การพัฒนาบุคลากรแนวใหม่ของ กศน.


ทำไมเราต้องทำสิ่งเดิม ๆ ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

          เช้าวันนี้ ( 10 มิ.ย.) อาจารย์ชนิดา ดียิ่ง จากศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และคณะมาเยี่ยม เราพูดคุยกันเรื่องสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อหนังสือ และสื่อ Electronics  สรุปว่าสื่อที่ผลิตโดยศูนย์เทคโน ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร อาจารย์ได้ขอให้ทาง กศน.สระแก้วช่วยกันในการกระจายสื่อ ไปสู่แหล่งเรียนรู้ทั้งหลาย ซึ่งทางเราก็รับปากเพราะมองเห็นช่องทางในการดำเนินงาน

          ใหน ๆ อาจารย์ชนิดา ที่ท่านดูแลเกี่ยวกับงานของศูนย์เทคโนโลยี มาเยี่ยมเยียนถึงสระแก้ว ผมเลยเล่าให้อาจารย์ฟังถึงแนวคิดในการพัฒนาบุคลากรแนวใหม่ที่น่าจะเกิดขึ้นกับงาน กศน. ผมบอกว่าได้มีโอกาสไปเขียนคู่มือการฝึกอบรมให้สถาบันสิรินธรที่ปากช่อง ขณะที่นั่งเขียนหูก็แว่วเสียงของท่าน ผอ.ประเสริฐ หอมดี แห่งภาคเหนือ สนทนาธรรมกับอาจารย์แอ้ว ก.จ. เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาบุคลากร อดไม่ได้ที่ต้องร่วมแจม แนวคิดเลยแตกลูกออกไปใหญ่ สรุปได้ดังนี้ครับ

          การทำงานกศน. ไม่ว่าจะระดับใหน หน้าที่หนึ่งที่ต้องทำคือการพัฒนาบุคลากร  ถ้าพูดถึงการพัฒนาบุคลากร เรามักมองภาพ การกวาดต้อนผู้คนมานั่งในห้องสี่เหลี่ยม แล้วเชิญคนที่เรามองว่าเขาเจ๋ง มาเป็นวิทยากร บรรยายจบก็ประเมินซึ่งผลส่วนใหญ่ออกมาดี โดยไม่รู้ว่าเขาจะนำไปใช้ได้จริงหรือไม่ โจทย์มีอยู่ว่าทำไมเราไม่ใช้ปมเด่นของกศน. เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาบุคลากร   นั่นคือการใช้  ทีวี ให้เข้ามามีบทบาทในการฝึกอบรมเพราะ กศน. มี E.tv เป็นของตนเอง วิธีการจะคล้ายกับเกมส์กลยุทธ์ ที่ออกอากาศทางช่อง 9 กล่าวคือให้แต่ละภาค แจ้ง กศน.ภายในภาคว่าให้ส่งทีมการทำงานทีมละ  7 คน จะเป็นใครก็ได้ ให้ออกแบบการเรียนรู้ สมมุติว่าเรื่อง เทคนิคการทำงานในชุมชน  แล้วภาคเป็นคนตัดสินเลือกมาภาคละ 3 ศูนย์ ทีนี้ กศน.จังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกก็ไปถอดบทเรียนเป็นบทละครหรืออะไรก็ได้ที่สื่อถึงสิ่งที่ทีมตัวเองคิดในเรื่องของเทคนิคการทำงานในชุมชน ออกอากศทาง E.TV จังหวัดละ 30 นาที มีการแจ้งล่วงหน้าว่าสัปดาห์นี้ จังหวัดอะไร สัปดาห์หน้าจังหวัดอะไร คน กศน.ทั้งประเทศก็จะตามชม ตามเชียร์ มีการโหวตทางโทรศัพท์ หรือทางเน็ต ในขณะเดียวกันก็มีคณะกรรมการกลางเป็นผู้ตัดสิน นำคะแนนสองส่วนมารวมกันแล้วตัดสินการแพ้หรือชนะ รางวัลต้องมากพอในการล่อใจ ที่หนึ่งเอาไปเลย สองแสนพร้อมโล่เกียรติยศ แต่เงินต้องเอาไปพัฒนาศูนย์

          ถ้าเป็นอย่างนี้ การเรียนรู้เกิดขึ้นตรงใหน  คำตอบคือเกิดขึ้นทุกขั้นตอนของการทำงาน ถ้าสระแก้วได้รับการคัดเลือก ถามว่าสิ่งที่จะนำเสนอทาง ทีวี จะคิดเฉพาะอำเภอที่ต้องนำเสนอเท่านั้นหรือ ผมคงต้องระดมสรรพกำลังทุกขุมขนเพื่อการเอาชนะคู่ต่อสู้ภาคอื่น  ตรงนี้ก็เกิดการเรียนรู้  การที่คน กศน. ได้มีโอกาศชมการนำเสนอเทคนิคการทำงานในชุมชนของจังหวัดต่างทาง ทีวี ตรงนี้ก็เป้นการเรียนรู้ และเป็นการเรียนรู้ที่ดีกว่าการฝึกอบรมด้วยซ้ำไป

          ผมไม่รู้ว่าสิ่งที่พวกเราแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในวันนั้นจะเป็นจริงได้ใหม และถ้าเป็นจริงก็ได้แต่หวังว่าคงเกิดขึ้นก่อนผมอำลาชีวิตราชการก็แล้วกัน

หมายเลขบันทึก: 187263เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2008 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดี ผอ.พี่น้อย

ความคิดพี่เฉียบ บรรเจิด เข้ายุคสมัย เชียร์ครับเชียร์ ขอให้เป็นจริงเถอะจะทำทีมเข้าร่วมพัฒนาตนเองด้วย ไม่บังอาจแข่งใคร

เรียนครูนงเมืองคอน

          ขอบพระคุณสำหรับคำชม ผมคิดว่าแนวทางที่เราพูดคุยกันมีทางเป็นไปได้ เพราะ กจ. เองก็บอกว่าถึงเวลาแล้วที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ถ้ามีโอกาสผมจะเสนอครูนงของผมเข้าร่วมเป็นผู้ก่อการด้วยนะครับ

การเรียนรู้คือประตูสู่เป้าหมาย จุดสุดท้ายความสำเร็จเสร็จสมหวัง

ด้วยหัวใจเสียสละด้วยพลัง ย่อมถึงฝั่งฝันไว้ไม่ไกลเลย

การเรียนรู้รู้ให้จริงสิ่งที่เรียน รู้พากเพียรใส่ใจไม่นิ่งเฉย

รู้ชำนาญขึ้นใจให้คุ้นเคย ดังพังเพยว่าไว้ไม่ป่วยการ

"รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม"

เรียนคุณคนหลังเขา

         ต้องขออภัยที่ตอบคุณช้าไปหน่อย คอมมันไม่ค่อยดี ขอบคุณที่เขียนกลอนดีดีมาให้อ่าน แสดงว่าคุณมีความสุนทรีย์เยอะ เมื่อไรจะย้ายมาอยู่หน้าเขาละ

หลังเขายังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาอีกมาก อยากได้คนดีมีความสามารถ ไม่ทุจริตโกงกิน มาช่วยปรับปรุงเปลี่ยนแปลง...ศรัทธาต่อหน้าที่ รักศักดิ์ศรีของตัวตน ศรัทธาต่อชุมชน สร้างผลงานให้ดีงาม...

ท่านเป็นคนเก่ง คนดี ที่มีความสามารถ มีความคิดริเริ่มอยู่ตลอดเวลา อยากให้อายุราชการของท่านเพิ่มขึ้นอีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท