..ว่าด้วย.. บทสรุป


จากการวิเคราะห์และประมวลผลของการศึกษาวิจัยทำให้เห็นว่า ในมุมมองของ ประชาคมระหว่างประเทศ สิทธิในสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกผู้ทุกวัยพึงได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนสิทธิในหลักประกันสุขภาพนั่น เป็นดังเช่นส่วนเติมเต็มที่ทำให้สิทธิในสุขภาพสมบูรณ์และมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่จะแยกสิทธิทั้งสองส่วนนี้ออกจากกันคงเป็นไปได้ยาก

          ส่วนเรื่อง ความคาดหวังของประชาคมระหว่างประเทศ นั้น ปรากฏค่อนข้างชัดเจนจากการศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกรณีของรัฐภาคีตามกติกาหรืออนุสัญญา พบว่าแม้ประเทศแต่ละประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกของกติกาหรืออนุสัญญาดังกล่าวจะมีมาตรฐานในการเคารพ ส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิในสุขภาพที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่รัฐแต่ละรัฐไม่อาจปฏิเสธได้นั้น ก็คือ มาตรฐานที่ถูกวางไว้เป็นมาตรวัดความเหมาะสมของการเคารพ ส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิในสุขภาพของประชากรภายในอำนาจอนาธิปไตยของรัฐ โดยคณะกรรมการที่กำกับดูแลกติกาและอนุสัญญาแต่ละฉบับ ภายใต้ความดูแลขององค์การสหประชาชาติ นั่นเอง

เพราะฉะนั้นการละเลยหรือไม่ยอมรับรู้สถานการณ์ด้านข้อเท็จจริงที่ว่า หากรัฐไทยละเมิดสิทธิในสุขภาพก็ย่อมถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์อย่างร้ายแรง รวมทั้งสถานการณ์ของ ความคาดหวังของประชาคมระหว่างประเทศที่จะเป็นแนวทางในการปฏิบัติของรัฐไทยต่อไป ย่อมเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง เพราะการไม่รับรู้ย่อมส่งผลไปถึงการไม่ปฏิบัติ ในท้ายที่สุดการละเมิดโดยบริสุทธิ์ใจก็จะเกิดขึ้นทุกหัวระแหงในสังคมไทย หากไม่มีมาตรการใดๆ ในระดับประเทศที่จะค่อยกำกับคู่ขนานไปกับมาตรฐานระหว่างประเทศ ดังเช่นที่ได้กล่าวมา

หมายเลขบันทึก: 187425เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2008 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท