ห้องสมุดประชาชนอำเภอพานทอง
ห้องสมุดประชาชนอำเภอพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี

จุลสารประจำเดือนเมษายน ปักษ์หลัง


ฉบับที่ 36

จุลสารประชาสัมพันธ์

ห้องสมุดประชาชนอำเภอพานทอง

ฉบับที่   36   ปักษ์หลัง   เมษายน   2551

 

 

เกาลัดคั่วในเม็ดทราย

เกาลัดคั่วที่เห็นมากแถวเยาวราช มักจะมีเม็ดสีดำเล็กๆ คั่วรวมอยู่ด้วย หลายคนคิดว่า
เป็นเมล็ดกาแฟ จริงๆ แล้วไม่ใช่ เจ้าเม็ดสีดำเล็กนั้นคือเม็ดทรายขนาดประมาณ 
3-5 มิลลิเมตร เป็นทรายที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือที่เห็นตามตู้ปลาสีออกน้ำตาลพ่อค้าจะนำเอาทรายแห้งใส่ลงไปในกระบะใบใหญ่ พอทรายร้อนระอุได้ที่จนเป็นสีดำก็จะนำเอาลูกเกาลัดใส่ลงไป บางร้านเติมน้ำตาลทรายคั่วรวมกันให้ได้รสหวานบางเจ้าเพิ่มกลิ่นหอมด้วยการใส่เมล็ดกาแฟคั่วรวมไป เหตุผลที่ต้องใช้เม็ดทราย ก็เพราะเม็ดทรายช่วยเก็บความร้อนไว้ได้ ซึ่งดีนักสำหรับการทำให้เกาลัดสุกถึงเนื้อผลด้านใน เพราะหากสังเกตกันดีๆ เนื้อผลของเกาลัดนั้นจะไม่ติดกับเปลือก ดังนั้นการใช้ทรายที่ร้อนระอุตลอดเวลาจะช่วยให้เนื้อเกาลัดค่อยๆ สุก แต่ต้องหมั่นคนเพื่อไม่ให้เกาลัดไหม้ ซึ่งจะคั่วกันนานราว 30-40 นาที เม็ดทรายนั้นใช้ได้นานกว่า 1 เดือน เรียกว่าคั่วเกาลัดได้หลายกระทะจนทรายที่เป็นเม็ดเริ่มป่นเป็นผงนั่นแหล่ะจึงจะเปลี่ยนไปใช้เม็ดทรายชุดใหม่

ที่มา : นิตยสาร ครัว krua vol. 13 no. 149 November 2006

วิธีกินบุฟเฟ่ต์อย่างได้คุณค่า

เราควรจะรู้ตัวว่าเมื่อไหร่ควรจะพอ และหยุดกิน ไม่ใช่กินเพื่อให้คุ้มตามข้อเสนอที่ทางร้านหยิบยื่น แต่เราต้องกินอย่างใส่ใจกับสุขภาพตระหนักถึงคุณประโยชน์และโทษที่ได้รับด้วยเช่นกัน
1.
กินอาหารประเภทเนื้อสัตว์จำพวกเนื้อหมู ไก่ วัว ปลาหมึก ให้น้อยลง โดยทานเนื้อปลา หรือผักแทนที่ เพราะเป็นอาหารที่ย่อยง่ายอีกทั้งปราศจากไขมันและไม่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
2.
กินอาหารที่ต้มหรือลวก  โดยพยายามกินอาหารประเภทปิ้ง ย่าง ทอด ให้น้อยที่สุด

3.
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลมระหว่างทาน  เพราะว่าสองสิ่งนี้ให้พลังงานอาหารที่มาก และต้องใช้เวลานานในการเผาผลาญ   ควรเปลี่ยนเป็นน้ำเปล่าหรือน้ำชาแทนที่

4.
สังเกตเนื้อสัตว์ก่อนหยิบมารับประทาน หรือปรุง   ว่ามีสภาพ รูป สี กลิ่น ต่างไปจากปกติหรือไม่

5.
เมื่อเห็นว่ากระทะหรือเตาย่างเริ่มไหม้   แล้วควรเรียกพนักงานให้เปลี่ยนอันใหม่ให้ ไม่ควรเกรงใจทนกินต่อไป   เพราะสิ่งที่สะสมอยู่บนกระทะนั้นนอกจากจะเป็นสารก่อมะเร็งตัวฉกาจแล้วนั้น   ยังทำให้เนื้อไม่สุกทั่วถึงกัน เนื่องจากคราบไหม้จะปิดกั้นความร้อน

ทำให้เนื้อที่ได้ไม่สุกดี
6.
อย่ารีบทานจนเกินไป   อาจฆ่าเวลาด้วยการเดินย่อย หรือคุยสังสรรค์กับเพื่อน เพื่อช่วยร่างกายในเรื่อง  การย่อยอาหาร
7.
ออกกำลังกายเผาผลาญพลังงานส่วนเกินจากมื้อนั้นๆ ด้วยวิธีเบาๆ  เช่น ค่อยๆ เดิน เพื่อกระตุ้นให้กระเพาะย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  หลังจากกินอาหารแล้วนั้น อย่าเพิ่งล้มตัวลงนอนในทันที ควรจะนั่งพักสักครู่   หรือทำกิจกรรมเบาๆ อื่นๆ ก่อน

8.
รับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ในร้านที่ไว้วางใจได้ ทั้งความสด สะอาดของอาหาร และความอนามัยของภาชนะอย่าลืมว่า..สิ่งที่คุณจะได้รับไม่ว่าจะดีหรือร้าย ก็จะส่งผลจากสิ่งที่คุณกินเข้าไปนั่นเอง

"You are what you eat"


 



 

 

ที่มา : คอลัมน์ Special Report นิตยสาร ใกล้หมอ ปีที่ 30 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549

ป้องกันเส้นเลือดอุดตันด้วย ช็อกโกแลตดำ

นักวิจัยพบว่าช๊อกโกแลตดำเพียงวันละสองช้อนโต๊ะ หรือจะแปรรูปเป็นโกโก้ร้อน 
1 แก้ว ช่วยป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดได้พอๆ กับการกินยาแอสไพริน โครงการศึกษาผลจากยาแอสไพรินที่มีผลต่อเกร็ดเลือด โดยศาสตราจารย์ไดแอนน์เบกเกอร์ ผู้นำการวิจัยของมหาวิทยาลัย จอห์น ฮอปกินส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา   กำหนดให้กลุ่มตัวอย่างออกกำลังกาย งดบุหรี่ และอาหารบางอย่าง เช่น ไวน์ ชา  กาแฟ       และช๊อกโกแลตก่อนเข้ารับการทดลอง หลังจากนั้นนักวิจัยทำการเปรียบเทียบ ระยะเวลาที่เกล็ดเลือดจับตัวกันเป็นก้อน พบว่าเกล็ดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง  ที่ไม่งดช๊อกโกแลต มีเกล็ดเลือดจับตัวกันช้ากว่า   กลุ่มนักวิจัยจึงศึกษาเพิ่มเติมคุณสมบัติของเมล็ดโกโก้ และพบว่าในเมล็ดโกโก้  มีสารเคมีชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญที่มีผลทางชีวเคมีที่
ออกฤทธิ์คล้ายกับยาแอสไพรินที่ช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ
ที่ทำให้เส้นเลือด และหลอดเลือดอุดตันที่อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด

ก่อนหน้านี้ก็ได้มีรายงานการวิจัยที่ออกมาสนับสนุนประโยชน์ของช๊อกโกแลตอย่างต่อเนื่องอาทิ พบว่าในช๊อกโกแลตมีสารเพนเทเมอร์
ที่ช่วยยับยั้งการลุกลามของเซลล์มะเร็งได้
และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วย
ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

แม้ว่าสารเคมีที่อยู่ในเมล็ดโกโก้จะมีผลดี
ต่อการไหลเวียนของโลหิตได้ดี แต่หากว่า
ร่างกายได้รับไขมันและน้ำตาลที่มากเกินไป
ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อหัวใจของคุณได้เช่นกัน

ที่มา : คอลัมน์ Living Beware นิตยสาร ใกล้หมอ
ปีที่ 30 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2549

เครื่องสำอางก่อมะเร็ง

                                กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบสีห้ามให้ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในลิปสติกและเครื่องสำอางทาเปลือกตา(อายชาโดว์) ทั่วประเทศ เตือนคุณผู้หญิงอยากสวยต้องระวัง พร้อมแนะวิธีการเลือกซื้อ เลือกใช้เครื่องสำอางที่ถูกต้องในเบื้องต้น

นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบันจำ เป็นต้องเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ยาสีฟัน สบู่ แชมพูสระผม ครีมกันแดด และครีมบำรุงผิว ฯลฯ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ต้องเสริมความงามบนใบหน้าด้วยลิปสติก อายชาโดว์ ซึ่งเป็นเครื่องสำอางที่ช่วยในการเพิ่มสีสรร ให้กับใบหน้า ล้วนก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายในการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ หากผู้ผลิตไม่ใส่ใจคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ ด้วยเหตุนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยกองเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย ได้จัดทำโครงการร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนภูมิภาค 10 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อสำรวจสีห้ามใช้ในลิปสติกและเครื่องสำอางทาเปลือกตา (อายชาโดว์) ที่มีจำหน่ายในตลาดนัด ร้านค้า ห้องสรรพสินค้า รวมทั้งตลาดในจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านผลจากการสำรวจและสุ่มซื้อตัวอย่างลิปสติก และอายชาโดว์ จำนวน 1,116 ตัวอย่าง โดยแยกเป็นลิปสติกจำนวน 693 ตัวอย่าง พบว่า มีตัวอย่างที่ใช้สีห้ามใช้จำนวน 164 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23.67 แบ่งเป็นตัวอย่างที่ผลิตภายในประเทศซึ่งมีฉลากระบุรายละเอียดครบถ้วน 15 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 4.9 และ ตัวอย่างที่มีฉลากระบุรายละเอียดไม่ครบถ้วนหรือมีฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ จำนวน 149 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 38.3 สำหรับ ตัวอย่างอายชาโดว์ จำนวน 423 ตัวอย่าง พบตัวอย่างที่ใช้สีห้ามใช้ จำนวน 70 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 16.55 แบ่งเป็นตัวอย่างที่ผลิต ภายในประเทศซึ่งมีรายละเอียดของฉลากครบถ้วน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.3 และตัวอย่างที่มีฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ จำนวน 67 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.7 จากผลการสำรวจทำให้ทราบว่า มีการใช้สี C1 No.15585 และสี C1 No.45170 ในตัวอย่างลิปสติกและอายชาโดว์ ที่เก็บ จากทุกภาค ส่วนสีห้ามใช้อื่น ๆ มีพบบ้างแต่ไม่ครบทุกพื้นที่ โดยสีห้ามใช้ที่พบเป็นสีที่ไม่อยู่ในบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 เรื่องกำหนดสีที่อนุญาตให้ใช้เป็น ส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางหรือเป็นสีที่อนุญาตให้ใช้กับเครื่องสำอางที่ใช้ภายนอกที่มิได้สัมผัสกับเยื่อบุ mucousmembrane ซึ่งรวมถึงบริเวณริมฝีปากและรอบดวงตา อีกทั้งเป็นสีที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (United States and Drug Administration : USFDA) คณะกรรมการของสหภาพยุโรป (Council of the European Communities; Directive 76/768/EEC 2002) และ ASEAN Cosmetic Document 2003 โดยระบุว่าห้ามใช้กับเครื่องสำอางทุกชนิด ซึ่งสีห้าม ใช้เหล่านี้ได้มีการทดสอบแล้วว่าก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง เช่นหนู กระต่าย และสุนัข ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลความปลอดภัยของผู้บริโภคได้รับทราบและดำเนินการต่อไปแล้ว

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับประชาชนควรมีความรู้ในการเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ และมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. สังเกตฉลากเครื่องสำอางก่อนซื้อทุกครั้ง ซึ่งฉลากต้องมีสภาพเรียบร้อยและมีข้อความเป็นภาษาไทย อ่านได้ชัดเจน โดยระบุชื่อ ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อผู้ผลิต แหล่งผลิต วิธีใช้ปริมาณสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิต ชื่อวัตถุที่ใช้ เป็นส่วนผสมสำคัญและปริมาณ พร้อมคำเตือน (ถ้ามี) เพื่อป้องกันการซื้อเครื่องสำอางที่มีการลอกเลียนแบบ เพราะ จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า เครื่องสำอางที่มีฉลากระบุเป็นภาษาไทยครบถ้วนนั้น พบการใช้สีห้ามใช้เป็นส่วนผสมใน การผลิตในอัตราที่น้อยกว่าเครื่องสำอางที่มีฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ หรือมีชื่อและลักษณะใกล้เคียงกับลิปสติกและอายชาโดว์ยี่ห้อดังๆ

2. เลือกซื้อเครื่องสำอางที่มีขนาดปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ใช้หมดภายในเวลาสมควร ไม่ควรเลือกเครื่องสำอางที่มีกลิ่นหืนหรือมีสีแปลกไปจากเดิม

3. ก่อนใช้เครื่องสำอาง ควรอ่านฉลากให้ละเอียดและปฏิบัติตามวิธีใช้ คำเตือน รวมทั้งทดสอบการแพ้ ก่อนใช้ หากมีอาการแพ้ให้รีบล้างออก และหยุดใช้เครื่องสำอางนั้นๆ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์

4. สำหรับวิธีการเลือกซื้อลิปสติก ควรเลือกลิปสติกที่มีเนื้อเรียบ นุ่มนวล มีความชุ่มชื้น และความมันพอเหมาะ ไม่มีเหงื่อแตกร่วนหรือแข็งเป็นก่อน ไม่อันตรายต่อผิวหนัง ให้สีติดทนแต่สามารถล้างออกได้ง่ายเมื่อต้องการ และต้องไม่มีกลิ่นหืน   Keyword : เครื่องสำอาง , มะเร็ง , โรคมะเร็ง

ที่มา กระทรวงสาธารณสุข

ที่มา  :  http://health.deedeejang.com/news/189.html

 

หมายเลขบันทึก: 187022เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2008 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท