๆ ว่า

ถ้าเราจะประสบความสำเร็จในชีวิต จึงขึ้นอยู่กับว่าเราเป็น "คนของใคร" มากกว่าที่จะเรียนรู้
"คุณค่าในตนเอง"

ผมประจักษ์แก่ตัวเองว่าการเรียนการสอนกฎหมายแบบอเมริกันนั้นมีความสนุกสนาน
ทำให้นักศึกษามีส่วนร่วมวิเคราะห์ หาเหตุผลเพราะเราจะพบตัวอย่างใหม่ๆ อยู่เสมอ มีเรื่องหนึ่งคือ
กฎหมายคุ้มครองแรงงานกรรมกร ในสมัยก่อนศาลตัดสินว่ารัฐไม่มีอำนาจกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงาน
เพราะเป็นเสรีภาพของนายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานได้ ตามความสมัครใจ
รัฐไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง กฎหมายที่ออกมาเพื่อคุ้มครองแรงงานกรรมกรจึงโมฆะ
เพราะขัดรัฐธรรมนูญที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชนที่จะทำสัญญาได้ตามความสมัครใจ
แต่ในสมัยต่อมาสหรัฐอเมริกันเกิดเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อ ค.ศ.1930 (พ.ศ.2473) เกิดปัญหาคนว่างงาน
รัฐต้องออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานกรรมกร
เมื่อมีคดีเกิดขึ้นศาลก็ตัดสินว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานใช้บังคับได้ไม่ขัดรัฐธรรมนูญรัฐมีอำนาจเข้ามายุ่ง
เกี่ยวกับปัญหานี้เพื่อสวัสดิภาพของกรรมกร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนอเมริกัน

ที่กล่าวมานี้คือ การศึกษากฎหมายอเมริกันในระบบ Case Method
เป็นการศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นหลักกฎหมายและวิวัฒนาการของการตัดสินคดีของแต่ละสมัย
เท่ากับเรื่องนิทานโดยแท้

คำสำคัญ (Tags): #case method
หมายเลขบันทึก: 187496เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2008 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลองเอา case ของ ปท ไทย มาเล่นบ้างสิครับ..เอาที่อยู่ในกระแส นะครับ..

นศ คงกระตือรือร้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท