..ว่าด้วย.. ข้อค้นพบในงานวิจัย ที่ 4


ความคาดหวังของประชาคมระหว่างประเทศต่อรัฐไทยในการดำเนินการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิในสุขภาพตามกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศ

ที่

ประเด็นของความคาดหวัง

คณะกรรมการ

ผู้ให้ความเห็น

รัฐภาคี

ผู้รับความเห็น

การไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการเข้าถึงสิทธิในสุขภาพ

1

รัฐภาคีไม่ควรเลือกปฏิบัติต่อประชาชนที่อาศัยภายในประเทศ ด้วยเหตุใดก็ตาม

CCPR

CESCR

CERD

CEDAW

CRC

ทุกประเทศภาคี

2

รัฐภาคีควรขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและสตรีที่เป็นชาวเขาในด้านการได้รับบริการสาธารณสุขได้อย่างเท่าเทียม[1]

CEDAW

ประเทศไทย

ประเทศฟิลิปปินส์

3

รัฐภาคีควรรับรองสิทธิของแรงงานต่างด้าวในการเข้าถึงการบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะยาต้านเชื้อไวรัสในผู้ติดเอดส์ (Anti-retroviral Therapy: ART)[2]

CESCR

ประเทศอังกฤษ

กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศ

ให้สอดคล้องกับกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศ

4

รัฐภาคีควรสร้างมาตรการทางกฎหมายภายในประเทศ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศ

CCPR

CESCR

CERD

CEDAW

CRC

ทุกประเทศภาคี

5

รัฐภาคีควรการันตีสิทธิของบุคคลที่ไม่ใช้ประชากรของรัฐ รวมไปถึงผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ ในรัฐธรรมนูญด้วย[3]

CESCR

ประเทศจีน

6

รัฐภาคีควรผลักดันให้เกิดการปฏิบัติจริงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติการไม่เลือกปฏิบัติ[4]

CERD

ประเทศเม็กซิโก

7

รัฐภาคีควรจัดหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อดูแลสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานต่างด้าวทั้งที่ขึ้นทะเบียนและไม่ได้ขึ้นทะเบียนด้วย โดยเฉพาะการประกันสุขภาพแรงงาน[5]

CERD

ประเทศเม็กซิโก

8

รัฐภาคีควรมีบทบัญญัติที่ให้การรับรองสิทธิของชนกลุ่มน้อยภายในรัฐด้วย แม้ว่าจะมีการบัญญัติอยู่แล้วว่าบุคคลย่อมเสมอกันตามกฎหมาย แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะการันตีสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกัน ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของชนกลุ่มน้อยได้[6]

CESCR

ประเทศฝรั่งเศส

การจัดสรรงบประมาณ

9

รัฐภาคีควรจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมในให้บริการสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามพันธกรณีตามกติกาหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ[7]

CRC

CESCR

ประเทศไทย

ประเทศจีน

10

รัฐภาคีไม่ควรแปรรูปการบริการด้านสาธารณสุขไปสู่ภาคเอกชนมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ประชาชนชายขอบยิ่งเข้าไปถึงบริการที่มีแนวโน้มว่าจะแพงขึ้น หากการบริการสาธารณสุขกลายเป็นธุรกิจของภาคเอกชน[8]

CESCR

ประเทศฟิลิปปินส์

ประเทศเม็กซิโก

การแสวงหาร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศ

11

ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ภายในประเทศ เช่น ภาคราชการ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ เป็นต้น

CRC

ทุกประเทศภาคี

12

การแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศที่มีความชำนาญและเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือทางความรู้ด้านเทคนิค

CRC

ทุกประเทศภาคี

การสร้างกลไกในการติดตามการทำงานตามกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศ

13

การมีกลไกในการติดตามการทำงาน ให้เป็นไปตามกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศในทุกๆ ประเด็น

CRC

ทุกประเทศภาคี

การให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องสิทธิที่ระบุในกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศ

14

รัฐภาคีควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศ ในทุกๆ ประเด็น

CCPR

CESCR

CERD

CEDAW

CRC

ทุกประเทศภาคี



[1] 2006, “Concluding comments of the Committee on the Elimination of Discrimination against Women, PHILIPPINES”, Committee on the Elimination of Discrimination against Women, Unites Nations, pp. 6, para. 29-30

  2006, “Concluding comments of the Committee on the Elimination of Discrimination against Women, THAILAND”, Committee on the Elimination of Discrimination against Women, Unites Nations, pp. 5, para. 33-34

[2] 2002, “Concluding observations of the Committee on Economic, Social and Cultural Rights, UNITED KINGDOM OF GREAT BRITIAN AND NORTHERN IRELAND, THE CROWN DEPENDENCIES AND THE OVERSEAS DEPENDENT TERRITORIES”, Consideration of Reports submitted by State Parties under articles 16 and 17 of the Covenant, Economic and Social Council, United Nations, pp. 4, para. 21

[3] 2005, “Concluding observations of the Committee on Economic, Social and Cultural Rights, PEOPLE’S REPLUBIC OF CHINA (INCLUDING HONG KONG AND MACAO)”, Consideration of Reports submitted by State Parties under articles 16 and 17 of the Covenant, Economic and Social Council, United Nations, pp. 2, para. 14

[4] 2006, “Concluding observations of the Committee on the Elimination of Racial Discrimination, MEXICO”, Consideration of Reports submitted by State Parties under article 9 of the Convention, Committee on the Elimination of Racial Discrimination, United Nations, pp. 2-3, para. 12

[5] 2006, “Concluding observations of the Committee on the Elimination of Racial Discrimination, MEXICO”, Consideration of Reports submitted by State Parties under article 9 of the Convention, Committee on the Elimination of Racial Discrimination, United Nations, pp. 3-4, para. 16

[6] 2001, “Concluding observations of the Committee on Economic, Social and Cultural Rights, FRANCE”, Consideration of Reports submitted by State Parties under articles 16 and 17 of the Covenant, Economic and Social Council, United Nations, pp. 3, para. 15

[7] 2005, “Concluding observations of the Committee on Economic, Social and Cultural Rights, PEOPLE’S REPLUBIC OF CHINA (INCLUDING HONG KONG AND MACAO)”, Consideration of Reports submitted by State Parties under articles 16 and 17 of the Covenant, Economic and Social Council, United Nations, pp. 4, para. 32

[8] 1995, “Concluding observations of the Committee on Economic, Social and Cultural Rights, THE PHILIPPINES”, Consideration of Reports submitted by State Parties under articles 16 and 17 of the Covenant, Economic and Social Council, United Nations, pp. 4, para. 20

  1999, “Concluding observations of the Committee on Economic, Social and Cultural Rights, MEXICO”, Consideration of Reports submitted by State Parties under articles 16 and 17 of the Covenant, Economic and Social Council, United Nations, pp.4, para. 24

หมายเลขบันทึก: 187424เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2008 01:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท